รีเซต

“ภาวะเครียดทางการเมือง” จัดการอย่างไรไม่ให้เป็นซึมเศร้า

“ภาวะเครียดทางการเมือง” จัดการอย่างไรไม่ให้เป็นซึมเศร้า
TNN ช่อง16
19 มิถุนายน 2568 ( 13:14 )
14

ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่กำลังร้อนแรง การเสพข่าวมากจนเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO บัญญัติภาวะทางอารณ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสพข่าวการเมือง มีชื่อเรียกว่า Political Stress Syndrome หรือ PSS ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางอารมณ์ที่มีผลเนื่องมาจากความเครียดจากการเสพข่าวกากรเมือง ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

Political Stress Syndrome คืออะไร? 

Political Stress Syndrome (PPS) หรือ ภาวะเครียดทางการเมือง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับข้อมูลข่าวสารจำนวนมากจนส่งผลให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หรือรู้สึกหนักใจ โดยเฉพาะข่าวการเมือง ซึ่งส่งผลเกี่ยวเนื่องกับคนในประเทศ

อย่างไรก็ตาม PPS ไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น

นอกจากนี้ ความคิดคาดการณ์แนวโน้มทางการเมือง จำนำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือ กังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต (Anticipatory Anxiety) เช่น กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉกเช่นอุบัติการณ์ในอดีต เป็นความหวาดวิตกที่ฝังแฝงอยู่ในใจ

1 ใน 4 ของประชากร มีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งบุคคลที่มีความเสี่ยงจากกลุ่มอาการเครียดจากการเมือง ได้แก่

  1. กลุ่มนักการเมือง
  2. กลุ่มสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย
  3. กลุ่มผู้ติดตาม
  4. กลุ่มผู้สนใจข่าวสารการเมือง
  5. กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่ก่อนแล้ว

กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์ภาวะเครียดจากการเสพข่าวการเมืองว่า ในภาวะที่คนไทยตื่นตัวเรื่องการเมืองแม้เป็นเรื่องที่ดีแต่เมื่อมีสิ่งที่ไม่ตรงกับใจ อาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ นำไปสู่อารมณ์ขุ่นมัว และตึงเครียดได้ 

อาการของ PPS

3 สัญญาณเตือนที่บอกว่าเรากำลังเสพข่าวมากเกินไปจนเข้าข่ายมีภาวะ PPS

  1. เกิดอารมณ์ด้านลบ เศร้า หงุดหงิด โดยไม่มีสาเหตุ 
  2. มีปัญหาสุขภาพกาย เช่น นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ปวดหัว โรคประจำตัวกำเริบ
  3. ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตลดลง เช่น ไม่มีสมาธิในการเรียน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง การวางแผนการตัดสินใจลดลง ทะเลาะกับคนอื่นบ่อย

หากสังเกตอาหารเหล่านี้ ควรต้องรีบปรับสภาวะอารมณ์ ก่อนที่ความเครียดจากสภาวะทางการเมือง จะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิต เช่นโรคซึมเศร้า

ผลกระทบของการเสพข่าวการเมืองจนเกิดภาวะเครียด

1. ผลกระทบทางจิตใจ

การเสพข่าวการเมือง ที่มีความไม่แน่นอน สามารถทำให้เกิดความเครียดสูง ทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เหนื่อยล้า และรู้สึกสิ้นหวังต่อสถานการณ์นำไปสู่ภาวะความเครียดสะสม และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว อาจทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทำให้มีภาวะเหนื่อยล้าและหมดพลังทางจิตใจ 

2. ผลกระทบทางร่างกาย 

ความเครียดจากข่าวสารอาจทำให้นอนไม่หลับ บางครั้งมีภาวะปวดหัว กล้ามเนื้อตึงและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย 

3. ผลกระทบต่อพฤติกรรม 

บางรายอาจไม่สามารถหยุดติดตามข่าวสารได้ เนื่องจากความกังวลว่าตนจะพลาดข้อมูลสำคัญทำให้ขาดสมาธิส่งผลต่อการทำงาน การเรียน หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน 

4. ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ 

ความเครียดจากข่าวสารอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันหรือโกรธกันในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน หากมีความเห็นที่แตกต่างกัน 

แนวทางจัดการภาวะเครียดจากการเสพข่าวด้วยตนเอง 

  1. จำกัดเวลาในการติดตามข่าวสาร เช่น กำหนดช่วงเวลาที่จะรับข่าวในแต่ละวัน 
  2. เลือกแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้  ระวังข่าวลวง 
  3. พักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือทำสมาธิ 
  4. หาเวลาในการพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อแบ่งปันและระบายความรู้สึก 
  5. ฝึกการควบคุมอารมณ์และความคิด โดยใช้เทคนิคการหายใจเพื่อผ่อนคลายหรือฝึกสติแบบง่าย ๆ  ซึ่งปัยหานี้ไม่ใช้โรคจิตเวชแต่เป็นปัยหาที่สามารถจัดการได้ด้วยการปรับแนวคิดและเพื่อรับมือกับข่าวสารอย่างมีสติ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง