รีเซต

คริปโต : ทำความรู้จักกับ "ภาษีบิตคอยน์" นักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลต้องรู้

คริปโต : ทำความรู้จักกับ "ภาษีบิตคอยน์" นักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลต้องรู้
TrueID
22 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:40 )
13.3K
1
คริปโต : ทำความรู้จักกับ "ภาษีบิตคอยน์" นักลงทุนสกุลเงินดิจิทัลต้องรู้

เข้าสู่ปี 2021 นี้การลงทุนที่ร้อนแรงที่สุดคงไม่พ้นบิตคอยน์ ซึ่งล่าสุดราคาของบิตคอยน์พุ่งไปแตะ New High ใหม่ ขึ้นไปถึงระดับ 1.7 ล้านบาทกว่า ต่อ 1 BTC เป็นที่ทราบกันว่าบิตคอยน์เป็น Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) สกุลแรกของโลก ที่เกิดจากเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การทำธุรกรรมการเงินระหว่างกันไม่จำเป็นต้องมี “ตัวกลาง” เหมือนแต่ก่อน 

เช็คราคา น้ำมัน ทอง บิตคอยน์ ตลาดหุ้น อัตราแลกเปลียนค่าเงิน ล่าสุดที่นี่

ข้อดีของ Blockchain จะตัดตัวกลางออกและทำให้เกิดการยืนยันและยอมรับจากทุกคนในเครือข่ายกันได้โดยตรง ซึ่งมีความโปร่งใสและปลอดภัยมากกว่าระบบเดิม ในแง่ถ้าหากกระบวนการทำงานของตัวกลางมีข้อผิดพลาดเพียงที่เดียว ธุรกรรมนั้นๆ ก็จะพลาดทันที แต่ระบบ Blockchain ซึ่งเหมือนกับมีผู้ตรวจสอบเป็นล้านๆ ราย อัตราความเสี่ยงต่อความผิดพลาดของผู้ตรวจสอบพร้อมกันทั้งล้านรายย่อมน้อยมาก

และหลายคนที่เข้ามาในวงการแลกเปลี่ยนค่าเงินคริปโตสักระยะ เริ่มมีข้อสงสัยว่าการที่เรามีรายได้จากการซื้อขายค่าเงินจะโดนเก็บภาษีหรือไม่ วันนี้ trueID news จะพาไปไขข้อสงสัยกันว่า ภาษีบิตคอยน์ หรือภาษีคริปโต มีรายละเอียดอย่างไร

จากที่มีการประกาศเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินดิจิตอล (อ้างอิงจาก พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561) เพื่อกำหนดว่านักลงทุนต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. Cryptocurrency และเหรียญ ICO ไม่ใช่ ‘สกุลเงิน’ แต่เป็น ‘ทรัพย์สินดิจิตอล’

ทรัพย์สินดิจิตอลที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีตามกฎหมายนี้ ได้แก่ Cryptocurrency (คริปโทเคอร์เรนซี) และ Digital Token (โทเคนดิจิทัล) ซึ่งในที่นี้ขออนุญาตเรียกทรัพย์สินดิจิตอลรวมๆ ว่า coin

Crytocurrency คือ coin ที่เกิดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนเสมือนเป็นเงิน เช่น Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC) หรือ Ethereum (ETH)

ส่วน Digital Token คือ coin ที่เกิดขึ้นจากการระดมทุนผ่านการทำ ICO (Initial Coin Offering) เพื่อนำ coin ไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะระหว่างผู้ออก coin และผู้ถือ coin เช่น OmiseGo (OMG), JFinCoin (JFIN) หรือ Carboneum (C8) เป็นต้น

2. กำไรจากการขาย coin ให้หักภาษี 15%

หากขาย coin แล้วได้กำไรเนื่องจากขายได้ราคามากกว่าต้นทุนที่ซื้อมา ก่อนนักลงทุนจะได้รับเงิน ผู้ขายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากกำไรด้วยก่อนจะจ่ายเงินให้ลูกค้าที่เป็นนักลงทุน ( มาตรา 40(4)(ฌ),50(2)(ฉ) ประมวลรัษฎากร)

3. ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการถือ coin ให้หักภาษี 15%

หาก coin ที่ถือไว้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์หรือส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือ เช่น ถ้า coin นั้นจะได้รับเงินปันผลจากผู้ออก coin ถ้ากิจการนั้นมีกำไรโดยแบ่งจ่ายให้ตามสัดส่วนจำนวน coin ที่ถืออยู่ กรณีนี้ผู้ออก coin จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์นั้นด้วยก่อนจะจ่ายเงินให้ลูกค้าที่เป็นผู้ถือ coin (มาตรา 40(4)(ซ),50(2)(ฉ) ประมวลรัษฎากร)

4. ถูกหักภาษี 15% ไปแล้ว ต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วยอยู่ดี

รายได้จาก coin เหล่านี้แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้ว นักลงทุนก็ยังต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วยอยู่ดี เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้สิทธิ์ไม่ต้องยื่นภาษี (ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างกับรายได้จากการลงทุนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผลอย่างชัดเจนที่สามารถปล่อยให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยไม่ต้องนำมายื่นภาษีอีกก็ได้ ดังนั้น การหักภาษีทรัพย์สินดิจิตอล ณ ที่จ่าย 15% จึงเป็นเพียงการชำระภาษีล่วงหน้าเท่านั้น ยังไม่ใช่ภาษีสุดท้าย

5. รายได้จาก coin หักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย

เนื่องจาก coin เหล่านี้ถูกกำหนดให้เป็น เงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับพวกดอกเบี้ยและเงินปันผลซึ่งหักต้นทุน ค่าใช้จ่าย ใดๆ ไม่ได้อยู่แล้ว จึงทำให้รายได้จาก coin เหล่านี้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ได้เลย (มีเพียงกรณีกำไรจากการขาย coin เท่านั้นที่ให้หักยกเว้นต้นทุนค่าซื้อ coin ได้) ดังนั้น ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ แม้ว่าจะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าเครื่องขุด ค่าไฟฟ้า ค่าเช่า ก็ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อทำให้เสียภาษีถูกลงได้

6. การขุดเหรียญเสียภาษีหรือไม่เสีย?

ถ้ามีอุปกรณ์เครื่องขุดจำนวนมาก แนะนำให้ทำการขายสินทรัพย์ดิจิทัลในนามนิติบุคคลกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาติเพื่อให้สามารถนำบัญชีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้าง มาหักภาษีและคิดคำนวนกำไรได้เหมือนบริษัททั่วไป ซึ่งจะทำได้ง่ายเเละไม่ซับซ้อนอะไร

แต่ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาความยุ่งยากจะบังเกิดทันทีซึ่งตรงจุดนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ใน พรบ. สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งตรงนี้ข้อมูลที่ได้รับจากนักฎหมาย “คาดว่า” รายได้ที่ได้จากการขุดน่าจะเข้าข่ายเงินที่ได้จากการแข่งขันที่สามารถหักภาษีเหมา 60% ได้ ซึ่งอีก 40% นั้นจะถูกคำนวนเป็นรายได้บุคคลธรรมดา โดยสรรพกรน่าจะคำนวนจากราคาที่เราขายเหรียญเพราะถ้าคำนวนจากเวลาที่นักขุด ขุดเหรียญได้ละก็น่าจะเป็นงานที่ยากลำบากพอสมควร

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง