ประเทศที่มีการระบาด "ฝีดาษลิง" มีประเทศอะไรบ้าง ไทยมีมาตรการป้องกัน "โรคฝีดาษลิง" อย่างไร
การปลูกฝี รักษา"โรคฝีดาษลิง" หรือ Monkeypox ได้ไหม ซึ่งสมัยก่อน คนไทยจะได้รับการ "ปลูกฝี" ก่อนถูกยกเลิกไปทั่วโลกเมื่อปี พ.ศ. 2523 ซึ่งกรมควบคุมโรคระบุว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% ซึ่งคนไทยที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2517 จะมีการฉีดวัคซีนหรือปลูกฝี สร้างภูมิคุ้มกันแล้ว
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสก่อโรคชนิดนี้ มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน ซึ่งโรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่ควบคุมการระบาดได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% โดยก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้มีการฉีดวัคซีนหรือปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้ง 2 โรค แต่เด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น
การปลูกฝีในไทย สมัยก่อน
ก่อนปี พ.ศ. 2517 ประเทศไทย "ปลูกฝี" ให้กับทุกคน โดยเฉพาะตั้งแต่แรกเกิดและโรคนี้สามารถควบคุมได้ และหมดได้ไปแล้ว จึงเลิกการปลูกฝีในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จากนั้นองค์การอนามัยโลกประกาศว่าฝีดาษหมดไปในปี พ.ศ 2523 ทำให้ทั่วโลกยกเลิกปลูกฝีตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นประชากรไทยที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2517 เกือบทุกคนมีการปลูกฝี หรือสังเกตได้จากการมีแผลเป็นของการปลูกฝี เป็นแผลเป็นที่แบนราบ
"ปลูกฝี" ป้องกัน "ฝีดาษลิง"
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า ตอนนี้ทั่วโลกยังไม่มีวัคซีน smallpox มากขนาดนั้นแล้ว เพราะโรคฝีดาษเป็นโรคที่ถูกกวาดล้างไปหมดแล้ว จะมีเพียงบางประเทศที่ยังเก็บวัคซีนนี้ไว้ ในประเทศไทยไม่มี กำลังมีการประสานงานหาวัคซีนอยู่ว่ามีประเทศใดเก็บไว้บ้าง หรือถ้าจะผลิตเพิ่มก็ต้องดูว่ามีบริษัทใดจะผลิตเพิ่มได้บ้าง เพราะคงต้องใช้เชื้อ ซึ่งเชื้อsmallpox เดิมมีแค่ 2 ประเทศที่เก็บไว้ คือ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย แต่ก็สามารถจำลองสายพันธุ์ออกมาทำวัคซีนได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวจริง
ทั้งนี้ คนไทยที่เกิดก่อนปี 2523 จะได้รับการปลูกฝีป้องกันฝีดาษ(smallpox)ทุกคน แต่ที่เกิดหลังจากปี 2523 จะไม่ได้รับวัคซีนนี้เพราะโรคฝีดาษถูกกวาดล้างไปหมดแล้ว
การป้องกัน "โรคฝีดาษลิง" ในปัจจุบัน
สำหรับการป้องกันเบื้องต้นสำหรับประชาชนทั่วไป แนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจล งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ ในกรณีที่พบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้ หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง
หากเชื้อฝีดาษลิงเข้ามาในประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ จุฬาฯ สามารถตรวจไวรัสจากฝีดาษลิงได้ โดยใช้ระยะเวลา 1-2 วัน เนื่องจากต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งการตรวจหาเชื้อได้เร็ว และการกักตัวกลุ่มเสี่ยงได้ย่อมช่วยป้องกันการแพร่ระบาดได้ เพราะโรคนี้ไม่มียารักษา อย่างประเทศที่มีการพัฒนาทางการแพทย์ อัตราเสียชีวิตมีน้อยกว่า 1%
ส่วนกลุ่มเสี่ยง ยังต้องระวังในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ส่วนผู้สูงอายุเคยได้มีการปลูกฝี หรือรับวัคซีนฝีดาษไปก่อนหน้านี้ ยังไม่มีใครตอบได้ว่า ภูมิคุ้มกันจะยังคงอยู่หรือไม่
ข้อมูล ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , hfocus
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<