เชื้อหลุดจากแล็บ โรคติดต่ออันตรายที่คุณรู้จักอาจไม่ได้ระบาดจากธรรมชาติ

เรื่องของเชื้อหลุดจากห้องแล็บไม่ใช่เรื่อเล่นๆ
หลายท่านอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับนักนักวิจัยคู่รักที่ทะเลาะกันแล้วเจาะชุดป้องกันของอีกฝ่ายในขณะที่ปฏิบัติงานในห้องแล็บระดับ BSL-4 ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยเชื้อโรคร้ายแรงสุดในสหรัฐฯ จนต้องมีการสั่งควบคุม และไม่มีการดำเนินการวิจัยใดๆในขณะนี้
ห้องแล็บระดับ BSL-4 คืออะไร
ห้องปฏิบัติการกับเชื้ออันตรายระดับสูง หรือ BSL-4 (Biosafety Level 4) คือ ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพสูงสุด ที่ใช้สำหรับการวิจัยเชื้อโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงที่สุดต่อมนุษย์ เช่น เชื้อที่สามารถทำให้เกิดโรครุนแรงถึงตายได้ และ ยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีรักษาที่แน่นอน เช่น อีโบลา ไวรัสมาร์บวร์ก ไวรัสลัสซา ไวรัสนิปาห์ ไวรัสไข้ทรพิษ
โรคติดต่อร้ายแรงหลายโรคมีต้นเหตุจากการที่เชื้อหลุดจากห้องแล็บที่มีการบันทึกไว้ เช่น
ไข้ทรพิษ (Smallpox) ในปี 1978 ได้การหลุดจากห้องแล็บในเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร เนื่องจาก ระบบระบายอากาศไม่ปลอดภัยทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ Janet Parker ซึ่งเขาเป็นช่างถ่ายภาพแพทย์ ส่งผลให้มีการยกเลิกงานวิจัยเชื้อไข้ทรพิษในหลายประเทศ
นอกจากนี้ยังมี ซาร์ส (SARS-CoV-1) ซึ่งหลุดจากห้องแล็บในประเทศจีน ไต้หวัน และสิงคโปร์ในช่วงหลังปี 2003 หลังการระบาดใหญ่ ผู้ป่วยเป็นเจ้าหน้าที่ห้องแล็บ หรือนักวิจัยที่สัมผัสเชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ
ขณะที่ แอนแทรกซ์ (Anthrax) มีรายงานว่าใน ปี 2001 ในสหรัฐฯได้มีการส่ง "จดหมายแอนแทรกซ์" (Anthrax Letters) ไปยังสื่อและเจ้าหน้าที่การเมือง ว่า เชื้อ Bacillus anthracis ถูกผลิตในแล็บของรัฐบาล และเมื่อสืบสวนพบว่าผู้ต้องสงสัยเป็นนักวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บทหารหรือหน่วยวิจัยด้านอาวุธชีวภาพ (USAMRIID) โดยในช่วงเวลานั้น มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และประชาชนหลายพันคนได้รับผลกระทบ
ขณะที่ในกรณีของโควิด19 ก็ยังเป็นที่ยังเป็นข้อถกเถียงหรือไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าเชื้ออุบัติใหม่ขึ้นจากห้องแล็บ และหลุดออกมาจากแล็บหรือ ไม่แต่ที่แน่ๆ โควิด19 ส่งผลกระทบต่อทั้งโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก หรือ WHO และหน่วยงานต่าง ๆ ยังคงวิจัย และสืบสวนต่อไป
ทั้งนี้ต้องบอกว่า ไข้ทรพิษ ซาร์ส และ แอนแทรกซ์ ไม่ใช่โรคที่อุบัติขึ้นใหม่ในห้องแล็บแต่การกลับมาระบาดเกิดจากเชื้อที่หลุดมาจากห้องแล็บที่มรการเก็บเชื้อเพื่อทำการศึกษาวิจัย
เชื้อหลุดจากแล็บได้อย่างไร ห้องแล็บที่ทำงานกับเชื้ออันตรายระดับสูง Biosafety Level 3–4 มักมีความเสี่ยงจาก
- ความผิดพลาดของมนุษย์
- อุปกรณ์ชำรุด
- กระบวนการป้องกันไม่รัดกุมพอ
ซึ่งจากสถิติของ WHO และ CDC แสดงว่ามีกรณีหลุดจากแล็บหลายสิบกรณีต่อทศวรรษ แต่โดยมากถูกควบคุมก่อนแพร่สู่สาธารณะ
กลับมาที่บ้านเราในประเทศไทยถ้าถามว่าเรามีห้องปฏิบัติการกับเชื้ออันตรายระดับสูง BSL-4 หรือ Biosafety Level 4 หรือไม่ ห้องแล็บที่มีอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ 2 และ 3 คือ
BSL-2 หรือห้องปฏบัติกับเชื้ออันตรายระดับ 2 ใช้สำหรับเชื้อที่ก่อโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัดใหญ่, เชื้อแบคทีเรียที่แพร่ระบาดง่าย และ BSL-3 หรือห้องปฏบัติการกับเชื้ออันตรายระดับ 3 ใช้กับเชื้อที่มีอันตรายระดับสูงปานกลาง เช่น เชื้อวัณโรค H5N1 เชื้อโคโรนาไวรัส (SARS-CoV-2) ในช่วงโควิด-19 เป็นต้น