รีเซต

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : เปิดแนวคิด "วิเชียร พงศธร" แบ่งกำไร 5% ให้สังคม "ไม่รับคู่ค้า" จ่ายส่วย

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : เปิดแนวคิด "วิเชียร พงศธร" แบ่งกำไร 5% ให้สังคม "ไม่รับคู่ค้า" จ่ายส่วย
TNN ช่อง16
10 กรกฎาคม 2566 ( 08:14 )
84
คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : เปิดแนวคิด "วิเชียร พงศธร" แบ่งกำไร 5% ให้สังคม "ไม่รับคู่ค้า" จ่ายส่วย


แนวคิดแนวปฏิบัติของเราตั้งแต่เริ่มต้นว่า แต่ละธุรกิจที่เราทำ เราก็ถูกออกแบบมาว่าเราต้องคำนึงถึงว่าธุรกิจที่เป็นธุรกิจเพื่อสร้างกำไร ต้องเป็นธุรกิจที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมด้วย ไม่ทำร้าย แล้วก็เสริมสร้างสังคมควบคู่กันไป ในเรื่องนี้ก็ถ้าจะขยายความหน่อยก็ทุกธุรกิจต้องมีความมุ่งมั่นว่าความสำเร็จของเรากับความยั่งยืนความสำเร็จของสังคมนั้นจะต้องถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน


เรื่องของเราเป็นหน้าที่ เป็นเรื่องที่จำเป็น สมควรแล้วก็เหมาะสมที่ธุรกิจจะต้องหยิบยื่นศักยภาพของเราไปทำงานเรื่องสังคมด้วย


ซัพพลายเออร์ของเราก็เช่นเดียวกัน ในห่วงโซ่การทำธุรกิจที่ยกตัวอย่างมาแค่ 2-3 อย่าง มันก็ต้องมีเรียกว่าในห่วงโซ่มีตั้งแต่คนผลิตวัตถุดิบ มีการขนส่งอาจจะมีการแปรรูประหว่างทาง มีโรงงานของเรา มีระบบการจัดจำหน่ายต่างๆ เพราะฉะนั้นการที่เราทำธุรกิจทุกวันแล้วบอกเราไม่เป็นผู้ทำลาย ก็มีตัวอย่างของเรื่องที่เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชิญชวนคนในห่วงโซ่เราให้ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะไม่จ้างบริษัทขนส่งหรือเป็นเงื่อนไขของเราในการจ้างบริษัทขนส่งที่ว่า คุณต้องไม่บรรทุกเกินน้ำหนักนะ คุณต้องไม่วิ่งรถบรรทุกมาส่งของเรานอกเวลานะ คุณต้องไม่จ่ายสวยนะ อันนี้อยู่ในสัญญาที่เราตกลงและเราตรวจสอบ มีกระบวนการตรวจสอบ  คุณวิเชียร พงศธร  ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ กล่าว 



คุณวิเชียร พงศธร  ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ระบุว่า  ถ้าคุณเป็นผู้ที่จับปลามาใช้ทำทาโร่ เราต้องตรวจสอบได้นะ เรือของคุณต้องถูกกฎหมายอุปกรณ์ของคุณต้องถูกกฎหมาย จับที่ไหนอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็มีระบบทั้งของกรมประมงว่าจับที่ไหนอย่างไรถูกต้องตามเวลาทั้งหมด และการใช้วัตถุดิบเราก็พยายามพัฒนาไปเรื่อย ๆ ว่าให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่เราได้อาหารของเรามาจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ทิ้งๆ ขว้างๆ ซึ่งอันนี้เราก็ปัญหาอยู่เยอะในสังคมของเราเนอะ การตัดไม้ทำลายป่า ถางป่าเพื่อเพาะปลูกอะไรต่างๆ ถ้าบริษัทธุรกิจเอื้อมมือไปว่า ใครจะมาขาย สมมติผมยกตัวอย่างอะไรดีอ่ะ ข้าวโพดให้ผม ใครจะมาขายอ้อยให้ผม ทางตรงทางอ้อมผ่านตัวกลางอะไรก็แล้วแต่ ถ้าคุณได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่าแล้วมาปลูกข้าวโพด ผมไม่ซื้อคุณ ก็จะช่วยกันแก้ปัญหาได้นะ


เวลาวัดด้วยตัวเลขตัวเงินมันก็เข้าใจได้นะ 5% 5% ก็แบ่งมาจากกำไร กำไร 100% ก็แบ่งมา 5% จริงๆ สิ่งที่ทางธุรกิจสนับสนุนมันมากกว่าแค่ตัวเงินเมื่อกี้ผมอธิบายไปแล้ว แต่5% ก็เป็นส่วนหนึ่ง 5% ที่มามันก็เป็นอะไรที่ ณ วันแรกเมื่อ 30 ปีที่แล้วคิดว่ามันน่าจะเข้าใจง่ายเนอะ กำไร 100 % แบ่งแค่ 5% เอง มันก็ยังเหลือตั้ง 95% เหลือเป็นส่วนใหญ่เลยนะ ผู้ถือหุ้นก็ดี แบ่งพนักงานอะไรก็ดี ก็เป็นส่วนใหญ่ 5% จริงๆ ก็ถือว่าน้อยมากนะเพราะสังคมมันใหญ่มากเนอะ เพราะฉะนั้นก็เป็นตัวเลขที่เราตั้งขึ้นมาว่า เอาละเริ่มต้นอันนี้ เราน่าจะทำได้ แต่สิ่งที่เราทำได้มากกว่านั้นก็คือเรื่องเวลาของคน ความรู้ความสามารถที่มันมากกว่า 5% นี้



5% นี้ก็ท้าทายนิดหน่อย เพราะมันเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ได้คุ้นเคยกันโดยทั่วไป ตอนแรกที่จะโน้มน้าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจก็เห็นด้วย สรรพากรเค้าให้หักแค่ 2% เองทำไมเรา 5% ล่ะ เพราะมันหักลดหย่อนภาษีไม่ได้ ทำไมถึงเกินใช่ไหมครับ ถ้ามองในแง่นั้นก็เกิน ภาครัฐเค้ายังคิดว่าเอาแค่ 2% เอง แล้วทำไมเราถึง 5% มันคือการลงทุนเพื่อสังคม เดี๋ยวเราได้ผลตอบแทนมาทวีคูณอยู่แล้ว ก็เป็นอย่างนั้น ก็ข้ามตรงนั้นไปได้ เป็นข้อบังคับของบริษัทที่เรายึดถือยึดปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ใครเป็นผู้ถือหุ้นมาลงทุนกับเราใหม่ก็จะถามในบริษัทมหาชนเนอะ เราก็อธิบาย ก็เกิดความเข้าใจขึ้นเท่านั้นเองนะ จริงๆ ก็อยากจะมากกว่า 5% เนอะ แต่ก็เดี๋ยวค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปแล้วกัน




คุณวิเชียร พงศธร  ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ กล่าวต่อไปว่า 

ในความสำเร็จของสังคมร่วมกัน มันก็มีเรื่องที่ท้าทายอยู่เยอะมากเลยนะ สังคมรอบตัวเราซึ่งก็รุมล้อมรอบธุรกิจของเรา รอบคนที่ทำงานอยู่กับเรามากมาย ผู้บริโภคไปจนถึงผู้บริโภค สังคมของเราก็มีความไม่สมบูรณ์อยู่เยอะใช่ไหมครับ เราก็ทราบอยู่แล้ว ปัญหาใหญ่ๆ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ความไม่ยุติธรรมที่ยังมีอยู่ในสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องการศึกษา ปัญหาเรื่องการสาธารณสุข การดูแลคนชราคนเจ็บป่วยคนพิการ แล้วก็การขาดธรรมาภิบาล การทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องเหล่านี้ก็เป็นสภาวะของสังคมเรามาเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน และวันนี้ก็ยังมีปัญหาเหล่านี้อยู่


เราคงเลือกได้ว่าเรานั่งดูก็แล้วกัน หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะปกติว่าธุรกิจอาจจะไม่ได้ถือว่าเป็นพันธกิจของธุรกิจนะที่จะเอื้อมมือเข้าไปในการที่จะจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่ขณะเดียวกันมันมีผลกระทบต่อความยั่งยืนของธุรกิจอยู่ทุกวัน ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้เนอะ เรื่องคน เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องความไม่สงบทั้งหลายทั้งปวงเรื่องทุจริตคอรัปชันทั้งหลายทั้งปวง เราก็คิดว่านอกเหนือจากการที่เรายึดถือยึดปฏิบัติที่เดี๋ยวผมจะย้อนกลับมาอธิบาย น่าจะมีความจำเป็นที่เราจะต้องยื่นมือออกไปในการที่เป็นส่วนหนึ่งของการที่ไปช่วยแก้ปัญหา ช่วยยกระดับสังคมของเราให้มีความเข้มแข็ง มีโอกาสที่จะยั่งยืนมากขึ้น กลับด้านกันถ้าไม่มีใครทำ หรือบอกว่ามันเป็นเรื่องของคนอื่นเป็นเรื่องของรัฐบาลมั้ง เป็นเรื่องของผู้นำมั้ง เป็นเรื่องของภาคสังคมมั้ง ก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน มันก็ไม่ครบถ้วน มันก็ยังขาดพลังเป็นอย่างยิ่งในการที่จะแก้ไขปัญหา



ในแนวคิดอันเราก็คิดว่า แล้วเราพอจะมีทรัพยากร ไม่ใช่เงินที่แบ่งจากกำไรอย่างเดียว แต่เรามีทุนของมนุษย์ เรามีผู้มีความรู้มีความสามารถหลายๆ ด้าน แล้วทุนที่เราสะสมมาสำคัญก็คือความไว้วางใจ ทุนของเราก็ไปขยายทุนด้วยการเชิญชวนองค์กรต่างๆ บุคคลต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาช่วยกันทำงานทางด้านพัฒนาสังคม เราไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องเลย 


เรื่องการศึกษาก็ดี เรื่องสิ่งแวดล้อมเราอาจจะพอรู้มีพื้นฐานอยู่ เรื่องการดูแลคนชรา เรื่องคนปัญหาคนพิการต่างๆ เราไม่ได้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ หรือขนาดของปัญหามันใหญ่เกินกำลัง ปัญหาทุจริตคอรัปชัน เราไม่สามารถสามารถด้วยตัวเราเอง ไม่ว่าจะรัฐบาลเอง ปปช. เองไม่สามารถด้วยตัวเองในการที่จะแก้ไขปัญหานี้ เราก็ไปเป็นส่วนหนึ่งในการที่เป็นส่วนร่วมในการที่จะหยิบยื่นความสามารถของเราด้วยทุนที่เรามี ทุนมนุษย์นะครับ ทุนทรัพย์เท่าที่พอมีไปลงทุนลงแรงเพื่อจะไปช่วยกันแก้ปัญหานี้ผลลัพธ์ของมัน ก็จะดีขึ้น อาจจะไม่ได้ดีขึ้นรวดเร็วอย่างที่เราอยากจะให้เห็นอยู่ แต่ก็ดีขึ้นแน่



ผลลัพธ์อันนั้นมันก็จะสะท้อนกลับมาที่สังคมโดยรวม แล้วก็สะท้อนกลับมาที่เราในฐานะผู้ประกอบการ และในฐานะธุรกิจด้วย ประชาชนมีฐานะดีขึ้น ส่วนเยอะๆ เขาก็เป็นลูกค้าเราแล้ว ทั้งหมดของพนักงานเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พนักงานเราเค้าก็จะได้ดีขึ้น ครอบครัวเค้าจะดีขึ้น ความไว้วางใจก็จะดีขึ้น ปัญหาที่จะถูกเบียดเบียนเรื่องการทุจริตคอรัปชัน ขาดธรรมาภิบาล อะไรต่างๆ ก็จะน้อยลง ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะดีขึ้น


ยกตัวอย่างเช่นเด็ก ถ้าให้เด็กหนึ่งคนที่เขามีโอกาสเกือบ 100% ที่จะหลุดจากระบบการศึกษาไปไม่สามารถเรียนหนังสือจบได้ แล้วเค้าจะกลายเป็นอะไรต่างๆ สถิติจากสังคมก็บอกว่าเค้าจะไปสู่กระบวนการติดยา จะเป็นทำผิดกฎหมาย จะเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ จะมีความไม่มั่นคงอยู่ในวงจรอุบาทว์ของยากจนเหมือนเดิม เมื่อเด็กคนคนเดียวกันเค้าได้มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เรียนหนังสือจนจบ จบมาที่แน่นอนเรามีเด็กที่เราสนับสนุนจบมาจำนวนเยอะแล้วเป็นอันดับ 10,000 คน คิดว่าเราลงทุนไปเท่านี้ๆบาทต่อหัวของเด็ก วันนี้เค้าจบมาเป็นคนที่ดูแลตัวเองได้ เป็นคนดีของสังคม เค้าดูแลครอบครัวเขาได้ และทำมากกว่านั้นก็มีนะเป็นครูบาอาจารย์ เป็นหมอ เป็นอะไร 



ถามว่าเราตีมูลค่าของผลกำไรอันผลตอบแทนของการลงทุนหลายๆ 10,000 บาทต่อหัวคิดว่าเท่าไหร่ ทวีคูณนะ ธุรกิจทำกำไรแบบนี้ไม่ได้ถูกต้องไหมครับ ถ้าอธิบายต้องละเอียดขนาดนี้ ก็ยกตัวอย่างอย่างนี้ก็จะเห็นชัด


ที่นี้ย้อนกลับมาในเรื่องของธุรกิจที่ผมเล่าตั้งแต่แรกว่า 5 ส่วน 4 บวก 1 ในแต่ธุรกิจที่เราทำอยู่ทุกวัน ถ้าถูกออกแบบมาถูกต้องตั้งแต่แรก เราก็จะเป็นเรียกว่ามันเป็นตัวบวกของสังคมนะ ไม่ใช่แค่เป็นผู้จ้างงาน ไม่ใช่แค่เป็นผู้เสียภาษี แต่เราจะกลายเป็นตัวบวก ถ้าด้านอาหารสินค้าที่เรานำเสนอเป็นสินค้าที่เสริมสร้างโภชนาการที่ดี เป็นสินค้าที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การได้มาซึ่งวัตถุดิบได้มาด้วยกรอบที่ถูกต้องตามกฎหมาย ยึดความยั่งยืนต่างๆ  เราก็ทุกวันที่เราทำธุรกิจเราก็จะเป็นผู้สร้างเสริมสังคม เราทำจัดการเรื่องของสิ่งแวดล้อมอันนี้ก็คงอธิบายง่าย ถ้าเราเป็นคนที่นำเสนอทางออก ทางแก้ปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องน้ำ การจัดการบำบัดน้ำเสีย ก็แก้ปัญหาของสังคมอันนี้เราออกแบบมาตั้งแต่ 40 กว่าปีที่แล้วไม่ใช่เรื่องตามกระแสปัจจุบัน ESG หรือเรื่องความยั่งยืนอะไรก็แล้วแต่



แม้กระทั่งธุรกิจที่เราอาจจะนึกไม่ถึงว่ามันไม่เกี่ยวมั้ง อย่างเช่นธุรกิจโรงแรมก็แล้วกันเนอะ โรงแรมมันก็เพื่อการพักผ่อน การท่องเที่ยว อะไรต่ออะไรต่างๆ  ธุรกิจโรงแรมที่เราทำก็ไม่ได้เยอะนะ 3 แห่ง ในแต่ละแห่งมันถูกออกแบบว่าเราจะต้องมีส่วนสำคัญในการที่ธุรกิจของเรา เป็นตัวบวกของสังคม เป็นผู้ให้กับสังคมไม่ว่าจะอยู่ในแหล่งธรรมชาติก็ดี เราก็จะต้องเป็นผู้ที่ช่วยกันอนุรักษ์ ช่วยกันฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติอยู่ในแหล่งวัฒนธรรม เราก็จะต้องเป็นผู้ที่ช่วยอนุรักษ์ช่วยฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่างๆเพราะฉะนั้นธุรกิจโรงแรมของเราก็ในทุกกรณีก็ออกแบบมาเป็นแบบนั้น ไม่ใช่แค่เป็นที่พักที่ดี สวยงามหรูหรืออะไร เราก็ออกแบบอย่างนั้น เพราะฉะนั้นทุกวันที่เราทำธุรกิจโรงแรมของเรา


ก็คือว่าถ้าเราคิดว่า เราทำอะไรเดี๋ยวต้องได้ประโยชน์กลับมาที่เราเท่านั้นนะครับ มันก็จะได้ขนาดเล็กๆ เท่านั้น แต่ถ้าเราเห็นว่าปัจจัยแวดล้อมของสังคมโดยรวมมันกระทบกับเรา และแน่นอนเราคนเดียวไม่สามารถที่จะพลิกผันไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าเราสามารถที่จะพิสูจน์ให้กับองค์กรธุรกิจอื่นๆ เค้าเห็นได้ว่า การยึดถือแนวปฏิบัติอย่างนี้ การให้ความสำคัญกับความสำเร็จร่วมกันมันต้องเป็นการที่ร่วมมือกันจำนวนเยอะ ตอนนี้มันมีอาจจะยังไม่ได้เยอะ อาจจะมีแบบไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าไหร่นัก อาจจะมีเรื่องทำเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าทำกันจริงๆ จังๆ ทุกคนจะได้รับประโยชน์ถูกต้องไหมครับ




คุณวิเชียร พงศธร  ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ระบุ ส่วนเรื่องการแข่งขันแย่งมาร์เก็ตแชร์กันก็ว่ากันไป อันนั้นก็เป็นเรื่องปกติ ประโยชน์อันนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อช่วยกันในจำนวนเยอะ เพราะฉะนั้นเราก็คิดว่า หากเราสามารถที่จะแสดงให้เห็นว่าถ้าเราทำเรื่องนี้จริงๆ จังๆ และธุรกิจเราก็อยู่ได้ ก็ไปได้ดีพอสมควร ก็หวังว่าจะเป็นทางเลือกอันนึงให้กับธุรกิจจำนวนอีกเยอะมากกว่านี้อีกมากนะครับ 


ที่จะช่วยกัน กลับด้านกัน ถ้าไม่ทำ เหมือนเดิมเราเห็นความถดถอยมาโดยตลอดนะว่าธุรกิจมือใครยาวสาวได้สาวเอา ใครจะแก่งแย่งชิงดีชิงประโยชน์กันถูกต้องไม่ถูกต้อง ขาดธรรมาภิบาล เราทำลายสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติก็ว่ากันไปลุยกันไปหมดเลย ดูแลคนด้วยความไม่รับผิดชอบ ไม่ยุติธรรม ถามว่าแล้วเราจะไปรอดไหม ถ้าเราคิดว่าไม่เป็นไรเราแข็งแรง ก็รอเจ๊งคนสุดท้ายก็โอเคนะ แต่คุณจะเจ๊งคนสุดท้ายถ้าสังคมล่มสลายคุณก็ต้องเจ๊งแน่ คุณอาจจะไม่ใช่คนแรกใช่ไหม แต่มันก็คือความไม่ยั่งยืนอยู่ดีคุณต้องการแค่นั้นหรือเปล่า ธุรกิจคุณต้องการแค่นั้นหรือเปล่า ว่าเป็นคนสุดท้ายที่จะรอด แทนที่จะกลายเป็นว่าทุกคนสามารถที่จะเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน


ก็กระบวนการทั้งหมดก็ตั้งแต่เรื่องของการสื่อสารในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญมาก ตั้งแต่วันที่เค้าเข้ามา เราก็ต้องมีกระบวนการให้เค้าเข้าใจว่าอันนี้คือแนวคิดแนวปฏิบัติของเราที่เรายึดถือ เราปฏิบัติจริงอย่างไรบ้าง ก็ต้องอธิบายให้คนที่เข้ามาอยู่ในองค์กรของเราตั้งแต่วันที่เราคัดเลือกเค้า เค้าคัดเลือกเรา ที่จะมาอยู่ เข้าใจว่านี่คือสิ่งที่เราจะมาทำร่วมกันนะ เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่เชื่อว่าธุรกิจที่ยึดถือธรรมาภิบาลไม่สนับสนุนการทุจริตคอรัปชันโดยสิ้นเชิงจะไม่รอด คุณก็ไม่ต้องมาตั้งแต่แรกแล้ว ถ้าเราคิดว่าเฮ้ยถ้าคุณไม่ยินยอมให้สินบนให้อะไรธุรกิจเจ๊งแน่ คุณก็ไม่สมควรมาอยู่ที่นี่ เพราะว่าคุณไม่มั่นใจว่าที่นี่จะอยู่รอดได้หรือเปล่า ฉะนั้นตั้งแต่การสรรหามาแล้ว สรรหาเข้ามาเราก็มีกระบวนการปลูกฝังอยู่เสมอ แนวคิดแนวปฏิบัติ



สร้างภาพเฉยๆ ก็ได้เนอะ เพราะฉะนั้นธุรกิจต้องเริ่ม ลองนึกดูนะครับถ้าธุรกิจเกิดนัดพร้อมกันวันไหน เกิดปรากฏการณ์อะไรในโลกขึ้นมาก็ไม่รู้ ธุรกิจนัดพร้อม ไม่มีใครให้สินบนเลยสักคน ไม่มีใครไปฮั้วกันเลยซักคนนึง แล้วเราก็ชี้นิ้วไปทางภาคการเมืองกับภาคราชการอย่างเดียวไม่ได้ ภาคธุรกิจเป็นคู่กรณีสำคัญ เป็นผู้ที่ร่วมกระทำความผิดไม่ว่าจะด้วยความจำใจหรือตั้งใจก็แล้วแต่ ก็ต้องแก้ปัญหากับทางภาคธุรกิจด้วย


ผมอยู่ภาคธุรกิจพูดได้เต็มปากว่า ภาคธุรกิจเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด กระทำความเสียหายกับสังคมอยู่ด้วย ต้องแก้ไข มานั่งชี้นิ้วว่ารัฐบาลนั้นผู้นำคนนี้ หน่วยราชการนั้นอันนี้ไม่ได้



คุณวิเชียร พงศธร  ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หวังว่าอันนี้จะเปลี่ยนไปในระดับองค์กรธุรกิจ แต่ละองค์กรก็แล้วแต่ รวมสมาคมภาคีทั้งหลายก็แล้วแต่ ภาคราชการ ภาคการเมืองก็แล้วแต่ สิ่งที่เราขาดเป็นอย่างมาก ก็คือที่อาจจะเรียกว่าเป็นความมีเจตจำนงที่มุ่งมั่นในการที่จะแก้ปัญหาหรือยกระดับธรรมาภิบาลหรือแก้ปัญหาทุจริตจริงๆ ฝรั่งก็อาจจะเรียกว่า "Political Will" นะ เราขาด "Political Will" จากผู้นำองค์กรอย่างเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เค้าเป็นคนไม่ดี อาจจะยังไม่ได้เห็นความสำคัญถึงไม่คิดว่าต้องมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาจริงๆ อาจจะคุ้นเคยเคยชินทำธุรกิจก็ต้องแบบนี้ใช่ไหม 


แต่ถ้าพลิกผ่านตรงนี้ได้ ผู้นำองค์กรด้วยข้างล่างที่เมื่อกี้กระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นคนรุ่นใหม่ คนในภาคธุรกิจกำลังปรับตัวแก้ไขปัญหาแล้วข้างบนผู้ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการกำหนดนโยบายเอาด้วยอย่างแข็งขัน อันนี้เราจะพลิกผันได้จริง


บางประเทศในโลกมันแก้ปัญหามาจากข้างบนด้วยนะ แต่ในบ้านเราอย่าไปรอเลยเราแก้ไขกันโดยรวม แล้วหวังว่าเดี๋ยวข้างบนเค้าเอาด้วยก็แล้วกัน ก็หวังว่าการเปลี่ยนแปลงทางภาคการเมืองในอนาคต ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในภาคราชการ คู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงของภาคเอกชน แล้วบทบาทหน้าที่ของประชาชนโดยรวมในการที่จะผลักดันก็จะเกิดการแก้ไขปัญหานี้ได้ ในเวลาที่อาจจะไม่ยาวไกลเกินไปนัก



ภาพ TNNOnline 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง