ไทยเสี่ยงต่ำ"ฝีดาษลิง"พันธุ์ใหม่ระบาด
นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ โฆษกกรมควบคุมโรค ระบุถึง สถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทย หากเทียบในปี 2566 กับ 2561 ถือว่าในปีนี้ สถานการณ์ดีขึ้น โดยตั้งแต่ มกราคม 2567 จนถึง 14 สิงหาคม 2567 มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 140 คน เสียชีวิต 3 คน ทั้งหมดเป็นผู้ติดเชื้อ HIV ทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงตั้งแต่ปี 2565- 2567 รวมสะสม 827 คน เสียชีวิต 11 คน ยังคงเป็นผู้ป่วยติดเชื้อที่เป็น HIV ร่วมด้วย เมื่อติดเชื้อฝีดาษลิง จึงทำให้มีอาการรุนแรงภูมิคุ้มกันต่ำ โดยอาการที่พบบ่อยใน 5 อันดับ คือ มีผื่น มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโตและอาการคัน
สำหรับสายพันธุ์ ที่มีการระบาดในทั่วโลกอยู่ขณะนี้แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่สายพันธุ์ Clade หรือ สายพันธุ์แอฟริกากลาง ที่มีความรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิต พบการระบาดในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออกเป็นหลัก มีอัตราการป่วยตายสูง // และ สายพันธุ์ Clade 2 หรือ สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลางมาก / ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ในไทยและในหลายประเทศทั่วโลก
พญ.จุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยรองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุถึงสถานการณ์ผู้ป่วยฝีดาษลิงในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ ปี 2565 - 2567 มีผู้ป่วยสะสม 14,250 ราย เสียชีวิต 456 คน โดย
สถานการณ์ในปี 2567 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 97
สำหรับสายพันธุ์ที่ระบาดในแอฟริกากลางและที่ทั่วโลกกังวล เฝ้าระวังในขณะนี้ คือสายพันธุ์ Clade 1b ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์แอฟริกากลาง ที่มีการปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ในช่วงที่ผ่านมา และพบผู้ป่วยเด็กเพิ่มมากขึ้ร โดยสายพันธุ์ดังกล่าวยังไม่พบในประเทศไทยและไทยยังมีความเสี่ยงต่ำในการระบาด
พญ.จุไร ยืนยันว่า ประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงและจับตาสถานการณ์การระบาดในประเทศแถบแอฟริกากลาง โดยเฝ้าระวังในประชาชนที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้สังเกตอาการ หากมีผื่น มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณรอบๆมือเท้า หน้าอก ใบหน้า หรือส่วนอื่นๆของร่างกาย รวมถึงมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู คอ ขาหนีบ ให้รีบเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันที / ส่วนกรณีที่องค์การอนามัยโลกจ่อยกระดับการเฝ้าระวังฝีดาษลิงสายพันธุ์ดังกล่าวนั้น ทางกรมควบคุมโรคก็ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
คำแนะนำในการป้องกันฝีดาษลิง ยังคงย้ำ หลีกเลี่ยงการ มีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู หรือเครื่องนอนต่างๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีผื่นสงสัยโรคฝีดาษลิง ไม่สัมผัสตุ่มหนองหรือบาดแผล และควรบริโภคเนื้อสัตว์ปรุงสุก หลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่อาจเสี่ยงติดโรคฝีดาษลิงได้