รีเซต

ทางรถไฟจีน-ลาว มุ่งสร้าง 'แถบเศรษฐกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม'

ทางรถไฟจีน-ลาว มุ่งสร้าง 'แถบเศรษฐกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม'
Xinhua
21 พฤศจิกายน 2566 ( 21:16 )
71
ทางรถไฟจีน-ลาว มุ่งสร้าง 'แถบเศรษฐกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม'

 (แฟ้มภาพซินหัว : รถไฟหัวกระสุนฟู่ซิงวิ่งบนสะพานหยวนเจียงของทางรถไฟจีน-ลาว ในมณฑลอวิ๋นหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 23 พ.ย. 2022)

คุนหมิง, 21 พ.ย. (ซินหัว) -- นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับการสร้างแถบเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างประเทศตามทางรถไฟจีน-ลาว เมื่อวันเสาร์ (18 พ.ย.) โดยมีการเปิดตัวแผนริเริ่มการร่วมก่อสร้างแถบเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งมุ่งแก้ไขจุดด้อยและส่งเสริมจุดเด่นของการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามทางรถไฟจีน-ลาว

งานสัมมนาครั้งนี้มีหัวข้อ "การท่องเที่ยวเกื้อหนุนการสร้างและพัฒนา 'เส้นทางแห่งความสุข เส้นทางแห่งมิตรภาพ' ตามทางรถไฟจีน-ลาว" ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการจัดงานไชน่า อินเตอร์เนชันแนล ทราเวล มาร์ต ปี 2023 สำนักการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวมณฑลอวิ๋นหนาน และบริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน สาขาคุนหมิง จำกัดเหล่าผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนเมืองท่องเที่ยว และผู้ให้บริการด้านการเดินทางท่องเที่ยวจากจีน ลาว ไทย เนปาล ศรีลังกา รวมถึงประเทศและภูมิภาคอื่นๆ จำนวนมากกว่า 200 คน ได้เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อหารือการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามทางรถไฟจีน-ลาว และส่งเสริมการก่อสร้างแถบเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างประเทศตามทางรถไฟจีน-ลาว ผ่านแนวคิด "ทางรถไฟ+การท่องเที่ยว"เหมิงรุ่ย ผู้อำนวยการสถาบันการวางแผนและวิจัยการท่องเที่ยวของอวิ๋นหนาน เผยว่าการบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนของทางรถไฟจีน-ลาว ไม่เพียงเกื้อหนุนการเดินทางของผู้คนและส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองประเทศ และร่วมสร้างแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่มีคุณภาพสูงอย่างไรก็ดี เหมิงชี้ว่าปัจจุบันทางรถไฟจีน-ลาว ยังจำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน การวางแผนการท่องเที่ยวของเมืองและภูมิภาคตามเส้นทาง และการนำเสนอผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแผนริเริ่มที่เปิดตัวในงานสัมมนาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นการแก้ไขจุดด้อยและส่งเสริมจุดเด่นต่างๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามทางรถไฟจีน-ลาวแผนริเริ่มที่เปิดตัวในงานสัมมนาครั้งนี้ส่งเสริมการเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวตามทางรถไฟจีน-ลาว เสริมสร้างการเชื่อมต่อระหว่างทางรถไฟ สนามบิน ทางหลวง ท่าเรือ และการขนส่งรูปแบบอื่นๆ รวมถึงให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา "กิโลเมตรสุดท้าย" ระหว่างสถานีรถไฟจีน-ลาว กับจุดชมวิวและแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบ พร้อมกับยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะของเมืองท่องเที่ยวตามเส้นทางอนึ่ง ทางรถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากสำนักวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอวิ๋นหนานระบุว่ามีการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนบนทางรถไฟจีน-ลาว จำนวน 348,000 คน นับตั้งแต่เปิดให้บริการ ช่วยให้นักท่องเที่ยวเกือบหนึ่งแสนคนได้สัมผัสประสบการณ์ "นั่งรถไฟเที่ยวลาว" และ "นั่งรถไฟเที่ยวจีน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง