ชื่มชม! สกายด็อกเตอร์ ลำเลียงช่วยชีวิตผู้ป่วยชายแดนทุรกันดาร
วันที่ 15 สิงหาคม 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และพบปะข้าราชการที่บรรจุใหม่ ณ ห้องประชุมอาคา สว.โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มอบรางวัลเสื้อฮีโร่ hero sky doctor แก่แพทย์และพยาบาลที่มีผลงานดีเด่น และมอบปีกบิน แก่แพทย์และพยาบาล
จากนั้นได้เดินทางพร้อมทีมแพทย์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการซ้อมแผนการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยานในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของทีมแพทย์และพยาบาล sky doctor (สกายด็อกเตอร์)ของโรงพยาบาลศรีสังวาล จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นความร่วมมือของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ร่วมกับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 และหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 17 ไปส่งต่อยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ณ สนามจอดเฮลิคอปเตอร์ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายบ้านท่าโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจำลองสถานการณ์ มีผู้ป่วยท้องแก่คลอดลูก และเสียเลือดมาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่เข้าไปตรวจเบื้องต้น จะต้องนำผู้ป่วยส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเร่งด่วน เนื่องจากเสียเลือดมาก จึงได้วิทยุแจ้งไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินสกายด๊อกเตอร์ของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์แม่ฮ่องสอน และขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์จากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 17 ส่งผู้ป่วยทางอากาศ โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทีมแพทย์พยาบาลได้ช่วยลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินขึ้น ฮ.นำผู้ป่วยเข้าไปรักษาที่โรงพยาบาลเร่งด่วน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การดำเนินงาน sky doctor หรือ นภาแพทย์ ทางกระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ ชื่นชมทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นระบบทางการแพทย์ของไทยที่จะเป็นการตอกย้ำถึงประสิทธิภาพด้านการแพทย์ของไทย
จากสถิติการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินในเขตพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน ทีมแพทย์และพยายาม สามารถช่วยเหลือลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินได้กว่า 100 ราย ส่วนใหญ่ลำเลียงมาจากโรงพยาบาลต้นทางในจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน และอำเภอรอบนอกของจังหวัดเชียงใหม่ มายังโรงพยาบาลปลายทางคือ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลประสาท มีพาหนะเป็นอากาศยานทั้งเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ โดยผู้ป่วยฉุกเฉินทุกรายไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ภาคเหนือได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของเวลาในการประสานงาน ทางจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเฉพาะ ส่งผลให้การประสานงานและการสั่งการลำเลียงผู้ป่วยมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาทีมและอุปกรณ์ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.comfacebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE