รีเซต

หมอธีระวัฒน์เผยความจำเป็น ‘การฉีดวัคซีนไขว้’ สำคัญอย่างไร

หมอธีระวัฒน์เผยความจำเป็น ‘การฉีดวัคซีนไขว้’ สำคัญอย่างไร
TNN ช่อง16
13 กรกฎาคม 2564 ( 11:24 )
85
หมอธีระวัฒน์เผยความจำเป็น ‘การฉีดวัคซีนไขว้’ สำคัญอย่างไร

วันนี้ ( 13 ก.ค.อ64)ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กระบุว่า วัคซีนหรรษา(อย่าลืมคัดกรองแยกตัวสนุกสนาน และมีวินัยแจ่มใส)ไม่มีอะไรน่าหวาดกล้วนะครับ

13กรกฎาคม 2564

ข้อมูลไม่ได้เป็นการอวย เอื้อ หรือ ต่อต้าน แทรกแซง ทางการใดๆทั้งสิ้น เป็นการชี้ให้เห็นความสำคัญของสองปัจจัยนั่นคือ 

ระดับภูมิที่วัดจากในเลือดควรมีระดับสูงอยู่คงนานและนอกจากนั้น ยังต้องขึ้นอยู่กับว่าระดับภูมิที่สูงดังกล่าวได้จากวัคซีนชนิดใดที่มีในปัจจุบัน จึงจะสามารถเจาะจงกับสายพันธุ์อื่นๆได้ ไม่ใช่สูงอย่างเดียว

การใช้วัคซีนไขว้ สลับสับเปลี่ยน หรือตามซ้ำด้วยต่างยี่ห้อต่างเทคนิค กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน หรรษาไปตามกัน ในเดือนกรกฎาคม 2564 และกลายเป็นเรื่องพูดกันไม่รู้จบและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย ชิโนแวคตามด้วยแอสตร้า

แท้ที่จริงแล้วเนื้อหาเบื้องลึกเบื้องหลังการไขว้ ไปมาดังกล่าวมีที่มาที่ไปในช่วงตั้งแต่สามถึงสี่เดือนที่แล้วด้วยซ้ำทั้งนี้เป็นการถกกันในระดับเวทีองค์การอนามัยโลกและในระดับสาธารณสุขของประเทศต่างๆและไม่เว้นกระทั่งในประเทศจีนเองที่เป็นเจ้าของตำรับวัคซีนเชื้อตายชิโนแวค ชิโนโนฟาร์ม ตั้งแต่ 13 เมษายน 2564

ความจำเป็นในการไขวัเริ่มมาตั้งแต่

1- เป็นภาคบังคับเนื่องจากวัคซีนแต่ละยี่ห้อออกมาไม่ทันใช้ ดังนั้นจึงต้องหายี่ห้ออื่นมาควบรวม

2-ความต้องการที่จะให้ภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองสูงที่สุดและอยู่ให้คงนานที่สุด เพื่อให้มีการป้องกันการติดเชื้อได้นานและดียิ่งขึ้น นำมาสู่การใช้เข็มที่หนึ่งเป็นแอสตร้า ตามด้วยไฟเซอร์หรือโมเดนา

3-แต่เมื่อเจอกับสายพันธุ์เช่นเดลต้าแม้มีภูมิในระดับสูงจริง แต่ประสิทธิภาพเฉพาะตัวต่อเดลต้า กลับลดลงค่อนข้างมาก

4-นำมาสู่ การกระตุ้น เข็ม 3 โดยหวังว่าระดับภูมิที่สูงมากๆยังพอที่จะช่วยกันการติดได้เพื่มขึ้นแม้ต่างสายพันธุ์ออกไป แต่ทั้งนี้ต้องจับตาดูว่าการที่มีระดับภูมิจริงแต่ไม่เหมาะเหม็งกับสายพันธุ์ใหม่ กลับจะทำให้เมื่อติดเชื้ออาการกลับรุนแรงขึ้นหรือไม่ (Vaccine enhanced COVID-19 severity)

และนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สองที่มีความจำเพาะเจาะจงกับสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไปเช่นวัคซีนไฟเซอร์ที่จะเริ่มในเดือนสิงหาคม และวัคซีนของคนไทยคือวัคซีนใบยาที่จะปรับเปลี่ยนไปตามกัน

5- ประเทศไทยใช้วัคซีนต่างจากในประเทศตะวันตกคือใช้วัคซีนเชื้อตายอย่างเช่นในบราซิล อินโดนีเซีย และชิลี ในประเทศไทยพบว่าเดือนแรกหลังเข็มที่สองของชิโนแวค ดูจะกันการติดเชื้อได้ดี แต่ในเดือนที่สองสังเกตุการติดเชื้อดูมากขึ้นและดูมีอาการเห็นได้ชัดเจนขึ้น พ้องกับระดับภูมิที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วและจาก 90 กว่าเปอร์เซนต์ด้วยซ้ำเหลือเพียง 30 ถึง 40%

6- ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพบได้ในชิลี ซึ่งมีการติดตามประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการเข้าโรงพยาบาลและการตายได้ดีมากจากชิโนแว็ค จนกระทั่งถึงวันที่ 1 พฤษภาคม แต่หลังจากนั้นกลับรุนแรงขึ้นมาใหม่และเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย

7- ความรุนแรงของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งอาการที่มากขึ้น น่าจะไม่สามารถอธิบายได้จากการลดระดับของภูมิในเลือดอย่างเดียว ทั้งนี้อาจจะร่วมกับสายพันธุ์เช่นเดลต้า

ทั้งนี้เพราะในประเทศไทยการคัดเลือกคนที่ได้รับชิโนแวคสองเข็ม และระดับภูมิยังคงสูงกว่า 70% เช่นที่ 87 จนถึง 92%  แต่เมื่อแยกวิเคราะห์ความสามารถต่อสู้กับไวรัสพบว่าลดลงอย่างมากทั้งสายอัลฟาและเดลต้า

8-คนไทยที่ได้ชิโนแวค 2 เข็ม สู้กับไวรัสอัลฟา และเดลต้า ได้น้อยกว่า แอสตร้า 2 เข็ม ที่ระดับภูมิมากกว่า 90%เหมือนกัน

9-ที่ได้ชิโนแวค และต่อด้วย แอสตร้า ภูมิที่ระดับ สูงกว่า70% ดีกว่าชิโนแวคสองเข็ม ในการสู้กับแอลฟา เดลต้า แต่ยังมีประสิทธิภาพจำกัด ไม่เหมือนกับชิโนแวคสองเข็มและต่อด้วยแอสตร้าภูมิจะดีขึ้นมากและต่อสู้ได้ดีมากต่ออัลฟ่าและเดลต้า

10- ในเรื่องของวัคซีนจบลงที่ว่าการดูระดับภูมิกลายเป็นสูงเกิน 90% ยิ่งดี แต่ต้องพ่วงด้วยความสามารถเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของไวรัสด้วย ดังนั้นจะขึ้นกับชนิดของวัคซีนด้วย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง