รีเซต

ไทยพบผู้ป่วยจิตเวชเพิ่ม 2 เท่า ในรอบ 10 ปี

ไทยพบผู้ป่วยจิตเวชเพิ่ม 2 เท่า ในรอบ 10 ปี
TNN ช่อง16
1 กรกฎาคม 2567 ( 12:43 )
27

นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เกี่ยวกับภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ถึงปัญหาสุขภาพจิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสังคมไทย โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 1.3 ล้านคน ในปี 2558 เป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2566 ขณะเดียวกันข้อมูลภาพรวมของประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิพบเพิ่มสูงถึง 10 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมีสัดส่วนสูงเช่นกัน โดยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2567 พบผู้มีความเครียดสูงถึงร้อยละ 15.48 เสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 17.20 และเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 10.63 ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อเทียบกับอัตรากำลังของบุคลากรด้านสุขภาพจิตและยาเสพติดของประเทศยังมีความขาดแคลนไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีจิตแพทย์ทั่วไปและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานครเพียง 822 คน จำแนกเป็นจิตแพทย์ทั่วไปจำนวน 632 คน คิดเป็นร้อยละ 76.9 และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจำนวน 190 คนคิดเป็นร้อยละ 23.1 อัตรา เฉลี่ยจิตแพทย์ 1.25 คนต่อ 100,000 ประชากร ซึ่งทางรัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 เห็นชอบในหลักการ ให้มีการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพจิตและยาเสพติดเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2565-2570 โดยต้องผลิตจิตแพทย์เพิ่มขึ้นอีก 150 คน ผลิตพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเพิ่มอีก 1, 500 คนนักจิตวิทยาคลินิกเพิ่มอีก 400 คน นักกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางอีก 250 คนเภสัชเฉพาะทางอีก 150 คน 


ทั้งนี้ การปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก" รุ่นที่ 16 ปี 2567 กรมสุขภาพจิตได้รับความร่วมมือกับราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางในการเพิ่มการผลิตจิตแพทย์สุขภาพจิตและยาเสพติด ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายการเพิ่มอัตราเฉลี่ยจิตแพทย์  เป็น 1.7 คนต่อแสนประชากร โดยร่วมผลักดันผลิตจิตแพทย์ให้ได้ 400 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง