แก้หนี้ครู 2565 วันสุดท้าย! เปิด 4 มาตรการแก้หนี้ครู ลดภาระหนี้ ให้รายได้ครูเหลือไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือน
ลงทะเบียนแก้หนี้ครู 2565 ช่วยเหลือครูเป็นหนี้ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดให้ ลงทะเบียนแก้หนี้ครู 2565 ได้จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2565 เท่านั้น เพื่อช่วยครู“ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ – refinance – ปรับลดค่าธรรมเนียมประกัน – ปรับปรุงโครงสร้างหนี้หักเงินเดือน – ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เกษียณอายุ – ไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้” ทำให้ให้ครูมีรายได้ต่อเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือน ลงทะเบียนแก้หนี้ครู 2565 ได้ที่ https://td.moe.go.th
กระทรวงศึกษาธิการ เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ครู 2565 เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูนั้น ต้องการลดภาระหนี้โดยรวมของครูให้น้อยลง ให้ครูมีรายได้ต่อเดือนเหลือไม่น้อยกว่า 30% ของเงินเดือน โดยได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนในเฟสแรก เป็น 4 มาตรการ ดังนี้
มาตรการแก้หนี้ครู ลดภาระหนี้
มาตรการที่ 1 ลดดอกเบี้ย
โดยเปิดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ครูรายใหญ่เข้าร่วม ขณะนี้มีสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 70 แห่ง จากทั้งหมด 108 แห่ง เข้าร่วมปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว โดยจะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตั้งแต่ 0.05-1.0% และพบว่ามีสหกรณ์ 11 แห่ง สามารถปรับลดดอกเบี้ยให้ลงเหลือต่ำกว่า 5% โดยมีครูที่ได้รับประโยชน์ทันทีกว่า 460,000 คน และจะเร่งขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศในเฟสถัดไป ซึ่งครูมีหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 1,000,000 บาท หากอัตราดอกเบี้ยลดลง 1% จะทำให้ครูมีเงินไว้ใช้จ่ายต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 10,000 บาท ขณะเดียวกันนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน จะเป็นคนกลางในการประสานขอความร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อชะลอการดำเนินคดีทางกฎหมายกับกลุ่มครู ซึ่งคาดว่ามีครูได้รับประโยชน์กว่า 25,000 คน
มาตรการที่ 2 พิจารณาและควบคุมการอนุมัติเงินกู้อย่างเคร่งครัด
โดยยอดหนี้รวมทั้งหมดของผู้กู้ต้องไม่ให้มากเกินกว่า 70% ของรายได้ เพื่อให้ครูสามารถมีเงินใช้จ่ายได้ 30% ของเงินเดือน เนื่องจากครูมีหนี้หลายด้าน ระบบการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ยังไม่เป็นระบบที่เชื่อมโยง ศธ.จึงร่วมมือกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ในการสร้างระบบและเชื่อมโยงหนี้รายบุคคล เพื่อให้ทราบข้อมูลหนี้ครูรายคนสำหรับการบริหารจัดการและไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อน โดยทางเครดิตบูโรสนับสนุนให้ ศธ. ใช้ระบบได้ฟรี ไม่คิดใช้จ่าย หากตรวจพบว่าครูที่ต้องการกู้เงินเพิ่มเติม มีหนี้รวมมากกว่า 70% จะไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้เพิ่ม
มาตรการที่ 3 จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครูฯ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา 481 แห่ง และระดับจังหวัด 77 จังหวัด รวม 558 สถานีทั่วประเทศ โดยดำเนินการในรูปคณะกรรมการ
- สถานีแก้หนี้ครูฯ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) หรือหัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางแก้หนี้ร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่วนราชการ และสถาบันการเงิน, จัดทำระบบข้อมูล, ปรับปรุง กำหนดมาตรการหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้, รับลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้กับครูและผู้ค้ำประกัน
- สถานีแก้หนี้ครูฯ ระดับจังหวัด จะมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน กำกับดูแลในภาพรวมของจังหวัด บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นภายในจังหวัด ช่วยเหลือสถานีแก้หนี้ตามที่ได้รับการร้องขอ
มาตรการที่ 4 ให้ความรู้ด้านการเงินให้ครูฯ โดยประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครูสามารถวางแผนการเงิน และมีระเบียบวินัยในการใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
มาตรการที่ 4 ให้ความรู้ด้านการเงินให้ครูฯ
โดยประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครูสามารถวางแผนการเงิน และมีระเบียบวินัยในการใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
ช่องทาง "ลงทะเบียนแก้หนี้ครู 2565"
หากสนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 1 เดือน จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2565 ที่ https://td.moe.go.th
เอกสาร "ลงทะเบียนแก้หนี้ครู 2565"
ดาวน์โหลดเอกสาร : ไฟล์ PDF
ขั้นตอนการดำเนินการแก้หนี้ครู
- ครูที่มีหนี้ลงทะเบียนแก้หนี้ที่ https://td.moe.go.th
- ข้อมูลถูกส่งมาที่กระทรวงศึกษาธิการ
- ข้อมูลถูกส่งต่อไปสำนักงานเขตพิ้นที่ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้
ข้อมูล กระทรวงศึกษาธิการ , ศธ.360 องศา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<