สมาชิกวุฒิสภา คืออะไร? มีกี่คน มาจากไหน? มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?
สมาชิกวุฒิสภา คืออะไร? มีกี่คน มาจากไหน? มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง? หลังจากวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็น วันโหวตเลือกนายก คนที่ 30 ของไทย รอบแรก ซึ่งมีการเสนอชื่อเพียงหนึ่งเดียวคือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็ยบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้ง เป็น นายกรัฐมนตรี
สมาชิกวุฒิสภา คืออะไร
โดยการประชุมรัฐสภาวันนั้น วันนอร์ หรือนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้เปิดให้มีการอภิปรายคุณสมบัติอย่างกว้างขวาง ก่อนลงมติ โหวตเลือกนายก ที่มีการเสนอชื่อ ทีม หรือ นายพิธา เพียง 1 รายชื่อ
ทั้งนี้ กรณีประชุมพิจารณา เลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของไทย ได้ใช้วิธีลงคะแนนโดยเปิดเผยด้วยวิธีขานชื่อเป็นรายบุคคล โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น จะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา หรือ 376 เสียงนั่นเอง
โหวตนายก รอบแรก
ในวันนั้น ประธานรัฐสภา ได้ประกาสผลการลงมติโหวตนายกรัฐมนตรี ช่วงเวลา เวลา 18.25 น. ว่า สมาชิกรัฐสภาลงคะแนน เห็นชอบ ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
- เห็นชอบ 324 เสียง
- ไม่ชอบ 182 เสียง
- งดออกเสียง 199 เสียง
ซึ่งเท่ากับว่ามติที่ประชุมรัฐสภา ไม่เห็นชอบให้ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จสิ้นการ โหวตนายก รอบแรก คงต้องรอลุ้น โหวตนายก รอบสอง วันที่ 19 กรกฎาคมนี้กันต่อไป
และวันนี้จะพาไปหาความรู้เกี่ยวกับ สมาชิกวุฒิสภา คืออะไร และหน้าที่ของ ส.ว. มีหน้าที่อะไรบ้าง มาเสริมความรู้เรื่องการเมืองด้วยกันเลย
สมาชิกวุฒิสภา คืออะไร?
จากข้อมูลเว็บไซต์พิกิพีเดีย ได้อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ สมาชิกวุฒิสภาว่า วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 (11 พฤษภาคม 2562 – ปัจจุบัน) เป็นสภาสูงของรัฐสภาไทย เป็นวุฒิสภาชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
โดยข้อมูงยังระบุว่า วุฒิสภาชุดนี้มีสมาชิก 250 คน มาจากการสรรหาโดย
- สมาชิกวุฒิสภา 244 คนมาจากการสรรหา
- สมาชิก 6 คนเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง
ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 269 ในรัฐธรรมนูญ มีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศของคณะรัฐมนตรีตลอดจนพิจารณากฎหมายที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง
ซึ่ง สมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน 250 คน เป็นโดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่
- ปลัดกระทรวงกลาโหม
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- ผู้บัญชาการทหารบก
- ผู้บัญชาการทหารเรือ
- ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
มาจากการคัดเลือกของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จำนวน 194 คน และมาจากการสรรหาใน 10 กลุ่มอาชีพ จำนวน 50 คน
ส.ว.มีหน้าที่อะไร?
ทั้งนี้ บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้อำนาจ สมาชิกวุฒิสภา พิจารณาบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องได้เสียงเห็นชอบเกิน 376 เสียงขึ้นไป
นอกจากนี้ สมาชิกวุฒิสภา ยังมีอำนาจพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน เช่น การเมือง การศึกษา กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม เศรษฐกิจ การถือครองที่ดิน และระบบหลักประกันสุขภาพ ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยที่คณะรัฐมนตรีต้องระบุว่ากฎหมายฉบับใดเข้าข่ายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ถ้าสมาชิกวุฒิสภา 50 คนขึ้นไปเห็นว่ากฎหมายใดที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้ระบุว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ แต่ตนเห็นว่าเกี่ยวข้อง สามารถยื่นให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยได้ ซึ่งหากเกี่ยวข้องก็จะสามารถร่วมพิจารณากฎหมายดังกล่าวได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สมาชิกวุฒิสภา
บทความเกี่ยวกับการ โหวตนายก
- ประธานสภา ก้าวไกล-เพื่อไทย ใครได้นั่ง?
- ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!
- ประธานรัฐสภา จากอดีต-คนปัจจุบัน 2566 ไทยมี ประธานรัฐสภาไทย มาแล้วกี่คน
- เลือกนายกฯ เปิดโพลสำรวจความเห็นปชช. 'ราบรื่น-มีอุปสรรค' หรือไม่?
- "ส.ว.วุฒิพันธุ์" ย้ำจุดยืน โหวตนายกฯคนที่ 30 จากพรรคที่มี ส.ส.มากสุด
- โหวตนายกได้กี่รอบ? เปิด 3 แนวทาง โหวตนายกฯ คนที่ 30
- ประชุมสภา 13 กรกฎาคม 2566 โหวตนายกรัฐมนตรี 09.30 น. เป็นต้นไป
- เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
- เปิด "กติกา" โหวตนายกฯ คนที่ 30 พร้อมเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล
- ตร.เตรียมกำลังดูแลวัน "โหวตนายกรัฐมนตรี" แนะเลี่ยงเส้นทางหน้ารัฐสภา
- เปิดท่าทีส.ส.แต่ละพรรคมอง ‘วันโหวตนายกฯ’ ราบรื่นหรือไม่?
- ถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!
- เปิดแผนการรักษาความปลอดภัยรอบรัฐสภารับ “วันโหวตนายกฯ” ย้ำยึดหลักสากล
- "พิธา" พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ วันโหวตนายกฯ
- "โหวตนายกฯ" เช็กเสียง 750 สมาชิกรัฐสภา
- ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งรับคำร้องกกต.ยื่นสอบ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เข้าระบบแล้ว