รีเซต

ลงทะเบียนมาตรการแก้หนี้ระยะยาว จาก ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยเหลือลูกหนี้จ่ายหนี้ลดลง ติดต่อที่ไหน เช็กเลย!

ลงทะเบียนมาตรการแก้หนี้ระยะยาว จาก ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยเหลือลูกหนี้จ่ายหนี้ลดลง ติดต่อที่ไหน เช็กเลย!
Ingonn
14 มกราคม 2565 ( 10:51 )
10.1K
ลงทะเบียนมาตรการแก้หนี้ระยะยาว จาก ธปท. ปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยเหลือลูกหนี้จ่ายหนี้ลดลง ติดต่อที่ไหน เช็กเลย!

มีหนี้ จ่ายหนี้ไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อ คนมีหนี้ไม่ต้องกังวล อีกต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ แก้หนี้ระยะยาวของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้สอดคล้องกับรายได้ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ลูกหนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และสามารถวางแผนทางการเงินได้ชัดเจน โดยกำหนดงวดการจ่ายชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงมากของลูกหนี้ และให้ลูกหนี้ทยอยจ่ายชำระหนี้เพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เริ่มกลับมา ดีกว่าการพักชำระหนี้หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้แบบเดิม เพราะลูกหนี้จะมีภาระหนี้ที่สูงขึ้น และเกิดความกังวลจากความไม่แน่นอน

 

มาตรการแก้หนี้ระยะยาวของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) จะเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.65-31 ธ.ค.66 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

 

คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (GFA) ร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงาน เห็นร่วมกันให้แบงก์ชาติกำหนดกรอบดำเนินการและสร้างกลไกผลักดันให้ SFIs เร่งให้ความช่วยเหลือและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ได้อย่างตรงจุดและยั่งยืน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยังต้องเผชิญกับภาวะการระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินธุรกิจหรือใช้ชีวิตประจำวันต่อไปได้ อันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยแนวทางและมาตรการดำเนินการในการช่วยเหลือและแก้ไขหนี้ในระยะยาว ดังนี้

 

มาตรการดำเนินการในการช่วยเหลือและแก้ไขหนี้ในระยะยาว

  1. แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ที่เป็นการยกระดับแนวนโยบายให้ SFIs ปฏิบัติเดิม เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อรองรับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในมิติของการจัดทำนโยบาย การกำกับดูแล และกระบวนการพิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้ ตลอดจนมีการควบคุมภายในที่รัดกุม ซึ่งจะเอื้อให้ SFIs สามารถใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและรอบคอบในการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมกับศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างแท้จริง 

  2. มาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ SFIs เร่งแก้ไขปัญหาหนี้เดิมด้วยการปรับโครงสร้างหนี้แบบระยะยาวอย่างตรงจุดและเหมาะสมกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละราย โดยกำหนดงวดการจ่ายชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงมากของลูกหนี้ และให้ลูกหนี้ทยอยจ่ายชำระหนี้เพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เริ่มกลับมา รวมทั้งต้องเร่งช่วยลูกหนี้ให้ได้จำนวนมากและรวดเร็วซึ่งแบงก์ชาติได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองตามความเข้มข้นของการให้ความช่วยเหลือ โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราวระหว่าง  วันที่ 1 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566 ซึ่งจะสอดคล้องกับมาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 กันยายน 2564 ของธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินการอยู่ 

 

แนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้

  1. มองยาว ภาระการจ่ายหนี้สอดคล้องกับรายได้ที่ต่ำลงมาก และทยอยจ่ายเมื่อรายได้กลับมา
  2. ทำกว้าง สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากได้เร็ว
  3. ตรงจุด มีทางเลือกการปรับหนี้ที่หลากหลาย ให้เหมาะกับ "อาการ" ของลูกหนี้แต่ละราย/ประเภท
  4. รอดด้วยกัน เป็นธรรมกับลูกหนี้และเจ้าหนี้
  5. ไม่สร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม (moral hazard) ให้กับลูกหนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบ

 

ธปท. คงความยืดหยุ่นการบังคับใช้หลักเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้

  1. คงการจัดชั้นลูกหนี้ชั่วคราวจนถึง 31 มี.ค. 2565 - สำหรับลูกหนี้รายย่อย และ SMEs ที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
  2. ใช้เกณฑ์การจัดชั้นและกันเงินสำรองอย่างยืดหยุ่นถึงสิ้นปี 2566 - หากช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยวิธีนอกเหนือจากการพักชำระหนี้หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้

 

ลงทะเบียนแก้หนี้ระยะยาวที่ไหน 

ติดต่อ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ดังนี้

 

 

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) มีบทบาทสำคัญในการให้สินเชื่อแก่ประชาชน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายตามนโยบายภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง ลูกหนี้ส่วนใหญ่มีฐานะการเงินเปราะบางและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลซ้ำเติมต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มากยิ่งขึ้นที่ผ่านมา เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ SFIs ได้เข้าให้ความช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการชะลอการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้แบบชั่วคราว เช่น การพักชำระหนี้ การขยายระยะเวลา ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาลูกหนี้ที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวที่สะสมมาได้อย่างแท้จริง

 

 

 

ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง