AI กำลังช่วยค้นหาหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์ด้านดวงดาวและนักวิจัย AI ได้ทำการจับมือกันเพื่อสร้าง AI ที่มีระบบเทคโนโลยี Machine Learning เพื่อจะช่วยให้สามารถค้นหาหลุมอุกกาบาตหลุมใหม่บนดาวยอังคารได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการหาผลกระทบจากอุกกาบาตที่ตกใส่ดาวอังคารเมื่อ 8 ปีทีแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดหน้ากว้างเพียง 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างยากในการค้นหา โดย AI ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในส่วนนี้เพื่อลดเวลาในการค้นหา และสำรวจพื้นผิวบนดาวอังคารให้ได้มากยิ่งขึ้น
AI ดังกล่าวจะมาทำหน้าที่ตรวจสอบภาพที่ถ่ายโดย Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) แทน เพื่อค้นหาปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาบนพื้นผิวของดาวอังคาร ซึ่งใน 14 ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการค้นพบหลุมอุกกาบาตไปแล้วกว่า 1,000 หลุม ซึ่งทั้งหมดค้นพบได้จากภาพถ่ายของกล้องที่ติดอยู่บนยานอวกาศทั้งหมด โดยภาพที่ได้มานอกจากจะมีรายละเอียดที่ต่ำแล้ว ตัวภาพยังตรวจสอบได้ยาก โดยต้องใช้เวลาไปมากถึง 40 นาที ในการตรวจสอบภาพเพียงภาพเดียว
AI ที่กล่าวถึงมีชื่อว่า "Fresh Impact Crater Classifier" ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัย Jet Propulsion Laboratory มีเป้าหมายในการลดเวลาสำหรับการตรวจสอบภาพลง ซึ่งในตอนนี้ Fresh Impact Crater Classifier ได้ทำการดูภาพไปแล้ว 6,830 ภาพ เพื่อจำแนกประเภทของปล่องภูเขาไฟ รวมถึงสถานที่ที่มีผลกระทบที่ HiRISE ระบุและยืนยันเอาไว้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีภาพที่ไม่มีผลกระทบใด ๆ ให้ตัว AI สามารถแยกแยะได้
ปัจจุบัน Fresh Impact Crater Classifier สามารถลดเวลาในการตรวจสอบภาพ 40 นาที ให้เหลือเพียงภาพละ 5 วินาทีเท่านั้น
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
แหล่งที่มา sciencetimes.com