รู้จัก “ตั๊กแตนทะเลทราย-ตั๊กแตนไม้ไผ่” จอมผลาญพืช ฝูงนึงกินเท่าช้าง 6 ตัว/วัน
จากกรณีผู้สื่อข่าวรายปัญหาศัตรูพืชอย่างตั๊กแตนทะเลทรายที่กำลังยกฝูงบุกเข้าอินเดีย โดยปรากฏภาพตั๊กแตนฝูงใหญ่ บินว่อนใน“กูรูกรัม” เมืองบริวารของกรุงนิวเดลี
ซึ่งประเทศอินเดียได้ทำสงครามต่อสู้กองทัพตั๊กแตนมาเป็นเวลานานหลายสิบปี โดยใช้ทั้งรถยนต์พิเศษ และรถดับเพลิง พ่นยาฆ่าแมลงใน 7 รัฐที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดทางตอนเหนือ ตอนกลาง และตะวันตกของประเทศ
ในขณะเดียวกันเมื่อวานที่ผ่านมาได้มีรายงานว่าพบฝูง ตั๊กแตนไม้ไผ่ ระบาดในเมืองซำเหนือ แขวงหัวพันของประเทศลาว สร้างความเสียหายต่อพืชผลการเกษตรกว่า 94 ไร่
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ตั๊กแตนที่กำลังสร้างความปั่นป่วนอย่างหนักในอินเดียได้ข้ามพรมแดนมายังประเทศเนปาลแล้ว
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่ประสบปัญหาการแพร่ระบาดดังกล่าว อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองและเฝ้าระวัง เนื่องจากตั๊กแตนสามารถสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรได้อย่างมหาศาลเรามาดูกันกว่าเหตุใด บรรดาเกษตรกรในประเทศต่างๆถึงประหวั่นพรั่นพรึงต่อศัตร์พืชตัวเล็กๆชนิดนี้
ตั๊กแตนทะเลทรายจัดเป็นศัตรูพืซที่มีความร้ายแรงระดับโลก การระบาดของตั๊กแตนมีผลมมาจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์
ตั๊กแตนทะเลทรายเป็นตั๊กแตนที่อพยพเป็นกลุ่มระยะทางไกล สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวด กัดกินพืซได้หลายชนิด รวมทั้งพืซที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อย่าง ข้าว ข้าวโพด ข้างฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ อ้อย หญ้าสัตว์เลี้ยง ฝ้าย ไม้ผล พืซผัก หรือแม้แต่ วัซพืซ ซึ่งมันสามารถกินได้ทั้งต้น ดอก ผลจนไปถึงราก ที่สำคัญพวกมันสามารถกินได้จนมันตาย
ตั๊กแตนทะเลทรายบินตามกระแสลมด้วยความเร็วประมาณ 16–19 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะบินสูงถึง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บินได้นาน 10 ชั่วโมงต่อครั้ง สามารถเดินทางได้ประมาณ 5-130 กิโลเมตร หรือมากกว่าในหนึ่งวัน
ตั๊กแตนทะเลทรายเพิ่มปริมาณอย่าง รวดเร็วช่วงฤดูฝนที่มีพืชอุดมสมบูรณ์ และสามารถเพิ่มจำนวนเป็น 10 ถึง 16 เท่าในรุ่นต่อไป
ฝูงตั๊กแตนทะเลทรายอาจมีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าหนึ่งตารางกิโลเมตร จนถึงหลายร้อยตารางกิโลเมตร มีประชากรตั้งแต่ 40 ถึง 80 ล้านตัวต่อตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ที่มีตั๊กแตนประมําณ 40 ล้านตัว สามารถกินอาหารในปริมาณเดียวกับคน 35,000 คน อูฐ 20 ตัว หรือช้าง 6 ตัว ในหนึ่งวัน
สำหรับ ตั๊กแตนไม้ไผ่ ที่กำลังระบาดในประเทศลาวนั้น ถือเป็นเอเลี่ยนสปีซีส์ ในประเทศไทย สามารถ ทำลายพืชได้หลากหลายชนิดอย่างเช่น ไผ่,ข้าว,ข้าวโพด,พืชตระกูลปาล์ม, พืชล้มลุกบางชนิด โดยระยะตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สร้างความเสียหายได้กว้างขวางและรุนแรงที่สุด
การระบาดครั้งแรกของ ตั๊กแตนไม้ไผ่ ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2472 ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในพื้นที่มณฑลเสฉวน หูเป่ย เกียงสู หูหนาน เกียงสี ฝูเจียน และกวางตุ้ง และใน ปี 2478-2489 เกิดการระบาดสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในจีนหลายครั้ง
ต่อมาในปี 2557 พบการระบาดครั้งแรกที่ สปป.ลาว ที่แขวงหัวพัน ระบาดเพิ่มขึ้นที่แขวงพงสาลี ซึ่งสปป.ลาวต้องขอความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้เข้ามาช่วยควบคุมการระบาดของตั๊กแตนไผ่ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้
จนกระทั่งปี 2559 ตั๊กแตนไผ่ ได้แพร่ระบาดรุนแรงขึ้นอีกครั้งในแขวงหลวงพระบาง ของ สปป.ลาว ซึ่งขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้น ถือเป็นปัญหาที่ต้องจับตามองหากหลุดเข้ามาในประเทศไทยจะสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline