รีเซต

อีลอน มัสก์ โพสต์วิดีโอเสียดสี “กมลา แฮร์ริส” ที่สร้างขึ้นด้วย AI บนโซเชียล X (Twitter)

อีลอน มัสก์ โพสต์วิดีโอเสียดสี “กมลา แฮร์ริส” ที่สร้างขึ้นด้วย AI บนโซเชียล X (Twitter)
TNN ช่อง16
31 กรกฎาคม 2567 ( 12:55 )
13
อีลอน มัสก์ โพสต์วิดีโอเสียดสี “กมลา แฮร์ริส” ที่สร้างขึ้นด้วย AI บนโซเชียล X (Twitter)

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เจ้าของแพลตฟอร์มเอกซ์ (X, Twitter) รีทวีต (Retweet) วิดีโอเสียดสีกมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จากพรรคเดโมแครต (Democrat) ซึ่งวิดีโอดังกล่าวได้ใช้เสียงสังเคราะห์จาก AI เพื่อพูดทัศนคติเชิงเสียดสี


ส่งผลให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม หลังก่อนหน้านี้ได้ไม่นานเจ้าตัวประกาศว่าจะสนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จากพรรคริพับลิกัน (Republican) รวมถึงมีการตั้งคำถามถึงความเหมาะสม ในการใช้ AI กับการเมืองในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย



วิดีโอล้อเลียน "กมลา แฮร์ริส" บน X

วิดีโอดังกล่าวเป็นวิดีโอล้อเลียน (Parody) จากบัญชีผู้ใช้งานที่ชื่อว่า มิสเตอร์ เรแกน (Mr Reagan) ซึ่ง Elon Musk ได้โพสต์โดยการแชร์ พร้อมแคปชัน (Caption) ว่า“This is amazing” (นี่มันยอดเยี่ยมมาก) พร้อมสัญลักษณ์อารมณ์ (Emoji) หัวเราะ ซึ่งการกระทำดังกล่าวสำนักข่าวเอพี (AP) ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเลี่ยงการชี้ว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นการล้อเลียน 


โดย AP รายงานว่า วิดีโอดังกล่าวได้ใช้เสียงสังเคราะห์ที่มีน้ำเสียงคล้ายกับเสียงของ Kamala Harris รวมถึงมีวิธีการและลำดับการนำเสนอคล้ายกับวิดีโอหาเสียงที่ Kamala Harris เผยแพร่ก่อนหน้านี้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง ณ วันที่ TNN Tech รายงานข่าว (31 กรกฎาคม) ยอดรับชมวิดีโอดังกล่าวพุ่งขึ้นเป็นมากกว่า 132 ล้านครั้ง 


ความเหมาะสมในการใช้ AI เพื่อสร้างวิดีโอล้อเลียนทางการเมือง

ทั้งนี้ มีความคิดเห็นว่าการกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย มัสก์ได้โต้ตอบในเชิงติดตลกว่าเจ้าตัวได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (ที่ประชดคนตอบในเชิงว่าไม่ได้สำคัญอะไร) แล้วก็บอกว่าการล้อเลียนเป็นเรื่องที่ทำได้ในสหรัฐ - “I checked with renowned world authority, Professor Suggon Deeznutz, and he said parody is legal in America.” (Suggon Deeznutz เป็นภาษาปากของคำหยาบ s**k on these nuts)



ในขณะที่มีอา เอห์เรนเบิร์ก (Mia Ehrenberg) โฆษกหาเสียงของ Kamala Harris ส่งอีเมลหา AP ความว่า “เราเชื่อว่าชาวอเมริกันล้วนต้องการอิสรภาพที่แท้จริง รวมถึงโอกาสและความมั่นคงที่รองประธานาธิบดีแฮร์ริสสามารถให้กับทุกคนได้ ไม่ใช่การเลือกสนับสนุนอีลอน มัสก์ และโดนัลด์ ทรัมป์ที่สร้างแต่เรื่องปลอม และปั่นหัวคนอื่น”


ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งให้มุมมองกับ AP ว่า การทำวิดีโอล้อเลียนจาก AI มีสิทธิ์ทำให้คนหลงเชื่อได้หากไม่ได้ติดตามข่าวสารที่ถูกต้อง ในขณะที่แพลตฟอร์มหลายฟอร์ม เช่น ยูทูบ (Youtube) กำหนดว่าผู้สร้างเนื้อหาต้องเปิดเผยว่าเสียง ภาพ หรือแม้แต่ใบหน้ามีการปรับแต่ง AI หรือไม่ 


ข้อมูลจาก APInteresting Engineering

ภาพจาก Reuters


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง