รีเซต

บาทอ่อนตัว นักวิเคราะห์ชี้ไม่มีปัจจัยใหม่กระตุ้น แนวโน้มตลาดเงินผันผวนสูง

บาทอ่อนตัว นักวิเคราะห์ชี้ไม่มีปัจจัยใหม่กระตุ้น แนวโน้มตลาดเงินผันผวนสูง
มติชน
21 พฤษภาคม 2563 ( 08:57 )
149
บาทอ่อนตัว นักวิเคราะห์ชี้ไม่มีปัจจัยใหม่กระตุ้น แนวโน้มตลาดเงินผันผวนสูง

 

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยตลาดการเงิน บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) กล่าวว่าค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ 21 พฤษภาคม ที่ระดับ 31.84 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.82 บาทต่อดอลลาร์  กรอบเงินบาทวันนี้ 31.75-31.95 บาทต่อดอลลาร์

 

ในคืนวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมาตลาดการเงินเร่งตัวกลับขึ้นอีกครั้งจากภาพนโยบายการเงินสหรัฐที่มีโอกาสผ่อนคลายต่อเนื่อง ดัชนี S&P 500 และ Euro Stoxx 50 จึงปรับตัวขึ้น 1.67% และ 1.37% ตามลำดับ ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐและเยอรมันอายุ 10 ปี ก็ปรับปรับตัวลง 2-3bps กลับลงมาที่ 0.67% และ -0.47%

 

ฝั่งของตลาดเงิน ดอลลาร์ก็อ่อนค่าลง 0.5% เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นผลมาจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ล่าสุด ที่แสดงความกังวลกับโอกาสที่ไวรัสจะกลับมาระบาดซ้ำในสหรัฐ

 

ขณะเดียวกันตัวเลขการว่างงานล่าสุดก็อยู่ในระดับที่ “ไม่ปกติอย่างมาก” คณะกรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้ใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายสนับสนุนต่อไป โดยมองว่าน่าจะมีการให้มุมมองอนาคตในการประชุมครั้งหน้าได้

 

ส่วนฝั่งไทย คณะกรรมการนโยบายการเงินก็ “ลด” อัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ระดับ 0.50% ด้วยมุมมองเศรษฐกิจที่แย่ลงเช่นกัน

 

อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายครั้งนี้ดูจะไม่ได้เพิ่มข้อมูลใหม่ให้กับตลาดมากนัก โดยบอนด์ยีลด์ไทยปรับตัวลงทุกช่วงอายุราว 2-4bps ขณะที่ทั้งหุ้นและบอนด์ก็เจอแรงขายจากต่างชาติเช่นเดิม

 

ฟากเงินบาทก็ทยอยแข็งค่าลงต่อโดยดูจะให้ความสำคัญกับมุมมองการกลับมาเปิดประเทศเป็นหลัก ซึ่งถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ประเด็นเดียวที่สามารถดึงให้เงินบาทเคลื่อนไหวได้เร็วดูจะมีแค่ “ความผันผวนของตลาด” ดังนั้นถ้าหุ้นทั่วโลกยังคงฟื้นตัวต่อแม้จะมาจากความหวังว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะสามารถกลับมาเปิดทำการได้ตามปกติ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นความผันผวนลดระดับลง หนุนให้เงินบาทแข็งค่าต่อได้ในระยะ 1-2 เดือนนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง