รีเซต

นักวิทย์คิดค้นวิธีเปลี่ยนแรงสั่นจากใยให้เป็นเพลงสุดไพเราะ

นักวิทย์คิดค้นวิธีเปลี่ยนแรงสั่นจากใยให้เป็นเพลงสุดไพเราะ
TNN ช่อง16
14 เมษายน 2564 ( 13:58 )
225

‘ใยแมงมุม’ อาจจะเป็นสิ่งที่คนรักความสะอาดรำคาญใจเมื่อพบเจอมันอยู่ตามมุมบ้าน แต่รู้ไหมว่าผลงานสร้างสรรค์จากธรรมชาติชิ้นนี้กำลังจะกลายมาเป็นบทเพลงสุดไพเราะให้เราได้ฟังกัน


ใยแมงมุมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบได้ทุกที่ที่มีแมงอาศัยอยู่ โดยแมงมุมจะใช้ใยเหนียวดักจับแมลงที่จะเป็นอาหารของมัน นอกจากนั้นแมงมุมยังใช้ใยของตัวเองเพื่อรับรู้สภาพแวดล้อมของพวกมันด้วย โดยการสั่นสะเทือนจากใยแมงมุมจะทำให้เกิดเสียงที่แมงอื่นได้ยิน แต่ไม่ใช่กับมนุษย์


ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงต้องการทราบว่าเสียงที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนเหล่านี้จะเป็นอย่างไร จึงได้มีทีมวิจัยจาก MIT เปิดตัวโครงการ data sonification ที่ทำให้มนุษย์ได้ลองฟังเสียงเหล่านี้ดูบ้าง โดยพวกเขาหวังว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะพัฒนาไปได้ไกลถึงขั้นหาทางสื่อสารกับแมงมุมได้เลยทีเดียว

ปกติแล้วแมงมุมนั้นตาบอด ดังนั้นวิธีที่แมงมุมจะใช้รับรู้สิ่งรอบข้างก็คือจากแรงสั่นสะเทือนเป็นหลัก ไม่ว่าจะผ่านทางใยหรือวิธีการสื่อสารแบบอื่น ๆ เช่น การกระทบขากับพื้นเพื่อดึงดูความสนใจหรือดึงดูคู่ของมัน ในการวิจัยครั้งนี้ทีมงานจึงได้ใช้กระบวนการ “sonification” ที่เปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นเสียงเพื่อสร้างเพลงจากเสียงที่มาจากการสั่นสะเทือน ซึ่งพวกเขาได้ค้นหาช่วงของเสียงที่มนุษย์สามารถได้ยิน และใช้ฟิสิกส์ของใยแมงมุมเพื่อกำหนดแรงสั่นสะเทือนแบบเฉพาะ จากนั้นจึงใช้ข้อมูลเสียงที่ได้สร้างขึ้นเป็นแบบจำลองของใยแมงมุมที่ให้เสียงดังกล่าวผ่าน VR


ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเสียงที่ไพเราะ นุ่มนวล คล้ายเสียงระฆัง ตัวโครงสร้างของใยแมงมุมเองก็ได้นำมาใช้ในมิวสิควิดีโอที่สร้างจากโปรแกรมสามมิติจำลองลักษณะใยที่ถูกยืดออก ซึ่งให้เสียงที่คล้ายกับเสียงเครื่องบินเวลาบินขึ้น



นอกจากนี้พวกเขายังสร้างวิดีโออีกชิ้นที่แสดงให้เห็นภาพจำลองเสมือนของการเดินทางผ่านใยแมงมุม ซึ่งให้เสียงเหมือนเสียงประกอบภาพยนตร์แนวระทึกขวัญ 




แผนการต่อจากนี้คือทีมต้องการจะบันทึกเสียงจากใยแมงมุมและใช้ AI ในการสร้างเสียงของแมงมุมเพื่อใช้ดูปฏิกิริยาของแมงมุมจริง ซึ่งพวกเขาหวังว่าข้อมูลที่ได้จากโครงการนี้จะช่วยจุดประกายให้เกิดการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยด้านเสียงซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าแมงมุมมองเห็นโลกได้อย่างไร



ขอบคุณข้อมูลจาก

sciencetimes.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง