กว่าจะมี "หมู่บ้านนักกีฬา" ในโอลิมปิกต้องรอจนถึงมหกรรม "ปารีส 1924" | Chronicles
หมู่บ้านนักกีฬา ถือเป็นอีกหนึ่งการก่อสร้างที่หากทำดี ๆ จะเป็นแลนด์มาร์คให้แก่เจ้าภาพโอลิมปิกได้อย่างมาก
อย่างเช่น “โยโยงิ” ที่ตอนนี้เป็นอสังหารีมทรัพย์ที่มีมูลค่าอันดับต้น ๆ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจยามว่าง และสถานที่จัดอีเวนต์สำคัญของญี่ปุ่น หรือ “บาลด์วิน ฮิลล์” ที่ลอสแองเจลิส ที่มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมไม่แพ้ฮอลลีวูดเลยทีเดียว
แต่กว่าที่จะมีการริเริ่มให้สร้างหมู่บ้านนักกีฬา ต้องรอจนถึงโอลิมปิก 1924 ที่ปารีส ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ก่อนหน้านั้นนักกีฬาอยู่กันอย่างไร ? และเหตุใดจึงสร้างหมู่บ้านนักกีฬาที่ปารีสเป็นห่งแรก ?
นับตั้งแต่โอลิมปิกสมัยใหม่เกิดขึ้นในปี 1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ นักกีฬาที่เข้าแข่งขันต้องจัดหาที่พักด้วยตนเอง เพราะคณะกรรมการโอลิมปิกสากลถือคติว่า “กีฬาคือกีฬา” ไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง นักกีฬาที่มาแข่งขันต้องมาด้วยใจ ไม่หวังผลทางกำไรใด ๆ หวังเพียงเหรียญรางวัลกลับบ้านเท่านั้น
นักกีใาที่มีฐานะ มักจะจองโรงแรมระดับ 5 ดาว หรือรีสอร์ทส่วนบุคคล ส่วนนักกีฬาที่ขัดสนทางการเงิน ก็มักอาศัยนอนตามโรงเรียน โบสถ์ หรือถึงขั้นสถานสงเคราะห์ ต่ที่โหดไปกว่านั้น บางรายไม่พักที่ประเทศเจ้าภาพ แต่นั่งเรือมาแข่งขันและกลับบ้านเลยก็มี
จนกระทั่ง ปิแอร์ เดอ คูแบร์แต็ง ขึ้นเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เขาทนเห็นภาพความเป็นอยู่แบบตามมีตามเกิดของนักกีฬาไม่ได้ และตอนนั้นประเทศบ้านเกิดของเขาอย่างฝรั่งเศสได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 1924 พอดี จึงมีความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศและโอลิมปิกไปในตัว
เขาออกบัญญัติ General Technical Rules ที่มีใจความสำคัญว่า “ประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกจะต้องจัดหาที่พัก เครื่องนอน และอาหาร รวมไปถึงเงินสนับสนุนการครองชีพตลอดระยะเวลาที่นักกีฬาผู้นั้นอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิก” โดยบังคับใช้ครั้งแรกที่โอลิมปิก 1924
นั่นจึงทำให้เกิดการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาขึ้นมาแบบเป็นกิจจะลักษณะ โดยคูแบร์แต็งได้ดำริให้สร้างเป็นอาคารที่ทำด้วยไม้รอบ ๆ สนามแข่งขัน และจัดให้มี Gadgats ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก อาทิ ร้านอาหาร ยิมขนาดย่อม หรือไดร์เป่าผม
หลังจากจบงาน โอลิมปิก 1924 ได้รับคำชื่นชมอย่างมาก ถือเป็นต้นแบบการเป็นเจ้าภาพให้แก่ครั้งต่อ ๆ มา และได้สร้างมาตรฐานว่า หากจะจัดโอลิมปิกต้องมีที่อยู่อาศัยให้นักกีฬาสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
Chronicles by วิศรุต หล่าสกุล [เฮย์เดน วิศว์]
แหล่งอ้างอิง