รีเซต

หมอธีระวัฒน์ ชี้ข้อเสีย-ความเสี่ยงจากการฉีควัคซีนไขว้ 'ซิโนแวค' เข็มแรกกับแอสตร้าฯ

หมอธีระวัฒน์ ชี้ข้อเสีย-ความเสี่ยงจากการฉีควัคซีนไขว้ 'ซิโนแวค' เข็มแรกกับแอสตร้าฯ
มติชน
15 กรกฎาคม 2564 ( 08:47 )
56
หมอธีระวัฒน์ ชี้ข้อเสีย-ความเสี่ยงจากการฉีควัคซีนไขว้ 'ซิโนแวค' เข็มแรกกับแอสตร้าฯ

 

วันที่ 15 ก.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติ​ใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนสูตรการฉีควันซีนมาเป็นซิโนแวคเข็มแรก ตามด้วยแอสตร้าเซเนเก้ เข็มที่ 2 โดยชี้ให้เห็นว่าการไขว้ชิโนแวคกับแอสตร้าอาจจะกลายเป็นเสียวัคซีนเข็มแรกไปและยิ่งไปกว่านั้นภูมิที่ได้โดยไม่สามารถจับได้แน่นกับเดลต้า อาจจะกลายเป็นทำให้เกิดผลร้ายมากขึ้นโดยการที่ภูมิไปจับไวรัสและนำพาไปหาเซลล์ที่สร้างการอักเสบอย่างรุนแรงต่อ ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

 

วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ภูมิในเลือด รวมทั้งการตอบสนองทางด้าน T เซลล์จะเห็นได้ตั้งแต่ 14 วันหลังฉีด “เข็มแรก” รวมทั้งประสิทธิภาพในมนุษย์

 

 

วัคซีนเชื้อตายชิโนแวค ชิโนฟาร์ม จะเห็นภูมิขึ้นเริ่มตั้งแต่ 14 วันหลัง “เข็มที่สอง” และชัดเจนคือ 28 วันหลังเข็มที่สอง

 

 

การฉีดที่เรียกว่า prime หรือ การนำต้องเป็นด้วยวัคซีนที่เห็นผลหรือได้ผลแล้ว ตั้งแต่เข็มแรกและต่อด้วย boost คือ การกระตุ้นต่อด้วย วัคซีนที่ฉีดเข็มเดียวก็ได้ผลแล้ว

 

 

ทั้ง 2 เข็ม จึงจะเปล่งประสิทธิภาพ เสมือนว่า 1 + 1 ได้ 4 ที่เราต้องการ

นอกจากนี้ ยังโพสต์ด้วยว่า ความสับสนที่เกิดขึ้นจากการไขว้วัคซีน ต้นเหตุน่าจะเกิดขึ้นจากการที่หาวัคซีนไม่ได้ ดังนั้น การจะแก้ความสับสนคือ “แก้ที่ต้นเหตุ” หาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีเข้ามาให้เพียงพอสำหรับคนไทย

สำหรับการไขว้วัคซีนเข็มที่หนึ่งและสองหมายความว่าวัคซีนเข็มเดียวแต่ละยี่ห้อก็มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว และเมื่อมาใช้ร่วมกันจะได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกและอีกทั้งมีความสามารถเฉพาะเจาะจงกับสายพันธุ์ที่ต่างจากเดิมออกไปเช่นเดลต้ามากขึ้น

วัคซีนแอสตร้าจะเริ่มสร้างภูมิให้เห็นได้ชัดเจน 14 วันหลังจากฉีดเข็มแรก แต่ในทางกลับกันวัคซีนชิโนแวคจะเริ่มสร้างภูมิเกือบ 30 วันหลังฉีดเข็มที่สอง

ดังนั้นการไขว้ชิโนแวคต่อด้วยแอสตร้า จะไม่เป็นไปตามหลักการไขว้วัคซีนที่ปฏิบัติกันไปแล้วในแอสตร้ากับไฟเซอร์โมเดนา และนอกจากนั้นชิโนแวค ยังไม่มีความชัดเจนในประสิทธิภาพเจาะจงในการกันติดกับเดลต้าดังที่เห็นในชิลีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาหรือในบราซิลและในอินโดนีเซียเป็นต้น

แต่ที่ประเทศจีนที่ได้ผลนั้นแม้จะยืนพื้นด้วยชิโนแวค เป็นเพราะมีการคัดกรองและแยกตัวอย่างดีเยี่ยมและเข้าถึงประชาชนทุกคน พร้อมกันนั้นคือการทำตามวินัยสูงสุด

การไขว้ชิโนแวคกับแอสตร้าอาจจะกลายเป็นเสียวัคซีนเข็มแรกไปและยิ่งไปกว่านั้นภูมิที่ได้โดยไม่สามารถจับได้แน่นกับเดลต้าอาจจะกลายเป็นทำให้เกิดผลร้ายมากขึ้นโดยการที่ภูมิไปจับไวรัสและนำพาไปหาเซลล์ที่สร้างการอักเสบอย่างรุนแรงต่อ

ชิโนแวคเมื่อใช้ไปสองเข็มและภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ทดแทนได้ด้วยการกระตุ้นเข็มที่สามด้วยแอสตร้า ซึ่งช่วยให้ภูมิสูงขึ้นอย่างมาก

และขณะเดียวกันมีความสามารถเจาะจงกับเดลต้าได้มากขึ้น ซึ่งในระยะแรกควรใช้ในบุคลากรด่านหน้าที่ต้องรักษาผู้ป่วยและถ้าเกิดติดจะยิ่งแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยได้มากขึ้นไปอีก

อนึ่ง ถึงแม้ว่าชิโนแวค ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลงเร็วรวมทั้งต่อสายเดลต้าแต่ก็ยังมีความดีงามในการบรรเทาความรุนแรงเมื่อติดเชื้อไปแล้วอย่างแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง