รีเซต

ฝังยาคุม โรงพยาบาลไหนดี? เช็กรายชื่อโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน เปิดให้ "ฝังยาคุม"

ฝังยาคุม โรงพยาบาลไหนดี? เช็กรายชื่อโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน เปิดให้ "ฝังยาคุม"
Ingonn
22 พฤศจิกายน 2564 ( 15:21 )
123.2K

การคุมกำเนิด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้หญิงหลายๆคน โดยการคุมกำเนิดไม่ได้ทั้งแบบ กินยาคุม ทำหมัน ใส่ห่วงอนามัย ฉีดยา และล่าสุดที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมนั่นก็คือ "การฝังยาคุม" ซึ่งมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดยาวนาน 3-5 ปี โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องลืมกินยา และเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมได้ นอกจากนั้นทางกรมอนามัยและ สปสช. ยังเชิญชวนให้วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ต้องการคุมกำเนิด "ฝังยาคุม" และห่วงอนามัยฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานบริการในเครือข่ายของ สปสช. ทั่วประเทศ

 

แต่การ "ฝังยาคุม"  คืออะไร อันตรายไหม เจ็บหรือเปล่า อาจเป็นสิ่งที่หลายคนอยากรู้ รวมถึงผลข้างเคียง จากการฝังยาคุมที่อาจเกิดขึ้นได้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปติดตามกัน

 

 

การฝังยาคุมคืออะไร

ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive Implant) เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้หลอดยาที่มีลักษณะเป็นแท่งยาวขนาดเล็กประมาณเท่าก้านไม้ขีด ขนาดประมาณ 2 - 2.5 มิลลิเมตร บรรจุฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) และฝังใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน และถอดออกเมื่อครบกำหนด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นเวลา 3-5 ปี เมื่อครบกำหนด ต้องกลับมาโรงพยาบาลเพื่อเอายาหลอดเก่าออก และใส่หลอดใหม่เข้าไป

 

ฮอร์โมนโปรเจสตินที่ถูกบรรจุอยู่ในหลอดยา มีหน้าที่ทำให้เมือกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ส่งผลให้อสุจิผ่านเข้าไปยังมดลูกเพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก รวมไปถึงยังทำให้เยื่อบุผนังหมดลูกบาง ซึ่งทำให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วไม่สามารถเกาะที่ผนังมดลูกได้ดี และที่สำคัญฮอร์โมนชนิดนี้ ยังทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนาและไม่เกิดการตกไข่ เมื่อไม่เกิดการตกไข่ที่พร้อมปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิ ก็จะไม่สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้

 

ประเภทยาฝังคุมกำเนิด

ยาฝังคุมกำเนิด ชนิด 1 หลอด จะคุมกำเนิดได้นาน 3 ปี

ยาฝังคุมกำเนิด ชนิด 2 หลอด จะคุมกำเนิดได้นาน 5 ปี 

 

ใครฝังยาคุมได้บ้าง

ยาฝังคุมกำเนิด ใช้ได้กับผู้หญิงทุกคน ที่ต้องการคุมกำเนิด โดยเฉพาะผู้ที่มีบุตรมาแล้ว 1 หรือ 2 คน และในอนาคตไม่ต้องการจะมีบุตรอีก หรือแม้แต่ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมได้ ก็สามารถฝังยาคุมได้เช่นกัน

 

ใครห้ามฝังยาคุมเด็ดขาด

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ (ผู้ที่มีความเสี่ยงจึงต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อน)
  • ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะมีประวัติว่าเคยเป็นหรือกำลังเป็น และผู้ที่มีเนื้องอกชนิดที่ไวต่อโพรเจสเตอโรนหรือฮอร์โมนที่มีฤทธิ์คล้ายโพรเจสเตอโรน
  • ผู้ที่เป็นโรคตับรุนแรง หรือกำลังเป็นโรคตับอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นโรคเนื้องอกตับหรือโรคมะเร็งตับ
  • ผู้ที่มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำร่วมกับมีลิ่มเลือด (thrombophlebitis) หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (thromboembolic disorders) และกำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน

 

 

ภาพจาก shutterstock โดย Michael Kraus

 

ฝังยาคุม ดีไหม

  • มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์นาน 3-5 ปี
  • ยาฝังคุมกำเนิดไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำครั้งเดียวจบ หมดปัญหารับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ดทุกวัน
  • ยาทำให้ไม่มีประจำเดือน หรือลดอาการปวดประจำเดือนและช่วยให้ผู้ที่ประจำเดือนมามากมีประจำเดือนลดลง
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ใช้ได้กับทุกกลุ่ม รวมถึงแม่ที่ให้นมลูก ไม่รบกวนปริมาณและคุณภาพน้ำนม
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก , โรคมะเร็งรังไข่ เป็นต้น
  • กลับมาตั้งครรภ์ได้ หลังจากนำยาฝังคุมกำเนิดออก

 

ผลข้างเคียงยาฝังคุมกำเนิด

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม คลื่นไส้ ปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน เป็นสิว น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • ไม่สามารถหยุดยาได้ด้วยตนเอง ต้องปรึกษาแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ดึงแท่งยาออก
  • บริเวณที่ฝังยาอาจมีอาการเจ็บ ปวด บวม

 

การฝังยาคุม จะทำให้เกิดแผลเป็นไหม

การฝังยาคุมกำเนิด จะมีแผลเล็กมาก และจะหายเป็นปกติภายใน 3-5 วัน หลังจากฝังยาคุมแล้ว ไม่ควรให้แผลโดนน้ำประมาณ 7 วัน จากนั้นแพทย์อาจจะนัดมาดูแผลอีกครั้ง

 

ฝังยาคุม ราคาเท่าไหร่

ในการฝังยาคุมกำเนิด จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500 - 3,000 บาท ในโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน แต่หากอายุ 10-20 ปี และทุกช่วงวัยหลังแท้ง/ยุติการตั้งครรภ์ สามารถรับบริการฝังยาคุมได้ฟรี ทุกโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

 

เว็บไซต์เช็กรายชื่อโรงพยาบาลฝังยาคุม

รายชื่อสถานพยาบาลที่ให้บริการฝังยาคุมกำเนิดที่ลิงก์

>>> https://www.rsathai.org/healthservice <<<

 

ภาพจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

 

ข้อมูลจาก rsathai , รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , pobpad

 

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง