รีเซต

ชาร์จเองได้ ไม่ง้อใคร ! โดรนโซลาร์เซลล์ Solar Hopper รูปแบบใหม่ของโดรนที่ผลิตไฟฟ้าได้เอง

ชาร์จเองได้ ไม่ง้อใคร ! โดรนโซลาร์เซลล์ Solar Hopper รูปแบบใหม่ของโดรนที่ผลิตไฟฟ้าได้เอง
TNN ช่อง16
23 เมษายน 2567 ( 01:35 )
53
ชาร์จเองได้ ไม่ง้อใคร ! โดรนโซลาร์เซลล์ Solar Hopper รูปแบบใหม่ของโดรนที่ผลิตไฟฟ้าได้เอง

นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย โยฮันเนส เคปเลอร์ มหาวิทยาลัย ลินซ์ (Johannes Kepler Universitry Linz) ประเทศออสเตรีย พัฒนาโดรนบินรูปแบบใหม่โซลาร์ ฮอปเปอร์ (Solar Hopper) ติดตั้งแผงโซลลาร์เซลล์ชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ได้ช่วยให้โดรนบินได้ไกลมากขึ้น เปลี่ยนแปลงรูปแบบของโดรนบินรูปแบบเดิมที่มักบินได้นานทั้งหมด 30 นาที ซึ่งหมายถึงหากต้องบินทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับจะมีเวลาเหลือแค่เที่ยวละ 15 นาที  


ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พยายามแก้ไขปัญหาโดรนบินอยู่บนท้องฟ้าได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ด้วยการสร้างสถานีชาร์จกระจายตัวเป็นระยะตามเส้นทางบินของโดรน แต่สถานีชาร์จดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและบำรุงรักษา การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และชาร์จเข้าสู่โดรนโดยตรงจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ 


โดรนรูปแบบใหม่โซลาร์ ฮอปเปอร์ (Solar Hopper) ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากวัสดุเซมิคอนดักเตอร์เรียกว่า เพรอฟสไกต์ (Perovskite) ความหนาน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร หรือเทียบได้กับความหนาเพียง 1 ใน 20 ของเส้นผมมนุษย์ และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ดีขึ้น 20.1% สร้างกำลังไฟฟ้าสูงสุด 44 วัตต์ 


นักวิทยาศาสตร์ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 24 เซลล์ เรียงตัวกันรูปวงแหวน บนโดรนบินควอดคอปเตอร์ขนาดเล็ก CX10 โดยน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์คิดเป็น 1 ใน 25 ของน้ำหนักตัวโดรนทั้งหมด แต่หากนับเฉพาะเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ไม่รวมของสร้างอื่น ๆ จะมีน้ำหนักคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 400 ของน้ำหนักตัวโดรนทั้งหมด


การทดสอบโดรนโซลาร์ ฮอปเปอร์ (Solar Hopper) แบ่งออกเป็น 2 ชุด การทดลองชุดแรกใช้การบินบนอากาศนาน 10 วินาที และนำโดรนลงจอด 30 นาที เพื่อชาร์จพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และทำสลับกันไปแบบนี้รวม 6 รอบ ส่วนการทดลองชุดที่สองใช้การบินแบบครั้งเดียวจนแบตเตอรี่หมด โดยเป็นทั้งแบบติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และไม่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ผลการทดสอบเปรียบเทียบกันพบว่าโดรนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์มีระยะการบินเพิ่มขึ้น 6% 


แม้ว่าผลการทดสอบโดรนจะบินไกลขึ้นเพียง 6% ซึ่งเป็นระยะทางไม่ไกลขึ้นมากนัก แต่นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาโดรนบินที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และสามารถแก้ไขปัญหาการสร้างสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าที่ต้องสร้างใหม่หลายสถานีตลอดเส้นทางบินของโดรน นอกจากนี้หากโดรนบินโซลาร์ ฮอปเปอร์ (Solar Hopper) ได้รับการพัฒนาต่อยอดให้มีขนาดใหญ่อาจสามารถบินได้ระยะทางไกลขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยลง


ที่มาของข้อมูล Newatlas.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง