รีเซต

เช็กที่นี่! "อาการแพ้กัญชา" บริโภค สูบกัญชา มากเกินไป มีข้อเสียอย่างไรกับร่างกายบ้าง? พร้อมวิธีแก้อาการเมากัญชา

เช็กที่นี่! "อาการแพ้กัญชา" บริโภค สูบกัญชา มากเกินไป มีข้อเสียอย่างไรกับร่างกายบ้าง? พร้อมวิธีแก้อาการเมากัญชา
Ingonn
11 มิถุนายน 2565 ( 15:53 )
4.1K
เช็กที่นี่! "อาการแพ้กัญชา" บริโภค สูบกัญชา มากเกินไป มีข้อเสียอย่างไรกับร่างกายบ้าง? พร้อมวิธีแก้อาการเมากัญชา

อาการแพ้กัญชา เกิดขึ้นได้กับคนที่สูบหรือรับประทานกัญชา เนื่องจากกัญชามีส่วนทำให้เส้นประสาทมึนชา คอแห้ง หิวตลอดเวลา และอาจทำให้เมากัญชาได้ ซึ่งหลังจากปลดล็อกกัญชา กัญชง ปลูกกัญชา ไม่ต้องขออนุญาต ทำให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องศึกษาประโยชน์ของกัญชา ว่ามีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง หากเกิดอาการแพ้กัญชา ต้องแก้อย่างไร

กระทรวงสาธารณสุข ประกาศยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  โดยเฉพาะกัญชา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิ.ย.2565 การปลดล็อกกัญชาพ้นจากยาเสพติด ยกเว้นสารสกัด THC 0.2% ยังเป็นยาเสพติดนั้น จะส่งผลให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทยรวมถึงกลุ่มเปราะบาง คือ เด็กและวัยรุ่น สามารถเข้าถึงกัญชา และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย จากการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา รวมถึงการนำกัญชา ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เสพติดมาใช้เพื่อนันทนาการ 

 

กัญชา มีส่วนทำให้มึนเมาอย่างไร

ในพืชกัญชามีสารแคนนาบินอยด์ หลายชนิด แบ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่สำคัญ ได้แก่ THC  และสารไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่สำคัญ ได้แก่ แคนนาบินอยด์ หรือ CBD  ซึ่งในทางการแพทย์มีการนำมาใช้รักษาโรคลมชักชนิดดื้อยากันชัก

 

สำหรับ THC มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์เช่นกัน เช่น ในการรักษาประคับประคองของมะเร็งระยะสุดท้าย แต่หากมีการนำกัญชาหรือสารสกัดกัญชามาใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร หรือการแปรรูปต่างๆ หรือให้มีการใช้กัญชาได้อย่างเสรีโดยไม่มีกฎหมายควบคุม ประชาชนก็จะมีโอกาสได้รับสารแคนนาบินอยด์เหล่านั้น เข้าไปจนอาจจะมีผลกระทบที่รุนแรง โดยเฉพาะอาจส่งผลต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท  เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

 

กัญชามี ข้อดีข้อเสียอย่างไร

กัญชา มีรสเมา กลิ่นเหม็นเขียว มีประโยชน์ทางยาเจริญอาหาร ชูกำลังแต่ทำให้ใจขลาด แพทย์ตามชนบทใช้ดอกของกัญชาผสมรับประทานเป็นยาแก้โรคเส้นประสาท คือ นอนไม่หลับ คิดมากเบื่ออาหาร เหล่านี้ ใช้ยาเข้าผสมกัญชาได้ผลดีมาก แต่ความเสียหายของกัญชาก็มีมากเหมือนกัน คนที่สูบหรือรับประทานกัญชา จะทำให้เส้นประสาทมึนชา คอแห้ง อยากรับประทานของหวาน ๆหรือของน้ำ ๆ รับประทานอาหารไม่รู้จักอิ่ม หนังตาหนักถ่วงลง ตกใจง่ายเห็นหรือนึกคิดอะไรขบขัน อย่างโดยไม่มีเหตุผล ทำให้เป็นคนขลาดอาการเมาจากการสูบอาจสร่างเมาได้เร็วกว่ารับประทาน

 

กัญชา ประโยชน์ทางยา ปรุงเป็นยารับประทานทำให้ง่วงนอน ๆ หลับได้มาก อยากอาหาร มั่นเมา รับประทานได้นอนหลับ แต่เป็นยาเสพติดให้โทษ ไม่ควรใช้เป็นนิจสิน "การตอบสนองของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับกัญชามีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น การเคลื่อนไหวการตอบสนองทางอารมณ์ ความไวต่อความปวดการเรียนรู้และการจดจำ ที่แตกต่างกัน

 

อาการแพ้กัญชา เป็นอย่างไร

อาการผิดปกติที่พบบ่อย

  • ง่วงนอนมากกว่าปกติ
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • จึงเวียนคืรอะ คลื่นไส้อาเจียน

 

อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์

  • หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
  • เป็นลมหมดสติ
  • เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน
  • เหงื่อแตก ตัวสั่น
  • อึดอัดหายใจไม่สะดวก
  • เดินเซ พูดไม่ชัด
  • สับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
  • หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว
  • อารมณ์แปรปรวน

 

วิธีแก้อาการแพ้กัญชา เมากัญชา

  1. หากปากแห้งคอแห้ง ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมากๆ
  2. หากเมากัญชา ให้บีบมะนาวครึ่งลูก ผสมเกลือปลายช้อน หรือเคี้ยวพริกไทย
  3. หากวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ให้ดื่มชาชงขิง หรือน้ำขิง

 

 

 

ข้อมูล กระทรวงสาธารณะสุข , กรมสุขภาพจิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง