รีเซต

‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้เศรษฐกิจฟื้นแบบเปลี่ยนรูปร่าง หวั่นโควิดทำคนตกงานซำ้ซ้อน รัฐบาลช่วยพยุงไม่ไหว

‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้เศรษฐกิจฟื้นแบบเปลี่ยนรูปร่าง หวั่นโควิดทำคนตกงานซำ้ซ้อน รัฐบาลช่วยพยุงไม่ไหว
มติชน
15 กรกฎาคม 2563 ( 09:45 )
141
‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้เศรษฐกิจฟื้นแบบเปลี่ยนรูปร่าง หวั่นโควิดทำคนตกงานซำ้ซ้อน รัฐบาลช่วยพยุงไม่ไหว

‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้เศรษฐกิจฟื้นแบบเปลี่ยนรูปร่าง หวั่นโควิดทำคนตกงานซำ้ซ้อน รัฐบาลช่วยพยุงไม่ไหว

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยกล่าวด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปี 2563 เศรษฐกิจ​ไทยจะฟื้นตัวในรูปแบบของสัญลักษณ์​ไนกี้ บวกตัวดับเบิลยู เพราะมองว่าการระบาดยังอยู่กับประเทศไทยอีกนานแน่นอน ตราบใดที่ยังไม่เจอวัคซีนค้านไวรัส เพราะมีผลต่อเรื่องรูปร่างของเศรษฐกิจ การที่การระบาดยังขึ้นๆ ลงๆ เชื่อว่าการล็อคดาวน์ในแต่ละประเทศก็จะกลับมาอีก ซึ่งในตอนนี้สถานการณ์ในจังหวัดระยองที่มีทหารอียิปต์ ทำให้ต้องมีการประกาศปิดบางสถานที่ อาทิ ห้างโรงแรม และโรงเรียน อีกครั้ง โดยการระบาดในขณะนี้ ยังเป็นการระบาดรอบ 1 อยู่ ยังไม่ได้เข้าสู่การระบาดรอบ 2 หากระบาดรอบ 2 จะต้องเป็นแบบระบาดรอบแรกสามารถควบคุมได้แล้ว และพบผู้ติดเชื้อรายใหม่จนกลับมาระบาดอีกครั้ง เหมือนภาพที่เกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนมากกว่า

นายสมชัยกล่าวว่า สำหรับมาตรการจับคู่ท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (แทรเวล บับเบิล) ที่มีความสามารถในการรวบคุมโควิด-19 ได้ดีไม่แตกต่างจากไทย ในช่วงก่อนหน้านี้เหมือนจะเป็นแนวคิดที่เป็นพระเอกในการเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ​ เนื่องจากรัฐบาลเริ่มเตรียมการจับคู่ประเทศที่ไม่มีความเสี่ยงด้านโควิด-19 เข้ามาในประเทศ​ แต่พอเกิดเหตุการณ์​ที่จังหวัดระยอง ทำให้ประชาชนเริ่มไม่ต้องการให้เกิดการจับคู่ประเทศ และมีความกังวลมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาล​ก็รู้ถึงปัญหา​ดังกล่าว จึงอาจส่งผลให้มาตรการดังกล่าวต้องเลื่อนออกไปก่อน และแนวโน้มไม่น่าจะทันช่วงเดือนสิงหาคมนี้ เหมือนที่คาดกันไว้ตั้งแต่แรก

นายสมชัยกล่าวว่า ในเรื่องของอัตราการว่างงาน จากการดูข้อมูลจากสำนักงานสถิติ​พบในเดือนเมษายน มีอัตราการว่างงานประมาณ 6 ล้านคน แต่จากการประเมินของหลายหน่วยงานประเมินว่าปัจจุบันมีอัตราการว่างงานกว่า 3 ล้านคน แต่สิ่งที่เป็นกังวลที่สุดคือแรงงานในภาคท่องเที่ยวที่ต้องกลับภูมิ​ลำเนา​ เนื่องจากไม่มีการจ้างงาน จึงอยากรู้ว่าภาครัฐจะช่วยคนกลุ่มนี้อย่างไร หรือจะใช้เงินงบประมาณในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 4 แสนล้านบาท มาช่วยเหลือคนกลุ่มนี้อย่างไรบ้าง

“กังวลว่าประชาชนที่เคยทำงานอยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวจะไปทำอะไร บางคนต้องกลับไปที่ท้องถิ่น บางจำนวนอาจจะกลับภูมิ​ลำเนา​ และไม่กลับมาทำงานที่สถานที่ท่องเที่ยว ประมาณ 17% แต่กว่า 50% ยืนยันว่าไปแล้วจะกลับมาทำงาน ซึ่งสถิติเหล่านี้เปลี่ยนไปทุกวัน แต่อยากทราบว่ารัฐบาลจะมีการช่วยเหลือแต่ล่ะกลุ่มอย่างไร โดยเฉพาะการสร้างงานในชนบท และการเพิ่มสกิลให้กับแรงงาน” นายสมชัยกล่าว

นายสมชัยกล่าวว่า เรื่องการช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟโลน)​ อีก 1 แสนล้านบาท เชื่อว่าในที่สุด จะมีซัพพลายฝั่งท่องเที่ยวในอีก 3 ปี จะพอไหม แาจมีการเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจอื่น ซอฟโลนจะต้องเปลี่ยนไป ในที่สุดจะต้องมีใครเข้ามาช่วยดูสักคนดูแลในส่วนนี้ ถึงแม้ในกลุ่มธุรกิจใหญ่ ก็เริ่มเจ็บตัว ซึ่งถ้าภาครัฐมีการเพิ่มภาษีในเรื่องต่างๆ ไม่มั่นใจว่าจะมีกี่รายที่ไหว อย่างไรก็ตาม มองว่าในเรื่องของการช่วยเหลือภาคประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ประชาชนในกลุ่มนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดไม่ใช่ว่ารัฐบาลนำเงินมาให้ แต่ยังไปจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่ฟุ่มเฟือย​ ภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงหรือส่งเสริมในด้านอื่นๆร่วมไปด้วย ซึ่งถ้าปรับเปลี่ยนความคิดได้ก็น่าจะทำให้สามารถเผชิญกับปัญหาในช่วงนี้ไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง