รีเซต

“หลานม่า” พา MAJOR รอด ไตรมาส 2/67 กำไร 232 ลบ. -56%

“หลานม่า” พา MAJOR รอด ไตรมาส 2/67 กำไร 232 ลบ. -56%
ทันหุ้น
8 สิงหาคม 2567 ( 19:17 )
76

#MAJOR #ทันหุ้น - บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 มีกำไรสุทธิ 232.22 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.28 บาท ลดลง 56.39% เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 532.48 ล่านบาท กำไรต่อหุ้น 0.60 บาท

 

สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2567 มีกำไรสุทธิ 372.54 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.45 บาท ลดลง % เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 602.59 ล่านบาท กำไรต่อหุ้น 0.67 บาท

 

บริษัทชี้แจงว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย สำหรับไตรมาส 2/2567 งบการเงินรวมงวด 3 เดือน บริษัทมีรายได้รวมเท่ากับ 2,033 ล้านบาท มีกำไรสุทธิเท่ากับ 232 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัทมีรายได้ลดลง 250 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11 และมีกำไรสุทธิลดลง 300 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 56 (ไตรมาส 2/2566 บริษัทมีรายได้ 2,283 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 532 ล้านบาท) ทั้งนี้หากไม่รวมกำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัท เอ็ม พิศเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จ้ากัด (มหาชน) จำนวน 346 ล้านบาทในไตรมาส 2/2566 บริษัทจะมีกำไรมากกว่าไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 46 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 25 และมีสัดส่วนกำไรต่อรายได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 เป็น 11 และในไตรมาส 2/2567 บริษัทยังได้บริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ สรุปรายละเอียดรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่าย ดังนี้

 

รายได้

บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการสำหรับไตรมาส 22567 เท่ากับ 2,033 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งบริษัทมีรายได้เท่ากับ 2,283 ล้านบาท ลดลง 250 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11 สาเหตุหลักมาจาก ภาพยนตร์ที่ทำรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาพยนตร์ไทย อาทิ หลานม่า, อนงค์, เทอม 3 และภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่อง Godzilla x Kong : The New Empire ในขณะที่ ภาพยนตร์ที่ทำรายได้ไนไตรมาส 2/2566 ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศ อาทิ Fast and Furious X, Guardians of the Galaxy Vol. 3 Transformers Rise of the Beasts

 

ต้นทุนขาย

บริษัทมีต้นทุนขายและบริการรวม 1,309 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งบริษัทมีต้นทุนรวมเท่ากับ 1.532 ล้านบาท ลดลง 223 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 มาจากรายได้โรงภาพยนตร์ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงจากเดิมเท่ากับร้อยละ 67 เป็นร้อยละ 64

 

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารทั้งสิ้นจำนวน 585 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งบริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นจำนวน 531 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก

1. ค่าใช้จ่ายในการขายจำนวน 127 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท (ไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 125 ล้านบาท) มาจากค่าใช้จ่ายในการผลิต content ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น

2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5 (ไตรมาส2/2566 เท่ากับ 395 ล้านบาท) มาจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและค่าบริหารจัดการสาขา เนื่องจากมีสาขาที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ขาดทุนจากการปรับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจำนวน 37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30 ล้านบาท(ไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 7 ล้านบาท)

4. ตั้งประมาณการรายการด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาตรฐานบัญชี TFRS 9 จำนวน 6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท (ไตรมาส 2/2566 เท่ากับ 4 ล้านบาท)

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง