รีเซต

การบินไทย เปิดเผยภาพเครื่องบิน รอขึ้นบินในวันที่ "ฟ้าเปิด" อีกครั้ง

การบินไทย เปิดเผยภาพเครื่องบิน รอขึ้นบินในวันที่ "ฟ้าเปิด" อีกครั้ง
TNN ช่อง16
22 พฤศจิกายน 2563 ( 16:54 )
324
วานนี้ (21พ.ย.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก Thai Airways ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความโดยระบุว่า


ช่วงต้นปีที่ผ่านมาวิกฤต COVID-19 ทําให้สนามบินสุวรรณภูมิที่เคยสว่างไสว จอแจไปด้วยผู้คนนับหมื่นเข้า-ออก หมุนเวียนตลอด 24 ชั่วโมง เงียบเหงาแทบจะเป็นสนามบินร้าง เครื่องบินรุ่นต่างๆ จอดต่อแถวกันยาวเหยียดไปทั่วสนามบิน เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน



ในวันที่ “ฟ้าปิด” ผู้คนที่ทํางานในแวดวงการบินต่างแยกย้ายกันไป บ้างก็ทํางานจากที่บ้าน (Work From Home) บ้างก็ทํางานอดิเรกแก้เหงา บ้างก็ลงคอร์สเรียนเพิ่มทักษะ หรือทํางานใหม่เพิ่มรายได้ ค่อยๆปรับตัวปรับชีวิตเข้าสู่วิถีแบบใหม่(New Normal) ในขณะที่ชีวิตของพวกเราเปลี่ยนไป แล้วเครื่องบินที่ทุกๆวันเคยบินพาผู้คนมากหน้าหลายตาไปส่งทั่วโลก แต่ต้องจอดนิงสนิทเฝ้าสนามบินล่ะ 10 เดือนผ่านไปเค้าจะเป็นยังไง?



เครื่องบินที่มีแผนให้จอดนานๆ จะเปลี่ยนแผนซ่อมบํารุงตามปกติไปใช้แผนจอดระยะยาวที่เรียกว่า “Longterm Parking Maintenance” ตามคู่มือที่ออกแบบมาจากบริษัทผู้ผลิตอย่างแอร์บัสและโบอิ้งแทน โดยลักษณะงานจะแตกต่างกันไปตามเวลาที่เครื่องลํานั้นวางแผนให้จอด เช่น ถ้าจะจอด 7 วัน ก็เป็นงานทั่วไปพวกตรวจสภาพพื้นผิวภายนอก วัดและควบคุมค่าความชื้นในห้องโดยสาร ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม ปิดรูต่างๆรอบตัวเครื่องป้องกันนกหรือแมลงบินเข้าไป ทํารัง



แต่สําหรับลําที่กําหนดให้จอดเกินสัปดาห์ขึ้นไป (14/30/60/90/120/180 วัน) งานก็จะซับซ้อนและใช้ทักษะของช่างมากขึ้น เช่นหล่อลื่นข้อต่อข้อเหวี่ยงทุกจุด (ไล่ทั้งลําตั้งแต่หัวถึงหางกันเลย) เคลือบกันสนิมชิ้นส่วนโลหะภายนอก ใช้น้ำยาพิเศษเคลือบชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์หรือสตาร์ทเพื่อวอร์มอัพเครื่อง ใช้พลาสติกคลุมป้องกันความชื้น ถอดล้อออกมาตรวจเบรคแล้วหมุนเปลี่ยนมุมกันยางเบี้ยว หรือทดสอบ/สั่งปิดระบบการทํางานบางอย่าง เป็นต้น



งานเหล่านี้เป็นงานวนซ้ำที่ต้องกลับมาทําอีกครั้งเมื่อครบรอบเวลา เช่น ทุกๆ 7 วันช่างก็จะกลับมาทํา Package 7 Days ซํ้ากันใหม่อีกรอบ (14/30/60/90/120/180 รอบวันอื่นๆ ก็ทําซํ้าเช่นกัน) ตามที่กฎหมายและมาตรฐานการซ่อมบํารุงสากล
กําหนดไว้ เช่น FAAของอเมริกา EASAของยุโรป JAAของญีปุ่น ซึ่งคนที่รับผิดชอบทํางานเหล่านี้ก็คือ ทีมช่างเครื่องบิน และทีมวิศวกรของฝ่ายช่างฯ การบินไทยนั่นเอง

ถึงตรงนี้คงได้คําตอบกันแล้วนะครับ ว่า ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมานั้นเครื่องบินทั้ง 81 ลําของการบินไทย ไม่ได้โดนลืมหรือถูกทิ้งให้จอดเหงาเลย เพราะยังมีทีมช่างเครื่องบิน(ชุดม่วงๆ)คอยผลัดเปลี่ยนแวะเวียนกันไปดูแลตลอด เพื่อเตรียมเครื่องให้พร้อมเสมอ รอขึ้นบินในวันที่ ”ฟ้าเปิด” อีกครั้ง..



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง