รีเซต

ฉบับปรับปรุงใหม่! ป่วยโควิดต้องรู้ อาการขนาดไหน ได้ยาอะไร ต้องกินกี่วัน

ฉบับปรับปรุงใหม่! ป่วยโควิดต้องรู้ อาการขนาดไหน ได้ยาอะไร ต้องกินกี่วัน
TNN ช่อง16
14 กรกฎาคม 2565 ( 08:43 )
162
ฉบับปรับปรุงใหม่! ป่วยโควิดต้องรู้ อาการขนาดไหน ได้ยาอะไร ต้องกินกี่วัน

กรมการแพทย์ เผย แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 24 วันที่ 11 กรกฎาคม 2565  โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างาน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ


การรักษา COVID-19

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มี อาการและไม่แสดงอาการ แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี(Asymptomatic COVID-19)

-ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation)

-ให้ดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง

-อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์


2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมส าคัญและภาพถ่ายรังสีปอด

ปกติ(Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease)

- อาจพิจารณาให้ favipiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์

- หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่ จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน


3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมส าคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่ มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป

2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ

3) โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)

4) โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป รวมโรคหัวใจแต่ก าเนิด

5) โรคหลอดเลือดสมอง

6) เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

7) ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.)

8) ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)

9) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid equivalent to

prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วัน ขึ้นไป)

10) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.

แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิด โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดีให้ยาตาม ตารางที่ 1 โดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ ประวัติโรคประจ าตัว ข้อห้ามการใช้ยา ปฏิกิริยาต่อกันของยาต้าน

ไวรัสกับยาเดิมของผู้ป่วย (drug-drug interaction) และการบริหารเตียง ความสะดวกของการให้ยารวมถึง ปริมาณยาสำรองที่มี



ภาพจาก กรมการแพทย์

 


หมายเหตุ

*ลำดับการให้ยากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อ ดังนี้

1. Molnupiravir

2. Remdesevir

3. Nirmaltrevir/ritonavir

4. Favipiravir

**Remdesivir เป็นเวลา 3 วัน

ข้อควรระวังในการให้ยา

a. Nirmatrelvir/ritonavir และ Molnupiravir ในตารางที่ 2

b. การจัดลำดับการให้ยา พิจารณาจากปริมาณยาที่มีในประเทศ ประสิทธิภาพของยาในการลดอัตราการป่วยหนัก และอัตราตาย ความสะดวกในการบริหารยา และราคายา ข้อมูลปัจจุบัน Nirmaltrelvir/ritonavir มี

ประสิทธิภาพสูงสุด แต่มีราคาสูงที่สุด ส่วน favipiravir ไม่ช่วยลดอัตราการป่วยหนัก แต่ช่วยลดอาการได้ หากได้รับยาเร็วตั้งแต่วันแรกที่มีอาการในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ การเลือกใช้ยาใดกับผู้ป่วยรายใด

แพทย์อาจใช้ยาใดตามรายการข้างต้นนี้ก็ได้โดยพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าว สถานพยาบาลแต่ละแห่งในช่วง สถานการณ์อาจจะมีความแตกต่างกัน


4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤94% ปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการ และได้รับ oxygen

a) แนะนำให้ remdesivir โดยเร็วที่สุดเป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก ควรติดตามอาการของผู้ป่วย อย่างใกล้ชิด

b) ร่วมกับให้ corticosteroid ขนาดยา 



ภาพจาก กรมการแพทย์

 



การรักษา COVID-19 ในผู้ป่วยเด็กอายุ

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มี อาการและไม่แสดงอาการ ให้ใช้ยาในการรักษาจ าเพาะดังนี้ โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเหมือนผู้ใหญ่

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic COVID-19)

-แนะนำให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์


2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง (Mild symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors)

-แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน


3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4 (Mild symptomatic COVID-19 pneumonia but with risk factors) ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมส าคัญ ได้แก่ อายุน้อย กว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบกับความสูง (weight for height) มากกว่า +3 SD) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือด สมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ า โรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า

-แนะนำให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน อาจให้นานกว่านี้ได้หากอาการยังมาก โดยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม


4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) และมีหายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามก าหนดอายุ

(60 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง