รีเซต

ชัชชาติ คือใคร? ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม.2565 คนที่ 17

ชัชชาติ คือใคร? ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม.2565 คนที่ 17
TeaC
14 พฤษภาคม 2566 ( 09:17 )
86.6K
1

ข่าววันนี้ ชัชชาติ คือใคร? หรือนี่ไง รัฐมนตรีที่แกร่งที่สุดในปัฐพี เชื่อว่าหลายคนต้องคุ้นหูกับฉายานี้มาก่อน และปัจจุบันเขาคนนี้ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่ากทม 2565

 

ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ศึกเลือกตั้งผู้ว่ากทม.2565

 

วันนี้ TrueID จะพาไปเปิดประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครลงศึกชิงเก้าอี้เลือกตั้ง "ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" เป็นใครมาจากไหน อะไรทำให้เข้ากลับมาสู่เวทีการเมืองอีกครั้ง

 

ชัชชาติ คือใคร?

สำหรับประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หรือรองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เขามีชื่อเล่นว่า ทริป เป็นนักการเมืองและวิศวกรชาวไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2565 ก่อนหน้านนี้ ชัชชาติ เคย

  • เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  • อดีตผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ฉายา รัฐมนตรีที่แกร่งที่สุดในปัฐพี

เขามีสมญาที่ประชาชนตั้งให้ว่า บุรุษที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี รวมถึงเป็นคนที่สนิทสนมกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยที่เขาเคยเป็นสมาชิกก่อนหน้านี้อีกด้วย

 

ชีวิตครอบครัวของชัชชาติ

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นบุตรของพลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม: กุลละวณิชย์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา สองคนคือ

  • ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ - อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ. นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ - กรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2562-2564 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ทัวร์-พี่ฝาแฝด)

 

และชัชชาติ สมรสกับ ปิยดา อัศวฤทธิภูมิ พนักงานการบินไทย มีบุตรชายหนึ่งคน

 

ประวัติการศึกษา

ชัชชาติ สำเร็จการศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530

 

ส่องชีวิตการทำงานของชัชชาติ

เคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน

  • ปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์
  • ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555
  • เคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ บริษัทขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • ปี พ.ศ. 2551 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

 

เส้นทางการเข้าสู่แวดวงการเมือง

ชัชชาติในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์ จากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555

 

จากการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555

 

ชัชชาติในฐานะรัฐมนตรีคมนาคมถือเป็นบุคคลระดับหัวกะทิของรัฐบาลในด้านการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ เขาได้รับการกล่าวถึงในฐานะรัฐมนตรี "ดูโอเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลคู่กับกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ "ดูโอระบบราง" คู่กับประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯ ที่นโยบายของ ชัชชาติให้ความสำคัญกับการขนส่งระบบรางเป็นพิเศษ

 

ผลงานในช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรี อาทิ

  • การแก้แบบสถานีกลางบางซื่อให้รองรับรถไฟความเร็วสูง
  • การแก้แบบสายสีแดงเข้มจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง
  • การจัดซื้อจัดขบวนรถด่วนพิเศษ CNR จำนวน 8 ขบวน
  • การเปลี่ยนรางรถไฟในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด
  • ให้ข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไปนั่งรถเมล์มาทำงานแล้วรายงานปัญหา

 

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ชัชชาติเป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในปี 2558 - 2561 กรรมการ บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ และวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560 รัฐบาลทหารได้ตั้งเขาเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ชัชชาติชี้แจงว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน และยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

 

ลงชิงเก้าอี้ ผู้ว่ากทม.2565


เมื่อปี พ.ศ. 2562 ชัชชาติประกาศว่า เขาตั้งใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามอิสระ[16] โดยเน้นนโยบายด้านคน ระบบเส้นเลือดฝอย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ชัชชาติได้เปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อการรณรงค์หาเสียงว่า "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" โดยมีนโยบายสำคัญ อาทิ การสร้างเครือข่ายแผนที่จุดเสี่ยงอาชญากรรม พัฒนาระบบขนส่งมวลชน สร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งศิลปะและการเรียนรู้ เป็นต้น ทั้งนี้ พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ก็เป็นหนึ่งในทีมงานของชัชชาติด้วย[

 

ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันเปิดรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติขี่จักรยานจากบ้านพักมาถึงศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และจับสลากได้หมายเลข 8

 

4 แนวทางในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่ากทม 2565

 

1. ลดป้ายหาเสียง (Reduce) ลดขนาด-ลดจำนวน

จากการศึกษาเรื่องการหาเสียงเลือกตั้ง ป้ายหาเสียงยังคงมีความจำเป็นสำหรับประชาชนจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย ในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง แต่เราจะพยายามใช้ให้น้อยที่สุด

 

ป้ายหาเสียงส่วนใหญ่ของเราจะมี 2 ขนาด คือ 0.6 x 2.4 เมตรซึ่งมีความกว้างน้อยกว่าป้ายหาเสียงทั่วไปครึ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเท้า และขนาดเล็ก 0.6 x 0.8 เมตร สำหรับพื้นที่ชุมชน ซอยแคบ เพื่อไม่ให้กระทบการสัญจรของคนในพื้นที่ (ขนาดปกติ 1.2 x 2.4 เมตร มีบ้างในช่วงแรก)

 

ทีมงานเพื่อนชัชชาติจะพยายามใช้ป้ายให้น้อยที่สุด โดยตั้งเป้าว่าจะใช้ให้น้อยกว่า 50% ของจำนวนป้ายสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้สมัครทำได้

 

2. หมุนเวียน (Recycle) ป้ายไวนิลหาเสียง

ทางทีมงานไม่อยากให้ป้ายไวนิลหาเสียงกลายเป็นขยะหลังการเลือกตั้ง เราจึงทำ Pattern ไว้ เพื่อเราสามารถเก็บกลับมา นำไปตัดและเย็บกระเป๋า หรือผ้ากันเปื้อน ไว้ใช้ต่อในทีมของเราเองได้เลยในอนาคต (แนวคิดนี้ได้มาจาก กลุ่ม ใครกาX Kraikax ที่ได้ลองทำไว้แล้วตั้งแต่เมื่อปี 62)

 

3. นำกลับมาใช้ใหม่ (reuse) แผ่นพับหาเสียง

ทีมงานได้ออกแบบแผ่นพับหาเสียงในรูปแบบหนังสือพิมพ์ เมื่ออ่านแล้ว เอกสารฉบับดังกล่าวจะสามารถเป็นขยะที่นำมาเช็ดกระจก เช็ดซับความมันของเตา ขจัดความชื้นในตู้เสื้อผ้า ดับกลิ่นอับในรองเท้าและกระเป๋าก่อนถูกทิ้งได้

 

4. ลดก๊าซเรือนกระจก ลด PM2.5 โดย รถหาเสียงไฟฟ้า (EV)

ทีมงานจะพยายามใช้รถไฟฟ้าในการหาเสียงให้มากที่สุด เบื้องต้นมี จำนวน 23 คัน แบ่งเป็นรถเมล์ไฟฟ้า 2 คัน รถตุ๊กไฟฟ้า 5 คัน มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 7 คัน รถกระบะปิ้กอัพไฟฟ้า 1 คัน และรถยนต์ไฟฟ้าอื่น ๆ อีก 8 คัน เพื่อไม่ก่อมลพิษ ไม่เพิ่ม PM 2.5

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย, เพจเฟซบุ๊ก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง