ชาวลาวยินดี 'ทางด่วนจีน-ลาว' ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง เตรียมเปิดสัญจร
(แฟ้มภาพซินหัว : ทางด่วนจีน-ลาว ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง (ขวา) ถัดจากสะพานรถไฟจีน-ลาว ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว วันที่ 21 ต.ค. 2020)
เวียงจันทน์, 17 พ.ย. (ซินหัว) -- "นี่เป็นทางด่วนสายแรกของเราในลาว และเราหวังว่าอนาคตพื้นที่ส่วนอื่นในลาวจะมีถนนที่ดีแบบนี้ด้วย" คอนสะแหวง สิลาสง ชาวลาววัย 22 ปี จากเขตนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ของลาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทางด่วนจีน-ลาว ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง เปิดเผย
ทางด่วนจีน-ลาว มีจุดเริ่มต้นในเวียงจันทน์และสิ้นสุดที่บ่อเต็น ซึ่งเป็นเมืองชายแดนลาว-จีน มีความยาวประมาณ 440 กิโลเมตร ใช้มาตรฐานทางเทคนิคของจีนในการก่อสร้างและดำเนินงาน โดยแผนดำเนินการแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกันการก่อสร้างระยะแรกคือทางด่วนช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง ดำเนินงานโดยบริษัท อวิ๋นหนาน คอนสตรักชัน แอนด์ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิง กรุ๊ป จำกัด (YCIH) ของจีน ร่วมกับรัฐบาลลาว โดยงานสร้างเริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2018 ทางด่วนช่วงดังกล่าวจัดเป็นทางด่วนสายแรกของลาว และกำลังอยู่ระหว่างเตรียมเปิดให้สัญจรแล้วทางด่วนช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง เป็นทางด่วน 2 ทิศทาง 4 ช่องจราจร มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร และมาพร้อมความเร็วออกแบบ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงคอนสะแหวงร่ำเรียนภาษาจีนที่นครคุนหมิงทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและหวนกลับบ้านเกิดได้นานปีกว่าแล้ว เพื่อร่วมงานก่อสร้างและดำเนินงานของทางด่วนสายนี้ คอนสะแหวงกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อปลายเดือนตุลาคมว่าอดีตเธอจะขับรถจากเวียงจันทน์ไปวังเวียงกับครอบครัวบนถนนที่ "แตกต่าง" จากทางหลวงสายปัจจุบัน ซึ่งทั้งรวดเร็ว ปลอดภัย และมีคุณภาพดีเซย์ ลาวลี คนขับรถวัย 38 ปี จากแขวงพงสาลีทางตอนเหนือของลาว ซึ่งอยู่ห่างจากเวียงจันทน์ไปทางเหนือกว่า 730 กิโลเมตร ขับรถไปกลับเวียงจันทน์-วังเวียงมานานกว่า 7 ปีแล้ว เซย์รอการเปิดใช้ทางด่วนสายใหม่อย่างใจจดใจจ่อ เนื่องจาก "ก่อนหน้านี้ผมใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงเพื่อเดินทางไปวังเวียง แต่ (ทางด่วนสายใหม่) จะย่นเวลาเดินทางเหลือเพียงกว่า 1 ชั่วโมงเท่านั้น"เซย์หวังว่าทางหลวงรูปแบบเดียวกันนี้จะตัดผ่านบ้านเกิดของเขาด้วย "ผมจะได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดบ่อยๆ ตอนนี้ผมไปเยี่ยมพ่อแม่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาได้ไม่บ่อยนัก"ด้านหยางอวิ้น รองผู้จัดการโครงการวิศวกรรมของทางด่วนฯ ทำงานในโครงการนี้มาเกือบ 3 ปีแล้ว เขาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าอากาศที่ลาวค่อนข้างร้อนและมีฤดูฝนยาวนาน ทั้งยังขาดแคลนอุปกรณ์และแรงงานมีทักษะ ขณะที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ทำให้การจัดหาวัสดุเกิดความล่าช้า ซึ่งอุปสรรคทั้งหมดทั้งมวลล้วนเพิ่มความยากลำบากในงานก่อสร้าง ทว่าประสบการณ์ของทีมงานประจำโครงการและมาตรการดำเนินงานอันมีประสิทธิภาพได้ผลักดันการก่อสร้างให้คืบหน้าอย่างรวดเร็ว"ตอนนี้ฉันทำงานล่ามเป็นหลักและจะเข้าร่วมงานทางด่วนฯ อีกไม่นานนี้" ลินดา นูบัวลาพัน สาวน้อยชาวลาวที่เข้าร่วมโครงการทางด่วนฯ หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่นของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมากล่าวลินดาระบุกับผู้สื่อข่าวว่าเธอภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในงานก่อสร้างทางด่วนฯ และจะทำงานของตนให้ดีต่อไป "ลาวและจีนเป็นเพื่อนบ้านและหุ้นส่วนที่ดีต่อกัน ฉันหวังว่าทั้งสองประเทศและประชาชนจะร่วมมือกันสร้างอนาคตอันดีและสวยงามยิ่งขึ้น"
(แฟ้มภาพซินหัว : อุโมงค์ทางด่วนจีน-ลาว ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง ในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว วันที่ 27 ต.ค. 2020)
(แฟ้มภาพซินหัว : ทางด่วนจีน-ลาว ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว วันที่ 7 ต.ค. 2020)
(แฟ้มภาพซินหัว : ทางด่วนจีน-ลาว ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว วันที่ 6 ก.ค. 2020)
(แฟ้มภาพซินหัว : ทางด่วนจีน-ลาว ช่วงเวียงจันทน์-วังเวียง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว วันที่ 22 ต.ค. 2020)