รีเซต

สื่อนอกจับตาวันโหวตนายกฯ ชี้ ‘พิธา’ เผชิญความท้าทายครั้งใหญ่

สื่อนอกจับตาวันโหวตนายกฯ ชี้ ‘พิธา’ เผชิญความท้าทายครั้งใหญ่
TNN ช่อง16
13 กรกฎาคม 2566 ( 14:11 )
58

วันนี้ ( 13 ก.ค. 66 )บรรดาสื่อต่างประเทศ เฝ้าจับตาการพิจารณาโหวตเลือกพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย โดยเขาสามารถกวาดคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปได้มากกว่า 14 ล้านเสียง เอาชนะพรรคฝ่ายรัฐบาลเดิมได้ แต่ขณะเดียวกัน ก่อนหน้าที่จะถึงวันพิจารณาโหวตเลือกนายกฯ กกต. มีมติส่งคำร้องถึงศาลรัฐธรรมนูณ ชี้ พิธาขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. กรณีถือหุ้น ITV พร้อมสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

 

 

ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้สื่อต่างประเทศ รายงานถึงสถานการณ์การเมืองไทยว่า ผู้นำนักปฏิรูปของไทย กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนของการก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรัฐมนตรี 

 

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ความหวังในการส่งให้หัวหน้าพรรคก้าวไกล ก้าวขึ้นสู่ผู้นำประเทศกำลังถูกทดสอบอย่างหนัก และยังเป็นการทดสอบความสามัคคีของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล โดยพิธา เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ถูกเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวในวันนี้ แต่เขาต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ที่ต้องได้คะแนนเสียงให้ได้มากกว่ากึ่งหนึ่งของ 749 เสียงในรัฐสภา ซึ่งตอนนี้ พรรคร่วมรัฐบาลของเขามีทั้งหมด 312 เสียง แต่เขาจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียง ส.ว. บางส่วน เพื่อให้เขาได้รับคะแนนเสียง 376 เสียงในการเป็นนายกรัฐมนตรี  

 

ขณะเดียวกัน ยังรายงานว่า ค่าเงินบาทอาจมีความผันผวนมากกว่าปกติ ในช่วงที่รัฐสภามีการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นการปูทางไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลในเดือนหน้า 

 

ขณะที่ BBC รายงานว่า พิธากำลังเผชิญกับความท้าทายในนาทีสุดท้าย ซึ่งอาจทำให้เขาต้องขาดคุณสมบัติ และพ้นจากการเป็น ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของ กกต. โดยชี้ว่า ศาลกำลังประเมินคำร้องทั้ง 2 ข้อที่ร้องเรียนต่อห้วหน้าพรรคก้าวไกล ได้แก่ 1.กรณีถือหุ้นสื่อ อย่าง ITV แม้ว่าบริษัทดังกล่าวจะหยุดดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 15 ปี 2.การหาเสียงด้วยนโยบายแก้ไขมาตรา 112 

 

ขณะเดียวกัน Al Jazeera เผยว่า นับตั้งแต่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งทั่วไป พิธาต้องเผชิญกับคำร้องเรียนจำนวนมาก ซึ่งเดือนที่แล้ว กกต.ได้จัดตั้งคณะทำงานพิเศษ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของเขาในการเข้ารับตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดีนี้เมื่อไหร่

 

ด้านสื่อเอเชีย อย่าง Nikkei Asia วิเคราะห์ว่า ถ้าหากไม่มีผู้สมัครคนใด ได้รับเสียงข้างมาก รัฐสภาจะดำเนินการเลือกนายกฯ อีกครั้งในวันที่ 19 กรกฎาคม และพิธาจะได้รับการเสนอชื่ออีกครั้ง และคาดว่า พรรคอื่นอาจจะเสนอชื่อผู้ท้าชิงคนอื่นจากพรรคของพวกเขาเอง และถ้าครั้งที่ 2 จบลงโดยไม่มีใครได้คะแนนเสียงถึง 376 เสียง ประธานสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดเวลาในการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 3   

 

ส่วน CGTN เผยว่า พิธากำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบาก และถูกโจมตีครั้งใหญ่ก่อนวันพิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรีเพียง 1 วัน จากข้อร้องเรียนทั้ง 2 ข้อ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่งผลกระตุ้นให้ประชาชนหลายร้อยคนออกมารวมตัวกันบริเวณสกายวอล์ค หน้าหอศิลปวัฒนธรรม เพื่อแสดงพลังสนับสนุนพิธา และชี้ว่า หากครั้งนี้ พิธาไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงในการเป็นนายกฯ คนที่ 30 ได้ พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องตัดสินใจว่า จะทำการส่งพิธาเข้าสู่การพิจารณาครั้งต่อไปอีกหรือไม่ในสัปดาห์หน้า หรือจะส่งแคนดิเดตคนอื่น ซึ่งนับว่า จะเป็นการทดสอบความสามัคคีพรรคร่วมรัฐบาลในการจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป

 

ภาพจาก : AFP 

 

 

บทความเกี่ยวกับการ โหวตนายก

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง