รีเซต

ความดันตาสูง ภัยเงียบ "โรคต้อหิน" แนะหมั่นสังเกตความผิดปกติ

ความดันตาสูง ภัยเงียบ "โรคต้อหิน" แนะหมั่นสังเกตความผิดปกติ
TNN ช่อง16
9 กรกฎาคม 2567 ( 14:32 )
33
ความดันตาสูง ภัยเงียบ "โรคต้อหิน" แนะหมั่นสังเกตความผิดปกติ

ภาวะความดันตาสูง คือ ความดันของของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ภายในลูกตา ซึ่งโดยปกติคนไทยมีค่าความดันตาเฉลี่ยอยู่ที่ 13.2-21 มิลลิเมตรปรอท หากค่าความดันตาสูงผิดปกติหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดต้อหินได้ ซึ่งโรคต้อหินเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นและเป็นการสูญเสียแบบถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้





โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดจากภาวะความดันตาสูงผิดปกติ ได้แก่


-ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป

-มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นต้อหินได้ 4-5 เท่า

-มีค่าความดันตา มากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท 

-มีสายตาสั้น

-ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

-ผู้ที่ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์




สำหรับวิธีการป้องกันโรคต้อหินง่าย ๆ ด้วยการตรวจวัดความดันตาเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป , ปรึกษาจักษุแพทย์ หากมีอาการผิดปกติทางสายตา เช่น เห็นภาพมัว ลานสายตาแคบลง เห็นแสงไฟจ้า


ควบคุมโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และดูแลสุขภาพ ทานอาหาร ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการวินิจฉัยให้ถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยการเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ปีละครั้ง




นอกจากนี้ยังข้อมูลมาแนะนำและให้สังเกตดวงตาของตัวเอง เพราะสีของด้วยตาอาจบ่งบอกได้ว่าป่วยหรือมีโรคซ่อนอยู่




-หากดวงตามีสีเหลือง เสี่ยงเป็นโรคตับหรือดีซ่าน 

-ตามีสีขาว เสี่ยงเป็นโรคต้อกระจก 

-ตามีสีแดง เสี่ยงเป็นเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ อาการภูมิแพ้ หรือการอักเสบภายในลูกตา หรืออาจเป็นโรคตาแดง 



สำหรับอาการผิดปกติกับดวงตาที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่


-หากเห็นภาพซ้อน ตาเข ตาเหล่ อาการนี้อาจเป็นอาการของโรคทางสมองได้ ซึ่งอาจเกิดจากเส้นประสาทสมองที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติไป 

-หากการมองเห็นลดลงหรือตามัวอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หลอดเลือดแดงที่ตาอุดตันฉับพลัน ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ภายใน 90 นาที

-อาการหนังตาตก อาจรบกวนการมองเห็นได้ หากเป็นตั้งแต่เด็กและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ ในกรณีผู้สูงอายุจะส่งผลให้มองเห็นลำบาก 

-และกรณีตาคล้ำ ซึ่งบางคนไม่ได้เกิดจากการอดนอน แต่อาจเป็นเพราะการไหลเวียนของน้ำเหลืองบริเวณใบหน้าไม่ดีส่งผลให้ขอบตาดูคล้ำลง 



ข้อมูล : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ , ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ภาพ : ทีมกราฟิก TNN 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง