รีเซต

ภาพกาแล็กซีก้นหอยซ้อนกัน จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

ภาพกาแล็กซีก้นหอยซ้อนกัน จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
TNN ช่อง16
16 กันยายน 2565 ( 00:48 )
217

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ซึ่งเป็นภาพถ่ายของกาแล็กซีก้นหอยเอสดีเอสเอส เจ115331 (SDSS J115331) และลีด้า 2073461 (LEDA 2073461) ห่างออกไปมากกว่าหนึ่งพันล้านปีแสง ที่ซ้อนทับกันอยู่ ราวกับว่ามันกำลังหลอมรวมเข้าด้วยกัน โดยนักดาราศาสตร์ชี้ว่าการเรียงตัวของกาแล็กซีทั้งสองน่าจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ทั้งสองไม่มีปฏิสัมพันธ์กันจริง ๆ

มันไม่ได้กำลังชนกัน 

สำหรับข้อแตกต่างที่ทำให้ชี้ได้ว่าทั้งสองกาแล็กซีนี้ไม่ได้กำลังหลอมรวมกันจริง ๆ ก็คือ โดยปกติในขณะที่กาแล็กซีกำลังจะชนกัน แรงโน้มถ่วงระหว่างทั้งสองจะดึงดูดดาวฤกษ์และก๊าซที่อยู่รอบนอกของแต่ละกาแล็กซีให้กระจายออก ทำให้ดูคล้ายกับมีสะพานเชื่อมทั้งสองกาแล็กซีเข้าด้วยกัน และในระยะต่อมาจะเกิดหางจากแรงไทดัล หรือก๊าซและฝุ่นที่กระจายออกเป็นทางยาว แล้วตวัดกลับไปรวมกันอยู่รอบแกนของกาแล็กซีทั้งสอง ซึ่งในภาพถ่ายดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถชี้ได้ว่ากาแล็กซีในภาพไม่ได้กำลังจะชนกัน


กาแล็กซีซู (Galaxy Zoo) 

ซึ่งรูปภาพดังกล่าวเป็นหนึ่งในรูปภายในโครงการกาแล็กซีซู (Galaxy Zoo) อันเป็นโครงการรวบรวมรูปภาพและจัดกลุ่มกาแล็กซีจากอาสาสมัครหลายแสนคน ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2007 โดยอาสาสมัครเหล่านี้มักเป็นคนกลุ่มแรกที่ค้นพบวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ใหม่ ๆ


กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล 

สำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือขององค์การนาซา (NASA) และองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ปี 1990 ทำให้ปัจจุบันมันมีอายุกว่า 32 ปี แล้ว และมีการส่งนักบินอวกาศไปทำสเปซวอร์ก (Spacewalk) เพื่อทำการบำรุงและซ่อมแซมมาแล้วถึง 6 ครั้ง ซึ่งการทำสเปซวอร์คเป็นภารกิจที่เสี่ยงอันตรายสำหรับนักบินอวกาศค่อนข้างมาก ทำให้มันมีแผนจะถูกปลดประจำการภายในปี 2030


ข้อมูลและภาพจาก esahubble.org

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง