รีเซต

เช็ก "อาการฝีดาษลิง" หลังไทยพบผู้ติดเขื้อ "โรคฝีดาษลิง" (Monkeypox) รายแรกที่ภูเก็ต ติดจริง มีอาการอย่างไร

เช็ก "อาการฝีดาษลิง" หลังไทยพบผู้ติดเขื้อ "โรคฝีดาษลิง" (Monkeypox) รายแรกที่ภูเก็ต ติดจริง มีอาการอย่างไร
Ingonn
22 กรกฎาคม 2565 ( 12:14 )
235

ฝีดาษลิงเข้าไทย "โรคฝีดาษลิง" หรือ Monkeypox เป็นโรคสัตว์สู่คน ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ถูกพบครั้งแรกในไทยที่จังหวัดภูเก็ต โดยผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในไทย เดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย วันนี้ TrueID จึงจะพามาเช็ก "อาการโรคฝีดาษลิง" หากติดฝีดาษลิงจะมีอาการอย่างไร โดยเทียบจากผู้ป่วยที่เข้าไทยรายแรก

 

รู้จัก "โรคฝีดาษลิง "

ฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร เป็นโรคสัตว์สู่คน ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus มักมีรายงานผู้ป่วยในประเทศแถบแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก ส่วนสัตว์รังโรค ยังไม่มีความรู้ที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะสัตว์กัดแทะและลิง ส่วนระยะฟักตัว ตั้งแต่วันที่สัมผัสถึงวันเริ่มป่วยอยู่ที่ 5-21 วัน ฝีดาษลิงมี 2 สายพันธุ์ คือ

  • สายพันธุ์ West African clade ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 1 
  • สายพันธุ์ Central African clade ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 10

 

อาการฝีดาษลิง

ผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC)⁣

 

อาการฝีดาษลิง ตามระยะเวลา

  • วันที่ 0-5 จะมีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
  • วันที่  1-3 วันหลังมีไข้ จะมีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่วนใหญ่ 95% ของผู้ป่วยจะมีผื่นที่หน้า และ 75% มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก 70%  และอวัยวะเพศ 30%  

 

ลักษณะผื่น ตามอาการฝีดาษลิง

ลักษณะของผื่นจะพัมนาไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง(Maculopapular) ตุ่มน้ำใส (Vesicles)  ตุ่มหนอง(Pustules) และสะเก็ต(Crust)  โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้งและร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้

 

ภาพจาก www.hfocus.org

 

ติดฝีดาษลิง อันตรายแค่ไหน

โรคฝีดาษลิง ส่วนใหญ่หายเองได้ แต่สามารถพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ อย่างเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือกลุ่มมีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

 

ฝีดาษลิง ติดต่อกันอย่างไร

  • การติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  • การติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งสมมติฐานว่า โรคฝีดาษลิงอาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ

 

สถานการณ์ฝีดาษลิงในไทย

การค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และควบคุมโรค

  • พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย เป็นเพื่อนกับผู้ป่วย ไม่มีอาการป่วยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบการติดเชื้อฝีดาษวานร
    อยู่ระหว่างการสังเกตอาการตนเอง 21 วัน
  • พบผู้ที่มีอาการไข้ เจ็บคอ จำนวน 6 ราย จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากสถานบันเทิง 2 แห่งที่ผู้ป่วยเคยไปใช้บริการ รวม 142 คน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4 ราย ไม่พบการติดเชื้อฝีดาษวานร ให้ติดตามสังเกตอาการตนเอง 21 วัน
  • ค้นหาผู้สัมผัสในโรงแรม และสถานบันเทิง แห่งอื่นเพิ่มเติมรวมทั้งการกำจัดเชื้อในห้องพักในคอนโดที่พักของผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวกับสถานบันเทิง และผู้ใช้บริการ

 

มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิง ประเทศไทย

  • เฝ้าระวัง คัดกรอง ผู้ป่วยสงสัยฯ ในสถานพยาบาลทุกแห่ง คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ (สนามบินนานาชาติ และเก็บตัวอย่างส่งตรวจฯ เพื่อยืนยันการติดเชื้อ 2 แห่ง
  • การสอบสวน และควบคุมโรค เน้นผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการแยกกัก รวมทั้งขณะรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากพบผู้ป่วยยืนยันจำเป็นต้องได้รับการรักษา และแยกกักในรพ./ห้องแยกโรค จนพ้นระยะปลอดการแพร่โรค
  • กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ผู้ที่มีประวัติสัมผัสโดยตรงกับตุ่มฝืนของผู้ป่วย รวมทั้งเสื้อผ้า สิ่งของของผู้ป่วย ให้เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 21 วัน หากเริ่มมีอาการไข้ ไอ ตุ่มผืนขึ้นให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษา รวมทั้งเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 

ผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิง ที่พบในไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต เพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น⁣


นายแพทย์โอภาส ขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มงวด ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตามที่ได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565

 

 

 

ข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข , Hfocus

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง