ลดหย่อนภาษี ปี 2564 ด้วยกองทุน RMF-SSF-ประกันชีวิต เลือกแบบไหน?
เช็กข้อมูลลดหย่อนภาษีประจำปี 2564 สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อกองทุน RMF-SSF ประกันชีวิต มาลดหย่อนภาษีได้มากน้อยแค่ไหน เลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี เช็กได้ที่นี่!!
ใกล้สิ้นปีหลายคนน่าจะเตรียมวางแผนเพื่อ ลดหย่อนภาษี กันบ้างแล้ว เพราะจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าที่เมื่อถึงปลายปีก็จะมีรายจ่ายเรื่องภาษีเข้ามามากมาย ซึ่งก็มีหลายๆค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุน RMF, SSF ที่ล่าสุดได้มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา วันนี้ TNN Online จึงได้รวบรวมรายละเอียด รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆมาฝาก เผื่อว่าจะเป็นแนวทางและข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางแผนลดหย่อนภาษีในรอบปี 2564 ที่จะถึงนี้
กองทุนรวม
อย่างแรกเลยคือการซื้อ กองทุนรวม โดยมีอยู่ 2 ประเภทที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่
1. กองทุนรวมเพื่อการออม SSF (Super Savings Fund) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมให้มีระยะยาวขึ้น เรามีสิทธิซื้อกองทุน SSF เพื่อใช้ ลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และจะต้องถือครองเป็นระยะเวลา 10 ปีปฏิทิน โดยในเบื้องต้นกองทุน SSF จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับผู้ที่ลงทุนตั้งแต่ปี 2563-2567 หลังจากนั้นจะถูกประเมินและทบทวนอีกครั้งโดยกระทรวงการคลัง ส่วนเงื่อนไขการลงทุน ปีไหนซื้อปีนั้นได้ลดหย่อน และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อลงทุนครบ 10 ปี ปฏิทิน
2. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund) โดยกองทุนนี้จะเป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม สำหรับเป็นเงินออมที่รองรับชีวิตหลังเกษียณ โดยได้มีการปรับหลักเกณฑ์ใหม่ มีผลตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ให้สามารถซื้อกองทุน RMF เพื่อใช้สิทธิในการ ลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการลงทุน ให้เป็นไปตามที่แต่ละกองทุนกำหนด แต่เงื่อนไขการลงทุนต่อเนื่องทุกปี และเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ยังคงเหมือนเดิม ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และถือครองไม่ต่ำกว่า 5 ปีเต็ม
ประกันชีวิตหรือ ประกันสุขภาพ
การซื้อ ประกันชีวิต จะมี 2 ประเภทหลักๆ ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. ประกันชีวิตทั่วไป แบบประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้นั้นต้องเป็นแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองชีวิตตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เราสามารถนำเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท โดยนับรวมเบี้ยประกันภัยในส่วนสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ (ถ้ามี) ได้สูงสุด 25,000 บาท (เริ่มตั้งแต่ปีภาษี 2563)
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกันชีวิตแบบนี้มอบความคุ้มครองชีวิตและมอบเงินคืนเป็นงวดๆ หลังจากที่เราเกษียณไปแล้ว เราสามารถนำเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และหากเราไม่ได้ซื้อประกันชีวิตทั่วไป ก็สามารถใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท
ทีนี้หากเราจะนำกองทุนหรือประกันชีวิตที่ซื้อไปหัก ลดหย่อนภาษี ได้ รวมไปถึงกองทุนเพื่อการออมต่างๆ อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กอช. เป็นต้น นั้น มีเงื่อนไขอยู่ว่า เมื่อนับรวมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่จะหักลดหย่อนแล้ว จะต้องไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันชีวิตหรือ ประกันสุขภาพ
การซื้อ ประกันชีวิต จะมี 2 ประเภทหลักๆ ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. ประกันชีวิตทั่วไป แบบประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้นั้นต้องเป็นแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองชีวิตตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เราสามารถนำเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท โดยนับรวมเบี้ยประกันภัยในส่วนสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ (ถ้ามี) ได้สูงสุด 25,000 บาท (เริ่มตั้งแต่ปีภาษี 2563)
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกันชีวิตแบบนี้มอบความคุ้มครองชีวิตและมอบเงินคืนเป็นงวดๆ หลังจากที่เราเกษียณไปแล้ว เราสามารถนำเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และหากเราไม่ได้ซื้อประกันชีวิตทั่วไป ก็สามารถใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท
ทีนี้หากเราจะนำกองทุนหรือประกันชีวิตที่ซื้อไปหัก ลดหย่อนภาษี ได้ รวมไปถึงกองทุนเพื่อการออมต่างๆ อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กอช. เป็นต้น นั้น มีเงื่อนไขอยู่ว่า เมื่อนับรวมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่จะหักลดหย่อนแล้ว จะต้องไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท