รีเซต

2 กรกฎาคม 2540 ยังจำได้ไหม? วิกฤตต้มยำกุ้ง รุนแรงขนาดไหน

2 กรกฎาคม 2540 ยังจำได้ไหม? วิกฤตต้มยำกุ้ง รุนแรงขนาดไหน
TeaC
2 กรกฎาคม 2564 ( 16:34 )
637
2 กรกฎาคม 2540 ยังจำได้ไหม? วิกฤตต้มยำกุ้ง รุนแรงขนาดไหน

2 กรกฎาคม 2540 ยังจำกันได้ไหม? เกิดอะไรขึ้น วันนี้จะพาย้อนไปสู้จุดเริ่มต้นวิกฤตต้มยำกุ้ง 40 วิกฤตเศรษฐกิจของไทยที่รุนแรงไม่น้อยหน้ากว่าสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 แต่อาจจะแตกต่างตรงที่โควิดส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทุกประเทศ ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ทุกอาชีพ รวมทั้งภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว ฯลฯ 

 

สำหรับจุดเริ่มต้น วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน ส่งผลกระทบหลายประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน

 

ประเทศไทยเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง 40 โดย ธนาคารแห่งผระเทศไทย (ธปท.) ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นข่าวใหญ่ที่สั่นสะเทือบันทึกประวัติศาสตร์ไทย เกิดขึ้นในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นั่งเก้าอี้นายัรัฐมนตรี นายทนง พิทยะ นั่งหัวเรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายเริงชัย มะระกานนท์ นั่งตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 

 

โดยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในเวลานั้น เปลี่ยนจากการผูกค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในระบบ Pegged Exchange Rate มาเป็นระบบลอยตัวแบบมีการจัดการ หรือ Managed Float หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักจากกองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายครั้ง ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงจาก 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 2.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำไปสู่การปิดตัวของ 58 ไฟแนนซ์ ธนาคารอีก 6 แห่ง บริษัทเอกชนหลายรายต้องล้มละลาย เนื่องจากปัญหาหนี้สิน

 

จนในที่สุดทำให้รัฐบาลไทยต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ด้วยมูลค่าเงินกู้ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำเป็นต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น งบประมาณแผ่นดินต้องตั้งเกินดุล 1% ของ GDP ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเพิ่มจาก 7% เป็น 10% หรือเงื่อนไขที่ระบุให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งวิกฤตในครั้งนั้น นับได้ว่าสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก รวมถึงส่งผลไปยังภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชีย จนถูกขนานนามว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง"

 

ขณะที่ การอุบัติขึ้นของโรคระบาดใหม่อย่างไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด- 19 ในแง่ความเหมือนกันคือ ทั้งวิกฤตต้มยำกุ้งและวิกฤตโควิดนั้น ทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของไทยตกต่ำลง และการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจนั้นจะใช้เวลายาวนานแค่ไหนคงบอกไม่ได้ แต่หากวิเคราะห์ในแง่การฟื้นตัวมาเป็นปกติในยุควิกฤตต้มยำกุ้งนั้นคงต้องแยกเป็นที่มิติ อาทิ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นสัญญาณบวกอีกครั้ง ก็สามารถตอบได้ว่า เศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกในปี 1999 หรือเพียง 2 ปีจากวันที่เกิดวิกฤต เป็นต้น

 

ส่วนสถานการณ์โควิดที่ส่งผลกระทบทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันเริ่มทยอยขยับขึ้นจำนวนสูง รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตที่เริ่มแตะ 60 กว่า ซึ่งก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเราทุกคนจะผ่านพ้นวิกฤตโควิดได้เมื่อไหร่ ต้องใช้ระยะเวลายาวนานแค่ไหน อาจจะต้องมองในแง่ของวัคซีนที่ถูกคิดค้นขึ้น ประสิทธิภาพที่จะรับมือกับการกลายพันธุ์ของวายร้ายโควิด กระบวนการผลิตที่ทันต่อประชากรทั่วโลก ไปจนถึงประชาชนได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีได้มากเท่าไหร่ 

 

เมื่อนั้นคงคาดคะเนได้ว่าประเทศไทยจะเริ่มฟื้นตัวในทุกมิติ หรือทยอยฟื้นตัวในมิติแต่ละด้าน เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เราทุกคนหรือคนทั่วโลกต่างต้องรับมือกับสงคราม "โรคโควิด" ที่ต้องร่วมมือในหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่ต้องเข้มงวดกับการใช้ชีวิตในยุค New Normal ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างทางสังคม งดไปพื้นที่เสี่ยงหรือชุมชนที่มีผู้คนแออัด ฯลฯ

 

ส่วนภาครัฐและระบบสาธารณสุขต้องคุมเข้ม เข้มงวด พร้อมบริหารจัดการการจัดสรรวัคซีนให้ตรงตามกรอบของเวลา การวิจัย การทดลองที่ต้องได้มาตรฐาน พร้อมการร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อที่จะได้ควบคุมโควิดก่อนที่วายร้ายดังกล่าวจะเริ่มกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงกว่าเดิม

 

เพราะสงคราม "โรคโควิด" ในครั้งนี้ เมื่อเทียบกับ "วิกฤตต้มยำกุ้ง" อาจเป็นไปได้ที่ใช้เวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยที่ใช้เวลาไม่ใช่น้อย ๆ แต่ถ้าร่วมมือกันไม่มีอะไรที่จะทำไม่ได้ 

 

 

ส่องวลีในยุค "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ที่ต้องรู้

 

1. ต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่ต่างชาตินิยม เมื่อพูดถึงประเทศไทยจะนึกถึงอาหารอย่าง "ต้มยำกุ้ง" เมื่อเกิดวิกฤตก็จะมาเป็นชื่อเรียกว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" นั่นเอง  

 

2. ลอยค่าเงินบาท หรือเรียกว่า ลดค่าเงินบาท จากเดิมอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทคงที่ 25 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสูงสุด 56 บาท/ดอลลาร์ (ม.ค. 2541) ซึ่งรัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งตรงกับวันนี้ 2 กรกฎาคม 2564

 

3. จอร์จ โซรอส (George Soros) ฉายาพ่อมดการเงิน ผู้บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ผู้ถูกกล่าวหาว่าโจมตีค่าเงินบาทและอีกหลายสกุลในเอเชีย 

 

4. ฟองสบู่ หรือที่เราเคยได้ยิน ยุคฟองสบู่แตก สื่อถึงการที่ราคาสินทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ถูกปั่นราคา มีการแย่งกันซื้อทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเกิดความเป็นจริง เมื่อมีข่าวหรือเกิดเปลี่ยนแปลงก็แย่งขายทำให้ราคาตกลงมาอย่างรวดเร็ว

 

5.  ลอยแพพนักงาน เปิดท้ายขายของคนเคยรวย วลีเด็ดในสมัยนั้น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทล้มละลายจะต้องปิดกิจการทำให้มีการปลดพนักงานจำนวนมาก คนรวยกลายเป็นคนจน เจ๊ง จนต้องทยอยนำสินทรัพย์ออกมาเร่ขาย ที่เรียกกันว่า เปิดท้ายขายของ เพื่อให้มีเงินทุนในการดำรงชีพกันต่อไป

 

2 กรกฎาคม 2540 ยังจำได้ไหม? วิกฤตต้มยำกุ้ง รุนแรงขนาดไหน

 

 

ข้อมูล : posttoday, วิกิพีเดีย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง