รีเซต

คุณติดหรือยัง? เช็กอาการ ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 แตกต่างอย่างไร

คุณติดหรือยัง? เช็กอาการ ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 แตกต่างอย่างไร
TNN ช่อง16
23 ธันวาคม 2563 ( 13:08 )
777
คุณติดหรือยัง? เช็กอาการ ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 แตกต่างอย่างไร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ยังคงระบาดต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้พบว่าบางคนเริ่มมีอาการเจ็บป่วย แต่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็น "ไข้หวัดใหญ่" หรือ "โควิด-19" หรือไม่ วันนี้ TNN แยกอาการความแตกต่างมาให้สังเกตกัน

ไข้หวัดใหญ่ > เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza virus สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันตามสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ คือ เอ บี และซี โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอจะมีความรุนแรงมากที่สุด

โรคโควิด-19 > ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ "โควิด-19" เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ไวรัสชนิดนี้ มีความเป็นไปได้ที่มีสัตว์เป็นแหล่งรังโรค ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย 


ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 อาการแตกต่างอย่างไร?

ไข้หวัดใหญ่

- มีไข้สูง 39-40 องศา

- คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้งๆ

- เจ็บคอ และคอแดง

- ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

- ปวดศีรษะรุนแรง

- เบื่ออาหาร คลื่นไส้

โรคโควิด-19

- มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา

- ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานติดต่อกันมากกว่า 4 วัน

- บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย

- หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ มีไอร่วมด้วย ในบางรายรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ หรือปอดบวม

- ปวดเมื่อยตามตัว ทานอาหารไม่ค่อยได้

- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส


ความรุนแรงของโรค ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19

ไข้หวัดใหญ่> ในรายที่อาการรุนแรง มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน ซึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ระบบอื่นๆ ด้วย เช่น พบอาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ หรือมีอาการหัวใจวาย ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง ระบบหายใจ มีหลอดลมอักเสบและปอดบวม ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางราย มีอาการไอ และปวดตามตัวนานถึง 2 สัปดาห์ ในรายที่เสียชีวิตมักมีอาการปอดบวม และโรคหัวใจ

โรคโควิด-19 > พบอาการปอดอักเสบอันนำไปสู่การเสียชีวิต ซึ่งความรุนแรงของโรคนี้จะแตกต่างกันตามความแข็งแรงของแต่ละคน โดย "ช่วงอายุ" ของผู้มีอาการป่วยจากโควิด-19 ก็มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตด้วย กล่าวคือ  กลุ่มอายุ 10-19 ปีมีโอกาสต่ำมาก กลุ่มอายุ 50-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูง และ กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก ผู้ป่วยช่วงอายุนี้ 100 คน จะมีอัตราเสียชีวิตถึง 15 คน


ใครมีสิทธิ์ตรวจ หาเชื้อโควิด-19 ฟรี!

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 เผย หากมีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการโควิด-19 ได้แก่ เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือ พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง , ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือ พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง, สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยยืนยัน, เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

โดยจะต้องมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ นํ้ามูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส สามารถเข้ารับการตรวจรักษา ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ สอบถามเพิ่มเติม โทร 1330 สายด่วน สปสช.

หากใครไม่แน่ใจ ลองทำ "แบบประเมินความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19" ได้ที่ลิงก์นี้ covid19.rajavithi.go.th

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค 

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง