จีนเผยภาพถ่ายแรกจาก 'กล้องโทรทรรศน์สนามกว้าง' ตัวใหม่
ซีหนิง, 18 ก.ย. (ซินหัว) -- กล้องโทรทรรศน์ถ่ายภาพสนามกว้างที่สามารถสำรวจท้องฟ้าในซีกโลกเหนือทั้งหมด เริ่มเปิดดำเนินงานเมื่อวันอาทิตย์ (17 ก.ย.) ในมณฑลชิงไห่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และมีการเผยแพร่ภาพถ่ายแรก ซึ่งเป็นภาพของกาแล็กซีแอนดรอเมดา (Andromeda Galaxy) ที่อยู่ห่างออกไปกว่า 2 ล้านปีแสงกล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และหอดูดาวจื่อจินซาน สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน โดยถือเป็นอุปกรณ์สำรวจโดเมนเวลาขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกเหนือในขณะนี้รายงานระบุว่าเป็นเรื่องยากที่กล้องโทรทรรศน์ทางดาราศาสตร์ที่มีอยู่เดิมจะจับภาพกาแล็กซีแอนดรอเมดาและบริเวณโดยรอบได้อย่างแม่นยำและครบถ้วนในเวลาเดียวกัน เนื่องจากขนาดที่กว้างใหญ่ของกาแล็กซีดังกล่าวบนผืนฟ้าอย่างไรก็ดี กล้องโทรทรรศน์ฯ ซึ่งผสมผสานมุมมองกว้างเข้ากับศักยภาพการจับภาพความละเอียดสูง ได้ผลิตภาพหลากสีของกาแล็กซีแอนดรอเมดาและบริเวณโดยรอบจำนวน 1 ภาพ ที่สร้างโดยใช้ภาพถ่าย 150 รูปที่บันทึกไว้ตลอดการสังเกตการณ์หลายคืนกล้องโทรทรรศน์ฯ ตัวนี้ที่สามารถสำรวจท้องฟ้าซีกโลกเหนือทั้งหมดได้ทุกๆ สามคืน คาดว่าจะช่วยนักวิทยาศาสตร์เฝ้าติดตามเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และการวิจัยการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของโดเมนเวลา อีกทั้งคาดว่าจะพัฒนาการเฝ้าติดตามวัตถุใกล้โลกและศักยภาพการแจ้งเตือนล่วงหน้าของจีนอนึ่ง กล้องโทรทรรศน์ข้างต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เมตร และตั้งอยู่ในตำบลเหลิ่งหู ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยราว 4,200 เมตร โดยตำบลแห่งนี้เป็นที่รู้จักในนาม "ค่ายดาวอังคาร" (Mars Camp) ของจีน เนื่องจากภูมิประเทศแบบทะเลทรายที่ถูกกัดเซาะ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับพื้นผิวของดาวอังคาร