รีเซต

เปิดเมือง- เปิดร้าน ปัจจัยเข็มทิศ ชี้อนาคตธุรกิจร้านอาหาร มีอะไรบ้าง?

เปิดเมือง- เปิดร้าน ปัจจัยเข็มทิศ ชี้อนาคตธุรกิจร้านอาหาร มีอะไรบ้าง?
TNN ช่อง16
28 พฤษภาคม 2565 ( 15:54 )
213

การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ต้องยอมรับว่ากระทบไปในวงกว้างต่อบรรดาภาคธุรกิจต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร จากเอฟเฟคการปิดเมือง ประกาศห้ามทานอาหารที่ร้าน เป็นระเบิดลูกใหญ่ที่ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารล้มหายตายจากไปก็มี  


โดยสิ่งที่บรรดาร้านอาหารทำได้คือต้องปรับตัว จากเดิมที่บางร้านยังไม่เคยเเข้าแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ก็ต้องทำแล้ว เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคบีบให้ต้องเบนเข็ม เพิ่มช่องทางเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด ซึ่งบริการเดลิเวอรี่ก็กลายเป็นช่องทางหลักในช่วงสถานการณ์โควิดจริงๆ เพราะปริมาณออเดอร์และยอดขายพุ่งขึ้นชัดเจน

ยุคสมัยของฟู้ดเดลิเวอรี่ เรียกได้ว่าเปลี่ยนผ่านมาถึง 3 ช่วง กว่าจะถึงในยุคที่ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด คุณกิตติเชษฐ์ สถิตย์นพชัย  ผู้ช่วยรองประธานบริหารกลุ่มการตลาด เดอะ พิซซ่า คอมปะนี   เล่าว่า ในช่วงที่สถานการณ์โควิดมาในระลอกแรกเป็นสถานการณ์ที่ผู้ประกอบการทุกธุรกิจปรับตัวกันยกใหญ่ และผลกระทบก็ไปในทุกธุรกิจ ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจอาหารเท่านั้น  ในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ลูกค้าให้ความสำคัญกับความสะอาด โปร่งใส ชัดเจน และอาศัยความเชื่อใจในทุกขั้นตอน เป็นการเพิ่มแวลูใหม่ให้ตลาด ที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากเชื้อโรคมากขึ้น จากเดิมที่จะแข่งขันในเรื่องของความรวดเร็วของการจัดส่งภายใน 30 นาที ความสะดวกในการสั่ง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนเกมของตลาดเดลิเวรี่อย่างเห็นได้ชัด  

กิตติเชษฐ์ สถิตย์นพชัย  ผู้ช่วยรองประธานบริหารกลุ่มการตลาด เดอะ พิซซ่า คอมปะนี

ภาพประกอบจาก : JC&CO พีอาร์ เดอะพิซซ่า คอมปะนี


วิวัฒนาการของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ก่อนเข้าสู่ยุคเฟื่องฟู 

  • ก่อนปี 2000 เป็นยุคที่มีบริการสั่งเฉพาะการโทรสั่งจากระบบคอลเซ็นเตอร์อย่างเดียว 
  • 2012-2013  เป็นช่วงที่สมาร์ทโฟนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในไทย การบริการของฟู้ดเดลิเวอรี่จะเพิ่มช่องทางการสั่งผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันมากขึ้น เป็นการเพิ่มช่องทางการสั่งเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น แต่ในขณะนั้นผู้เล่นในตลาดที่อาศัยช่องทางนี้ยังมีไม่มาก 
  • 2019  เป็นยุคของสมาร์ทโฟนที่แท้จริง บรรดาธุรกิจฟู้ดเดลิเวรี่ต่างต้องเร่งปรับตัว มีแอปพลิเคเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากเดิมที่การแข่งขันจะถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มนี้เท่านั้น แต่ในยุคนี้เปลี่ยนเกมของฟู้ดเดลิเวอรีไปโดยสิ้นเชิงเพราะไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ก็เข้ามาในตลาด และอาศัยช่องทางแอปพลิเคชันในการบริการและแข่งขันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ซึ่งก็ยิ่งทำให้การแข่งขันสูงขึ้นตามไปด้วย    


ปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ 

คุณกิตติเชษฐ์  กล่าวว่า ปัจจุบัน เดอะ พิซซ่า คอมปะนี เอง ก็ยังคงเน้นตลาดเดลิเวอรี่เป็นหลัก ด้วยสถานการณ์โควิด-19 และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังคงนิยมสั่งเดลิเวอรี่  โดยก่อนช่วงโควิดยอดขายผ่านเดลิเวอรี่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35% ที่เหลือเป็นการทานที่ร้านและสั่งกลับบ้าน  แต่หลังจากเกิดการล็อกดาวน์ ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 60% ของยอดขายรวม  ซึ่งจากการปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน ตั้งแต่การพัฒนาทีมงาน เนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือดจึงมีการสร้างสรรค์ พัฒนาเมนูแปลกใหม่ ที่สำคัญคือเรื่องคุณภาพสินค้า รวมไปถึงการสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมของลูกค้ากับแบรนด์ ขณะเดียวกัน พรีเซ็นเตอร์ ที่อยู่ในกระแส  เพื่อเจาะกลุ่มเจนเนอเรชั่นใหม่ๆและกว้างขึ้น หลากหลายแพลตฟอร์ม ก็มีส่วนสำคัญของการผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 
"ปีนี้ยอดขายน่าจะโต เพราะเริ่มมีการเปิดห้าง เปิดเมือง นักท่องเที่ยวทยอยกลับมา ทั้งปีตั้งเป้าไว้ที่โต 3-5%  จากที่ช่วงโควิดโตได้ 7-8% ที่ตั้งเป้าต่ำกว่าโควิด เพราะคิดว่านักท่องเที่ยวจีนยังไม่กลับมา รวมทั้งเอฟเฟคเรื่องเศรษฐกิจ ดูได้จากช่วงเปิดเทอมก็ยังไม่คึกคักเท่าที่คาด" คุณกิตติเชษฐ์ กล่าว


ภาพประกอบจาก : JC&CO พีอาร์ เดอะพิซซ่า คอมปะนี


จับตาสถานการณ์อีก 2-3 เดือน – ความหวังจากนักท่องเที่ยวหลังเปิดประเทศ 

คุณกิตติเชษฐ์  ประเมินว่า ประมาณ 2-3 เดือนต่อจากนี้ทิศทางของธุรกิจร้านอาหารจะชัดเจนขึ้น ด้วยสถานการณ์โควิดในปัจจุบันเริ่มคลี่คลาย ประชาชนเริ่มรู้สึกเคยชินกับวิถีชีวิตใหม่  เมื่อรัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆเรื่อยๆ ทยอยเปิดประเทศให้ต่างชาติได้เข้ามา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ก็เชื่อว่าธุรกิจร้านอาหารจะฟื้นตัวได้  แต่ยังกังวลเรื่องเศรษฐกิจที่ซบเซา กำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้น จากผลกระทบวิกฤตโควิดช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย  ซึ่งหากมีปัจจัยนี้เข้ามาก็อาจจะต้องดูสถานการณ์ต่อเนื่องไปอีกสักระยะก่อน  แต่ยังคงมอนิเตอร์สถานการณ์ต่อเนื่อง 

ตัแปรสำคัญของการชี้ว่าธุรกิจร้านอาหารจะฟื้นได้แค่ไหน 

ปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญให้ธุรกิจร้านอาหาร ของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ไปในทิศทางไหนนั้น มาจากปัจจัยหลักๆ ได้แก่ 

  • เปิดประเทศ เปิดเมือง ด้วยสถานการณ์โควิดที่คลี่คลายรัฐทยอยผ่อนคลายมาตรการโ๕วิดเรื่อยๆ ห้างสรรพสินค้ากลับมาเปิด ร้านอาหารเปิดให้นั่งทานที่ร้านได้  ทำให้ประชาชนสบายใจที่จะออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ 
  • เมื่อเปิดประเทศ  นักท่องเที่ยวกลับมา  จะสนับสนุนยอดขายธุรกิจร้านอาหารเพิ่มเติมจากยอดขายในประเทศ 
  • แต่การที่ ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น  จากจำนวนผู้เล่นในตลาด ทั้งแบรนด์เล็ก-ใหญ่ เจ้าใหม่ๆที่เข้ามาในตลาด สนับสนุนให้ผู้บริโภคอยากลองร้านใหม่ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อทุกแบรนด์ในตลาดให้ต้องวางแผนวางเกมให้ถูกทาง  


ความท้าทายของการทำแบรนด์ต้องปรับตัวให้ไวทันโลกกว่าเดิม ถึงจะเข้าไปนั่งในใจผู้บริโภค 

ปัจจุบันการสร้างแบรนด์การ สร้างตัวตนให้แบรนด์ มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงเข้าถึงและใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น ด้วยยุคที่เปลี่ยนไปทำให้แต่ละแบรนด์ต้องอาศัยความไว ปรับตัวให้ทันโลก และเริ่มต้นที่ลูกค้า

"เราจะต้องปรับตัวให้ไวกว่าเดิมอีก เราต้องเป็นปลาใหญ่ที่เคลื่อนที่ไวกว่าเดิม  การสร้างแบรนด์อันเดอร์สแตนดิ้ง มันจะถูกสร้างผ่านวิธีใหม่ๆ ดิจิตอลเป็นเรื่องสำคัญ เป็นคำเดิมแต่ในเนื้อไส้ ความหมายมันเปลี่ยนตลอดเวลา แบรนด์ต้องปรับตัวให้เร็วและเริ่มต้นจากลูกค้า  "  คุณกิตติเชษฐ์ กล่าว

 


 

ข้อมูลจาก : TNN Online 

ภาพจาก : JC&CO พีอาร์ เดอะพิซซ่า คอมปะนี 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง