รีเซต

เช็กที่นี่ ดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะค่าฝุ่น PM 2.5 สูง มีผลกระทบต่อสุขภาพ

เช็กที่นี่ ดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะค่าฝุ่น PM 2.5 สูง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
TNN ช่อง16
9 มกราคม 2568 ( 09:44 )
11

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA รายงานค่าฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมแบบรายชั่วโมง 

ผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” (เวลา 8.00 น. ของวันที่ 9 มกราคม 2568) พื้นที่ของกรุงเทพมหานครมีค่าฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพ และระบบทางเดินหายใจ (สีแดง) จำนวน 48 เขต โดยพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุด คือ #บางกอกใหญ่ 127.9 ไมโครกรัม ส่วนเขตที่เหลือพบค่าฝุ่น PM2.5 เริ่มมีผลต่อสุขภาพ 


ด้านของภาพรวมประเทศไทย พบค่าฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ (สีแดง) ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกบางจังหวัด อีกทั้งพบค่าฝุ่น PM2.5 ที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายอยู่ในทั่วภูมิภาคของประเทศ สำหรับจังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM2.5 ต่ำที่สุดคือ #แม่ฮ่องสอน 20.1 ไมโครกรัม 


แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่ของประเทศยังคงมีค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะภาคกลาง และพบค่าฝุ่น PM2.5 ที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ ยังคงกระจายอยู่ในทั่วภูมิภาคของประเทศไทย 


ทั้งนี้  สภากาชาดไทย โดยอ.พญ.ภัทราวลัย สิรินารา ได้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะ PM 2.5 สูง


1. ใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน

2. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในบริเวณที่มลพิษอากาศสูง

3. งดการออกกำลังกายกายนอกตัวอาคาร เช่น งดวิ่งในสวนสาธารณะชั่วคราว ให้เปลี่ยนมา

ออกกำลังกายภายในตัวอาคารแทน

4. หมั่นตรวจตราไม่เปิดหน้าต่างในช่วงภาวะ PM 2.5 สูง เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 จากภายนอกเข้ามาในตัวอาคาร

5. ช่วยกันงดการเผาไหม้ที่ “ไม่” สมบูรณ์ เช่น งดจุดเทียนในตัวอาคาร และนอกตัวอาคารงดการเผาในที่โล่ง งดใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ

6. กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิศษ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก



ข้อมูลจาก สภากาชาดไทย



ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง