รีเซต

พลังดิจิทัลหนุน 'ไทย-จีน' ดึง 'วัตถุโบราณ' พัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม

พลังดิจิทัลหนุน 'ไทย-จีน' ดึง 'วัตถุโบราณ' พัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
Xinhua
3 มิถุนายน 2565 ( 16:54 )
100
พลังดิจิทัลหนุน 'ไทย-จีน' ดึง 'วัตถุโบราณ' พัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม

 

หนานหนิง, 3 มิ.ย. (ซินหัว) - เมื่อวันพฤหัสบดี (2 มิ.ย.) วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งเข้าร่วมการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 17 ผ่านระบบวิดีโอ กล่าวว่าไทยและจีนมีโอกาสร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์อยู่มากมาย โดยเฉพาะยามมีการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลเป็นวงกว้าง ขณะการประกอบอาชีพใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมดังกล่าวจะส่งเสริมทั้งสองฝ่ายบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

การประชุมฯ ณ เมืองเป่ยไห่ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ภายใต้หัวข้อ "การกระตุ้นวัตถุทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์" (Museum Cultural Relics Activation and Cultural and Creative Industry Development) จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน ร่วมกับรัฐบาลกว่างซีของจีน ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมจากจีนและอาเซียนราว 250 คน

เหล่าผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เห็นพ้องว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างความน่าสนใจให้วัตถุทางวัฒนธรรมในยุคโรคระบาดใหญ่ มิเพียงฟื้นฟูความมีชีวิตชีวาของวัตถุทางวัฒนธรรมโบราณแต่ยังช่วยดึงเอาศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ประโยชน์ด้วย

วิษณุกล่าวว่าไทยยกความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศตลอดมา และลงทุนด้านทรัพยากรเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) การดำเนินโครงการความคิดสร้างสรรค์ และการบรรจุเศรษฐกิจวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เข้าแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับชาติ

[caption id="attachment_286592" align="aligncenter" width="2033"] (ภาพจากคณะกรรมการการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน : สินค้าวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์จากพิพิธภัณฑ์พระราชวัง จัดแสดงในการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 17 วันที่ 2 มิ.ย. 2022)[/caption]

ขณะที่จีนมีประสบการณ์มหาศาลในการทำให้วัตถุทางวัฒนธรรม"มีชีวิต" ขึ้นมาจริงๆ ตัวอย่างเช่นโครงการ "ตุนหวงดิจิทัล""พิพิธภัณฑ์พระราชวังดิจิทัล" และ "พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล"ที่จีนพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งช่วยกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์

นอกจากนั้นวิษณุเผยว่าไทยยินดีต้อนรับและสนับสนุนจีนในการส่งเสริมการกระตุ้นวัตถุทางวัฒนธรรมและการพัฒนาคุณภาพสูงของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ปัญญาประดิษฐ์ และการสำรวจระยะไกล เพื่อปฏิรูปและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมถึงดำเนินความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในการฟื้นฟูวัตถุทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทนี้อย่างรอบด้าน

วิษณุเสริมว่าความเจริญมั่งคั่งทางวัฒนธรรมร่วมกันจะกลายเป็นพลังส่งเสริมการพัฒนาในภูมิภาคจีน-อาเซียนที่ลึกซึ้ง ต่อเนื่อง และเฟื่องฟูยิ่งขึ้น

[caption id="attachment_286593" align="aligncenter" width="2560"] (ภาพจากคณะกรรมการการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน : นิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไทย กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 17 ผ่านระบบวิดีโอ วันที่ 2 มิ.ย. 2022)[/caption]

ด้าน นิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วยกล่าวว่าโรคระบาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงแต่พิพิธภัณฑ์หลายแห่งปรับตัวเข้ากับความปกติใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างพื้นที่การเรียนรู้บนโลกออนไลน์

ส่วน จางซวี่ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน กล่าวว่าโรคระบาดใหญ่ยังคงแพร่ระบาดทั่วโลก แต่การหารือและการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและอาเซียนในด้านวัฒนธรรมยังคงเดินหน้า โดยกลุ่มประเทศอาเซียนมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รวมถึงมีวัตถุทางวัฒนธรรมมากมาย การกระตุ้นวัตถุทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์จึงถือเป็นพันธกิจร่วมกัน

ทั้งนี้ จางเสริมว่าจีนยินดีเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียนในด้านการดำเนินงานและการจัดการพิพิธภัณฑ์ การจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์ การสร้างความเป็นดิจิทัลของวัตถุทางวัฒนธรรม การคุ้มครองวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อร่วมส่งเสริมการหารือแลกเปลี่ยนทางอารยธรรมต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง