รีเซต

วันวิสาขบูชา 2566 เปิดจุดเสี่ยงติดโควิดในวัด ก่อนไปทำบุญ

วันวิสาขบูชา 2566 เปิดจุดเสี่ยงติดโควิดในวัด ก่อนไปทำบุญ
Ingonn
2 มิถุนายน 2566 ( 15:19 )
571
วันวิสาขบูชา 2566 เปิดจุดเสี่ยงติดโควิดในวัด ก่อนไปทำบุญ

วันวิสาขบูชา 2566 วันพระ วันสำคัญทางศาสนาที่ประชาชนชาวไทยมักนิยมไปทำบุญ เพื่อเสริมสิริมงคล สร้างความสบายใจ รวมถึงเป็นประเพณีทางศาสนาที่สำคัญของชาวพุทธทั่วโลก โดยส่วนใหญ่มักจะรวมกันทำบุญ ตักบาตรถวายพระสงฆ์ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไปวัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

 

วันวิสาขบูชา 2566 

 

วันวิสาขบูชา 2566 นั้น การไปทำบุญที่วัด อาจทำให้เราต้องสัมผัสสิ่งของต่างๆที่ใช้ร่วมกันเวลาทำบุญ และอาจเสี่ยงพาเชื้อโควิดกลับบ้านโดยไม่รู้ตัว วันนี้ TrueID ได้รวบรวมจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้มาไว้ที่นี่แล้ว เพื่อให้ทุกคนระวังตัว ก่อนจะสัมผัสสิ่งของภายในวัด

 

วันวิสาขบูชา 2566 กับหลักการจัดพิธีกรรมทางศาสนา 


ในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบของการจัดพิธีกรรมทางศาสนาแต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่มเติมระบบการจัดการและการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมสำหรับงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่เชื้อโควิด-19 โดยมีมาตรการดังนี้

 

  1. จุดตัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิผู้ร่วมงานก่อนเข้าพื้นที่
  2. จุดลงทะเบียน เตรียมกระตาษลงทะเบียนไว้ให้ผู้ร่วมงานทุกคนลงชื่อ เบอร์ติดต่อ เพราะหากมีใครคนใดคนหนึ่งตรวจพบว่าติดเชื้อจะสามารถติดตามตัวผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ให้กักตัว และเข้ารับการตรวจได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ
  3. จัดเตรียมจุดล้างมือด้วยสบู่ อุปกรณ์ล้างมือ เช่น แอลกอฮอล์เจลไว้บริเวณทางเข้าประตูทางเข้า-ออก ให้เพียงพอ 
  4. กรณีที่มีการจัดพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ ควรกำหนดระยะห่าง1-2 เมตร  
  5. ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานที่ 
  6. ทำความสะอาดพื้นที่ บริเวณพื้นผิว อุปกรณ์ที่มีการสัมผัสร่วมกัน และเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดภายในสถานปฏิบัติธรรมในพื้นที่หรือจุดที่มีการสัมผัสร่วมอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  7. หากมีอาหารเลี้ยงแขก ควรจัดเป็นกล่องแจกให้กินเป็นคนๆ ไม่จัดกับข้าวเป็นชุดเพื่อกินร่วมกัน

 


วันวิสาขบูชา 2566 จุดเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในวัดที่ต้องระวัง

  1. อุปกรณ์สำหรับพิธีสงฆ์และพิธีกรรม เช่น เชิงเทียน หมอนรองกราบ ขันน้ำมนต์ ชุดกรวดน้ำ
  2. เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์และญาติโยม เช่น อาสน์สงฆ์ เก้าอี้ โต๊ะ
  3. สิ่งของที่จับบ่อย เช่น กล่องรับบริจาค ไม้เคาะระฆัง
  4. พื้นที่ภายในโบสถ์ ศาลา และกุฎิ
  5. โรงทาน พื้นที่เตรียมอาหารและพื้นครัว
  6. ห้องน้ำ ลูกบิด ก๊อกน้ำ สายชำระ โถส้วม และพื้นห้องน้ำ

 

 

เลือกอาหารตักบาตรและถวายพระสงฆ์อย่างไรให้พระสงฆ์ห่างไกลจากโรค

 

พระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ต้องฉันตามที่คนตักบาตรหรือนำอาหารมาถวาย ดังนั้นญาติโยมควรใส่ใจเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพและถูกหลักโภชนาการในการตักบาตร เนื่องจากปัจจุบันมีพระสงฆ์จำนวนมาก อาพาธด้วยโรคไขมันในเลือดสูง โรคความตันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น


อาหารที่แนะนำสำหรับถวายพระสงฆ์

 

  1. ข้าวกล้อง เป็นอาหารประเภทแป้งที่อุตมด้วยวิตามินบีและใยอาหาร สามารถลือกมาถวายสลับกับข้าวขาวได้
  2. เนื้อสัตว์ไซมันต่ำ เช่น เนื้อปลา
  3. ผักตามฤลูกาลและผลไม้หวานน้อย เช่น ฝรั่ง ส้ม แก้วมังกร มะละกอ มีใยอาหารช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาล ลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระบบการขับถ่าย
  4. เลือกอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ยำ ย่าง เผา อบหรือน้ำพริก หากใส่กะทิควรใช้ปริมาณน้อย
  5. หากเป็นอาหารประเภทผัดหรือทอด ควรลดหวาน ลดมัน และลดเค็ม
  6. น้ำปานะ ควรเลือกเครื่องดื่มน้ำตาลน้อยหรือไม่มีน้ำตาล และเพิ่มโปรตีน เช่น นมจืด นมถั่วเหลือง น้ำเปล่า น้ำสมุนไพร
  7. อาหารกระป๋อง เลือกที่มีเครื่องหมาย อย. สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ กระป๋องมีสภาพดีไม่บุบ ไม่บวม ไม่มีรอยรั่ว และไม่เป็นสนิม

 

 

ป้องกันโควิด-19 เมื่อไปทำบุญที่วัดใน วันวิสาขบูชา 2566

 

  1. หากรู้สึกป่วยไม่สบาย มีไข้สูง มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตัว เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ไม่ควรไปวัด
  2. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังร่วมงานแล้ว
  3. ไม่ดื่มเหล้าในวัด วัดเป็นสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มเหล้า การดื่มเหล้าในวัดผิดกฎหมายฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  4. ไม่สูบบุหรี่ในวัด วัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ การสูบบุหรี่ในวัดผิดกฎหมาย ฝ่าฝืนมีโทษ ปรับ 5,000 บาท
  5. รักษาระยะห่างระหว่างพระสงฆ์และญาติโยม หรือคนอื่นๆ 1-2 เมตร งดการพูดคุยแบบใกล้ชิด
  6. พระสงฆ์ ญาติโยม และเจ้าหน้าที่ในวัด ต้องสวมหน้ากากตลอดการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

 


วัดนับเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในชุมชน เพราะนอกจากการเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์และประกอบศาสนกิจสำหรับชาวพุทธแล้ว วัดยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานทางประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนมายาวนาน มีทั้งคนที่เดินทางไปทำบุญ ปฏิบัติธรรม หรือแม้กระทั่งสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กับพระสงฆ์ที่วัดอย่างสม่ำเสมอ

 

ในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ พระสงฆ์และญาติโยมจึงต้องปรับการปฏิบัติตัวและวิถีของการไปวัด เพื่อความปลอดภัยของทั้งพระภิกษุสงฆ์และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ได้

 

 

ข้อมูลจาก คู่มือชีวิตวิถีใหม่ สสส.

 

 

บทความเกี่ยวกับ วันวิสาขบูชา 2566

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง