นักวิจัยญี่ปุ่นสร้างแขนหุ่นยนต์จากแมลงที่มีชีวิตใช้หยิบจับสิ่งของ
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โทโฮคุ (Tohoku University) กำลังพัฒนาแขนหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เชื่อมต่อกับแมลงเหาไม้ (Woodlice) หรือแมลงกะปิที่ยังมีชีวิตอยู่ทำหน้าที่แทนมือของมนุษย์ใช้หยิบจับสิ่งของ โดยใช้ลักษณะตามธรรมชาติของแมลงขนาดเล็กดังกล่าวที่สามารถยึดติดจับวัสดุอื่น ๆ ได้เหนียวแน่น
ในการทดลองแขนหุ่นยนต์เครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีลักษณะคล้ายตัวหนีบขนาดเล็กยึดติดกับเปลือกด้านบนของแมลง โดยแมลงขนาดเล็กสามารถยึดจับกับกระจุกฝ้ายและไม้ก๊อกที่จมน้ำอยู่ได้อย่างเหนียวแน่นเป็นเวลาประมาณ 2 นาที ก่อนมันจะปล่อยออกและคลายตัวลง อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่ได้ระบุน้ำหนักของวัตถุมากที่สุดที่แมลงกะปิสามารถจับยึดไว้ได้ นอกจากนี้นักวิจัยยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น ๆ ที่ใช้หยิบจับชิ้นส่วนขนาดเล็กใต้น้ำ แม้จะเป็นเพียงการวิจัยในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
เป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้เป็นไปในลักษณะเพื่อการศึกษาเรียนรู้พัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นได้ รองรับการปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือใช้แมลงในธรรมชาติ ในอนาคตหากได้รับการพัฒนาต่อยอดอาจถูกนำไปใช้ในภารกิจที่อันตรายการยิบจับสิ่งของที่มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ใต้ทะเล รวมไปถึงการพัฒนาหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้อิสระมากขึ้นโดยการทำงานร่วมกับแมลง
ก่อนหน้านี้ในปี 2022 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยสร้างหุ่นยนต์ลักษณะอ่อนนุ่มจากซากแมงมุมสำเร็จมาแล้ว โดยใช้แมงมุมหมาป่า (Wolf Spider) ที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว กล้าวเนื้อมีความแข็งแรงในการควบคุมให้หยิบจับสิ่งของ โดยแมงมุมตัวนั้นจะตายไปแล้วก็ตาม
แม้จะเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ การวิจัยจากมหาวิทยาลัย โทโฮคุ แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมและสวัสดิภาพสัตว์ทดลอง โดยสัตว์หลายตัวแม้จะเป็นแมลงขนาดเล็กต่างเสียชีวิตในห้องทดลองเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามทีมงานการทดลองกับแมลงขนาดเล็ก (Rolly-pollies) ยังมีความปลอดภัยและโอกาสที่สัตว์จะเสียชีวิตน้อยกว่ามากกว่าการทดลองในรูปแบบอื่น ๆ
ที่มาของข้อมูล Engadget
ที่มาของรูปภาพ มหาวิทยาลัย โทโฮคุ (Tohoku University)