น่าทึ่ง! จีนพบฟอสซิล 'ไดโนเสาร์กำลังฟักไข่' สุดหายาก
คุนหมิง, 8 ม.ค. (ซินหัว) -- ซากฟอสซิล "ไดโนเสาร์กำลังฟักไข่" สุดหายาก ซึ่งถูกขุดพบที่มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน ช่วยส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขยับขยายเผ่าพันธุ์ของไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอด (Theropod) ที่มีลักษณะเด่นเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อและยืนสองขา
ฟอสซิลดังกล่าวมีอายุราว 70 ล้านปี ประกอบด้วยโครงกระดูกไดโนเสาร์วัยเจริญพันธุ์ ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (embryo) และรังฟักที่มีไข่เรียงราย โดยเชื่อว่าเป็นซากไดโนเสาร์ลำตัวยาว 2 เมตร กำลังนอนหมอบฟักไข่ในลักษณะท่าทางเดียวกับนกในยุคใหม่ปี้ซุ่นตง ผู้เขียนหลักของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) กล่าวว่าฟอสซิลนี้มิเพียงแสดงท่าทางการฟักไข่ของไดโนเสาร์ แต่ยังรักษาสภาพตัวอ่อนอย่างดี ถือเป็นหลักฐานล่าสุดเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมการฟักไข่ของไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอดสวีซิง ผู้เขียนร่วมของงานวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าตัวอ่อนในรังมีพัฒนาการแตกต่างกัน บ่งชี้ถึงการฟักออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบในนกยุคใหม่อนึ่ง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ถูกเผยแพร่ในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน
(ภาพจากมหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และสถาบันบรรพชีวินสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน : ภาพจำลองวิธีฟักไข่ของไดโนเสาร์)