รีเซต

ทำไม "รัฐประหารเมียนมา" ต้องมาคู่กับ "ความรุนแรง" ?

ทำไม "รัฐประหารเมียนมา" ต้องมาคู่กับ "ความรุนแรง" ?
TrueID
29 มีนาคม 2564 ( 12:53 )
142

จากเหตุความรุนแรงในเมียนมาระหว่างกองทัพและประชาชนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จนถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายร้อยราย ทั้งถูกยิงกระสุน หรือเผาร่างทั้งเป็น กับประชาชนที่ออกมาประท้วงการปกครองระบบ “รัฐประหาร” ของกองทัพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของเมียนมา


รัฐประหารคืออะไร?

 

    • รัฐประหาร คือ  การใช้ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เพื่อต้องการเปลี่ยนตัวหัวหน้ารัฐบาล หรือผู้ปกครองประเทศ แล้วจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้ผู้ก่อการรัฐประหารขึ้นมา


      
    • เช่น หากทหารเห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่ง โดยประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในเวลาที่กำหนด


      
    • รัฐประหารเป็นความรุนแรงทางการเมืองที่มักเกิดขึ้นโดยกลุ่มทหาร เพราะทหารถูกฝึกมาอย่างมีระเบียบวินัย มีกำลังพลอาวุธในมือ จึงมีศักยภาพในในสถานการณ์ที่ประเทศชาติประสบปัญหาความวุ่นวาย

 


แตกต่างกับการปฏิวัติไหม?

 

    • การปฏิวัติ คือ การใช้ความรุนแรงทางการเมืองเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทั้งหมด เพื่อเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และระบบสังคมโดยรวม 


      
    • หากสภาพสังคมยังไม่พร้อม การปฏิวัติจะเป็นไปได้ยากมาก 

 


ทำไมต้อง “รัฐประหารเมียนมา” ในตอนนี้


    • กองทัพอ้างว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง เพื่อสร้างความชอบธรรมจึงประกาศภาวะฉุกเฉินนาน 1 ปี แต่ไม่มีหลักฐาน


    • กองทัพเมียนมาอับอายเพราะไม่คิดว่าจะพ่ายแพ้การเลือกตั้ง สะท้อนให้เห็นว่า คนที่เคยสนับสนุนกองทัพบางส่วนก็หันไปเลือก นางออง ซาน ซูจี


    • ตั้งแต่ประเทศเมียนมาเริ่มเปิดและทำการค้ามากขึ้น ทำให้อำนาจของกองทัพลดลง 


    • แรงกดดันจากนานาชาติในประเด็นชาวโรฮีนจา ไม่ส่งผลต่อคะแนนความนิยมของนางออง ซาน ซูจี

 


รัฐประหารอย่างถูกต้องภายใต้รัฐธรรมนูญ

 

กองทัพประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้เป็นไปตาม มาตรา 417 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2551 ซึ่งระบุว่า หากมีเหตุผลเพียงพอเกี่ยวกับความแตกแยกในสภาหรือสิ่งที่อาจทำให้สูญเสียอธิปไตย เนื่องจากการกระทำหรือความพยายามยึดอำนาจอธิปไตยของสภา ด้วยการจลาจล ความรุนแรง และการกระทำมิชอบ ประธานาธิบดีสามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยประสานกับสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติ

 

นอกจากนี้ มาตรา 418 ยังระบุว่า สามารถมอบอำนาจในการบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ใช้อำนาจดังกล่าวด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้หน่วยงานของกองทัพใช้ได้ และอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ นับแต่วันที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 


แม้กองทัพเมียนมาพยายามเลี่ยงบาลีด้วยการเรียกความเคลื่อนไหวนี้ว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม


ไทม์ไลน์ระบอบการปกครองเมียนมา โศกนาฏกรรมที่สุดเศร้า

 

1. ในปี 1962 นายพลเน วิน ได้ยึดอำนาจเข้ามาเป็นรัฐบาลรักษาการแทนนายอู นุ โดยอ้างว่านายอู นุ เป็นรัฐบาลพลเรือนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศให้เป็นปกติได้ จากนั้นมาหลายทศวรรษ เมียนมาก็ปกครองด้วยเผด็จการทหารมาโดยตลอด

 

2. ปี 1974 ประชาชนออกมาประท้วง เพื่อแย่งศพของอูถั่น ทำให้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เรียกว่าประท้วงนี้ว่า “วิกฤตการณ์อูถั่น” (U Thant Crisis)

 

3. ปี 1988 หรือ 8888 Uprising ซึ่งออง ซาน ซู จี ได้เข้าร่วมกล่าวปราศรัยในการชุมนุม เหตุการณ์นั้นมีนักศึกษาและปัญญาชนเสียชีวิตมากมาย และนำไปสู่การลาออกของนายพลเน วิน 

 

4. ประชาคมโลกไม่ยอมรับเผด็จการทหาร จึงตัดสิทธิพิเศษทางการค้าหลายอย่าง ทำให้ประเทศพัฒนาช้า ทหารจึงตัดสินใจให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยพรรคที่มีทหารหนุนหลังคือพรรค NUP

 

5. เมื่อผลเลือกตั้งออกมากลายเป็นพรรคNLD ของนางอองซานซูจี ชนะไปอย่างถล่มทลาย แต่สุดท้ายรัฐบาลทหารปฏิเสธผลการเลือกตั้ง และปกครองด้วยเผด็จการต่อไปอีก 21 ปี จนถึงปี 2011

 

6. ปี 2010 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเมียนมา เมื่อกองทัพตัดสินใจจะปฏิรูปประเทศ มีการปล่อยตัวออง ซาน ซู จี และต่อมามีการจัดการเลือกตั้งในปี 2015 

 

7. ก่อนจะถึงการเลือกตั้งในปี 2015 ฝั่งทหารได้แก้รัฐธรรมนูญโดยระบุว่า 25% ของ ส.ส. และ ส.ว. จะต้องเป็นคนที่มาจากการแต่งตั้งของทหาร นอกจากนั้นยังมีการใส่เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญอีกด้วยว่า “ผู้ที่มีสามี หรือภรรยาเป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีได้” เพื่อเป็นการขวางทางอองซาน ซูจี ที่มีสามีเป็นชาวอังกฤษนั่นเอง

 

8. ปี 2015 พรรค NLD ของอองซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้ง อย่างใสสะอาด และเป็นรัฐบาลของประชาชนเป็นครั้งแรกในรอบ 54 ปี

 

9. อองซาน ซูจี ไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญที่ทหารใส่ไว้ได้ จึงแต่งตั้งถิ่นจ่อ แกนนำอีกคนของพรรค NLD ให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศ ก่อนจะสร้างตำแหน่ง “ที่ปรึกษาแห่งรัฐ” (State Counsellor) โดยมีศักดิ์เทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีให้กับตนเอง

 

10. เมียนมาเริ่มเข้าสู่ประชาธิปไตยมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น และมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

 

11. ปี 2017อองซาน ซูจี พยายามผลักดันชาวโรฮิงญาออกนอกประเทศ และเกิดเหตุการณ์กำลังกู้ชาติโรฮิงญา บุกโจมตีหลายพื้นที่ในรัฐยะไข่ ส่งผลให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 7 แสนคนต้องอพยพไปบังกลาเทศ ทำให้นางอองซาน ซูจี เป็นที่โกรธแค้นจากชาวมุสลิมทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ว่าอองซาน ซูจีมีส่วนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา แต่ก็ทำให้ชาวเมียนมาที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศ สนับสนุนอองซาน ซูจีเพิ่มด้วยเช่นกัน

 

12. พฤศจิกายนปี 2020 รัฐบาลของพรรค NLD อยู่ครบวาระ ได้กำหนดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรค NLD ของอองซาน ซูจี ชนะเช่นเดิม และเป็นความพ่ายแพ้ติดกัน ในการเลือกตั้ง 2 ครั้ง ของฝั่งทหาร 

 

13. ฝั่งกองทัพ ได้เรียกร้องกกต.ของเมียนมา ให้ตรวจสอบการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และอาจมีการโกงการเลือกตั้ง แต่กกต.ยืนยันว่าได้มีการตรวจสอบเป็นอย่างดีแล้ว

 

14. วันที่ 26 ม.ค. 2021โฆษกกองทัพเมียนมาไม่ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพจะยึดอำนาจเพื่อจัดการกับวิกฤติทางการเมือง

 

15. วันที่ 28 ม.ค. 2021 มีรถถังหลายชนิดออกมาวิ่งบนท้องถนน โดยทหารอ้างว่าต้องการทดสอบเครื่องยนต์

 

16. วันที่  29 ม.ค. 2021ต่างชาติเริ่มออกแถลงการณ์แสดงความวิตกต่อความเป็นไปได้ที่กองทัพเมียนมาอาจก่อรัฐประหาร

 

17. วันที่ 30 ม.ค. 2021ชาวเมียนมาที่สนับสนุนกองทัพ ชุมนุมประท้วงต่อต้านคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ด้านนอกเจดีย์ชะเวดากองในนครย่างกุ้ง
ขณะที่กองทัพเมียนมาออกแถลงการณ์ว่าข่าวที่ออกมาเป็นความเข้าใจผิด และยืนยันว่ากองทัพจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ และจะทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย

 

18. วันที่ 1 ก.พ. 2021กองทัพเมียนมาบุกจับ นางซูจี ประธานาธิบดีวิน มินต์ และแกนนำพรรค เมื่อช่วงเช้าตรู่ ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่จะเปิดประชุมครั้งแรก

 

19.กองทัพประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี พร้อมแต่งตั้งมินต์ ฉ่วย อดีตนายพลซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่มาจากฝั่งทหาร ทำหน้าที่รักษาการประธานาธิบดี

 

20. ผู้นำโลกต่างออกมาประนาฌเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


21.เกิดการประท้วงอย่างต่อเนื่องและรุนแรงยาวนานเกือบ 2 เดือน โดยกองทัพเมียนมาทวีความโหดร้ายในการปะทะประชาชนผู้ประท้วง ด้วยกระสุนยาง เผาร่างทั้งเป็น 

 

22.ทหารเมียนมาโจมตีทางอากาศใส่ชุมชนในรัฐกะเหรี่ยงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี
ส่งผลให้ชาวเมียนมาในรัฐดังกล่าวพยายามข้ามพรมแดนประเทศหนีตายมายังชายแดนประเทศไทยกว่า 3,000 ราย 


23.กองทัพเมียนมามีการจัดงานวันกองทัพอย่างยิ่งใหญ่ จนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ความมั่นคงและผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 114 ศพ ภายในวันเดียว

 

24.ผู้เสียชีวิตสะสม ณ วันที่ 29 มีนาคม 2021 รวมแล้วอย่างน้อย 452 ราย นับตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 

 

ข้อมูลจาก

บทความออนไลน์ public-law เรื่อง ปฏิวัติ รัฐประหาร หรือกบฏ โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง,

งานเสวนาทางวิชาการ “รัฐประหารเมียนมา : กองทัพ การเลือกตั้ง และจุดจบของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ?” จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักพิมพ์มติชน,

มติชน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมท่าทีบุคคลสำคัญระดับโลก ต่อความรุนแรงในเมียนมา

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง