รีเซต

รวมท่าทีบุคคลสำคัญระดับโลก ต่อความรุนแรงในเมียนมา

รวมท่าทีบุคคลสำคัญระดับโลก ต่อความรุนแรงในเมียนมา
PakornR
19 มีนาคม 2564 ( 16:37 )
300

ข่าววันนี้หลังจากที่กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจรัฐบาล และจับกุมตัวนางออง ซาน ซูจี กับสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีไป กลายเป็นชนวนของเหตุนองเลือดในเมียนมา ยาวนานจนเกิดความสูญเสียหลายร้อยคน โดยไม่มีท่าทีว่าตอนจบชัยชนะจะเป็นของประชาชน หรือรัฐบาลทหาร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างชาติประณามการกระทำของรัฐบาลเมียนมาให้สละอำนาจและคืนประชาธิปไตยกลับมา

 

ท่าทีผู้นำชาติต่างๆ

  • สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (โป๊ป) ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก

ทรงคุกเข่าวิงวอนขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงแก่ผู้ชุมนุม และทรงตรัสว่า การหันหน้าเจรจากันเป็นทางออก ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง

 

  • อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

เรียกร้องให้ประชาคมโลกแก้ไขเหตุนองเลือดในเมียนมาและขอความร่วมมือจากกองทัพเมียน มายินยอมให้ทูตพิเศษของยูเอ็น เดินทางเข้าไปเจรจาเพื่อให้สถานการณ์สงบลง

 

 

  • โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ประกาศคว่ำบาตรเมียนมาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี ประธานาธิบดีวิน มินต์และนักเคลื่อนไหวที่ถูกจับกุม พร้อมประณามว่ากองทัพไม่ควรอยู่เหนือความต้องการของประชาชน หรือพยายามที่จะลบล้างผลการเลือกตั้งที่ชอบธรรม

 

  • บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ

ประณามการจับกุมนางซูจีและเรียกร้องต่อกองทัพเมียนมาให้เคารพคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มาจากประชาชน

 

  • สกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย

แสดงจุดยืนร่วมกับชาติตะวันตก และประเทศในสหภาพยุโรป เพื่อต่อต้านต่อผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมของเมียนมา และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในบรรทัดฐานของประชาธิปไตย

 

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย

แสดงความห่วงใยในนามของประเทศที่มีชายแดนติดกัน ประชาชนไปมาหาสู่กัน และส่งกำลังใจให้ประเทศเมียน มาอยู่ในความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว พร้อมให้ความร่วมมือในฐานะประชาคมอาเซียน

 

นานาชาติร่วมใจกันคว่ำบาตรเมียนมา ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก

ตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2016 เมียนมาเจอกับการถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ และประเทศกลุ่ม OECD หรือประเทศในยุโรป จนถึงมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

การคว่ำบาตรทำให้เมียนมาร์ถูกตัดความช่วยเหลือทางการเงิน การกีดกันการส่งออกสินค้า จนถึงการระงับการลงทุนและการทำธุรกิจ

แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทำให้เห็นแล้วว่าแรงกดดันจากนานาชาติไม่มีผลกดดันกองทัพเมียน มาได้ เพราะเมียนมาอยู่รายล้อมด้วยประเทศที่ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ผลประโยชน์ระหว่างอเมริกาก็มีน้อย แม้จะโดนคว่ำบาตรจากอเมริกาและยุโรปก็ยังมีประเทศอื่น ที่พร้อมเข้าไปลงทุนในเมียนมา ในทางตรงข้ามการคว่ำบาตรจากอเมริกาและยุโรปก็ไม่เป็นการผลักเมียนมาไปหาจีน เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ที่เข้ามาแทรกแซงละเมิดอำนาจและเมียนมาก็ไม่อยากอยู่ภายใต้อาณัติของจีนไปตลอด

 

ม็อบเมียนมา 2021 จะมี "ตอนจบ" เป็นแบบไหน?

แนวทางจะจบลงเป็นไปได้มี 2 แนวทาง คือ

  1. เป็นประชาธิปไตย

  2. ทหารเมียนมาจะทำทุกอย่างเพื่อให้การรัฐประหารชอบธรรมด้วยรัฐธรรมนูญ แล้วแนวโน้มจะเป็นในแนวทางที่ 2 มากกว่า

 

ด้าน ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ในงานเสวนาทางวิชาการว่า “ถึงผ่านไป 1 ปีหลังจากที่กองทัพปกครอง จะไม่มีโอกาสกลับไปเป็นผลการเลือกตั้งเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2020 ส่วนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวต้องการคัดค้านการรัฐประหาร ด้วยการแสดงอารยะขัดขืน ก็จะใช้รูปแบบม็อบชนม็อบในการปราบปราม คือการใช้ตำรวจและตำรวจปราบจลาจลเป็นด่านที่ 1 และเมื่อเกิดความรุนแรงมากขึ้นก็จะอ้างว่า รัฐบาลพลเรือนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะมีสถานการณ์ฉุกเฉิน และจะไม่มีการระดมกำลังพลของกองทัพ เพราะเขาอาจจะมองเรื่องภาพลักษณ์ในสายตาชาวโลก”

 

ข้อมูลจาก :  งานเสวนาทางวิชาการรัฐประหารเมียนมา : กองทัพ การเลือกตั้ง และจุดจบของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ? , ข่าวสด

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง