รู้จัก สัปปายะสภาสถาน “รัฐสภาใหม่” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก!
เป็นที่ฮือฮาอีกครั้งเมื่อมีข่าวความคืบหน้า การก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ จะเปิดใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นี้แล้ว หลังจากใช้เวลาก่อสร้างมานาน 8 ปีเต็ม และเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว เกือบ 99% อยู่ระหว่างการปรับภูมิทัศน์ และส่งมอบงาน ส่วนงานระบบทั้งหมด
วันนี้ True ID จึงขอพาทุกคนมารู้จัก สัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากอาคารเดอะเพนตากอนในสหรัฐอเมริกา ที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตรกัน
รัฐสภาไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
สำหรับรัฐสภาของประเทศไทย กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และมีการเปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ต่อมาเมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า
โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ใช้งบประมาณ 51,027,360 บาท จากนั้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนเนื้อที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต และทำการคัดเลือกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไปตั้งแต่ปลายปี 2552
รัฐสภาแห่งใหม่ ทำไมถึงชื่อ “สัปปายะสภาสถาน”
รัฐสภาแห่งใหม่นี้มีนามว่า “สัปปายะสภาสถาน” ซึ่งหมายถึง สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นสบาย สถานที่สำคัญของชาติแห่งนี้ได้รับการออกแบบที่ผสมผสานความเป็นไทยเข้ากับอาคารที่ทันสมัยอย่างลงตัว
จุดเด่นสำคัญ คือเครื่องยอดทองคำ ที่เป็นสัญลักษณ์ ของเขาพระสุเมร ในคติความเชื่อทางศาสนา “หลักไตรภูมิ” ผู้ออกแบบคือ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี และ อ.เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย โดยหวังสืบสานงานสถาปัตยกรรมไทยที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งหลักไตรภูมิ ถือเป็นพื้นฐานของสังคมไทย สะท้อนถึงการประกอบคุณงามความดี ทำให้เป็นสถานที่ที่ “ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว”
ส่วนเบื้องล่างของ เครื่องยอด เป็น “โถงรัฐพิธี” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน มาในการรัฐพิธี เปิดสมัยประชุมรัฐสภาขึ้นครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทุกสมัย ภายในตกแต่งด้วยงานจิตรกรรมฝาผนัง ของสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร มีการวาดภาพเรื่องราวสังคมไทยทั่วทุกภาค นอกจากนั้นมีการเพิ่มภาพประชาชนสวมหน้ากาก ป้องกันโควิด-19 เพื่อบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันด้วย
นอกจากนี้ อาคารทั้งหมดยังถูกออกแบบให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของสิ่งปลูกสร้างแห่งอนาคต
แลนด์มาร์คริมน้ำเจ้าพระยา
รัฐสภาแห่งใหม่ หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า รัฐสภาเกียกกาย ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2556 ด้วยงบประมาณ วงเงินแระมาณ 12,000ล้านบาท มีพื้นที่ใช้สอย 424,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่ ประมาณ 120 ไร่ ตัวอาคารมีทั้งสิ้น 11 ชั้น แบ่งเป็นส่วนของ สภาผู้แทนราษฎรทางทิศเหนือ มีห้องประชุมพระสุริยัน สำหรับประชุม ส.ส.และประชุมร่วมรัฐสภา และส่วนของวุฒิสภาทางทิศใต้ มีห้องประชุมพระจันทราสำหรับประชุมวุฒิสภา
แบ่งอาคารเป็น 2 ส่วน คือ สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีที่จอดรถรองรับได้ 2,069 คัน และมีพื้นที่สีเขียวมากถึง 115,529 ตารางเมตร ทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 2,987 ล้านบาท
รัฐสภาที่พร้อมใช้เทคโนโลยี 5G
รัฐสภาไทย เป็นรัฐสภาแห่งแรกในโลกที่พร้อมใช้เทคโนโลยี 5G โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มทรู ในการศึกษาทดสอบเทคโนโลยี 5G พร้อมนำเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, ระบบ IoT, ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆในอนาคต เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G ที่ไม่ใช่แค่สัญญาณมือถือแต่เป็นสัญญาณที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ ให้มีอัจฉริยภาพที่เหนือกว่าอย่างยั่งยืน เติมเต็มการทำงานในรูปแบบใหม่ของรัฐสภาในยุคดิจิทัล นำไปสู่การให้บริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยี 5G นำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมตอบโจทย์แนวทางรัฐบาลดิจิทัล
นอกจากนั้นยัง มีหุ่นยนต์อัจฉริยะ True5G Temi Connect & Carebot ที่เชื่อมโยงการควบคุมและสั่งการผ่านเครือข่าย True5G ทำหน้าที่ต้อนรับและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มาติดต่อ ไม่ว่าจะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และประชาชนผู้ใช้บริการอาคารรัฐสภา สามารถให้ข้อมูลข่าวสาร ช่วยนำทางไปยังห้องประชุมหรือหน่วยงานต่างๆในอาคารได้อย่างสะดวกสบาย และให้บริการวิดีโอคอล (Video Call) อำนวยความสะดวกให้ผู้มาติดต่อสามารถประสานงานกับหน่วยงานภายในอาคารได้ง่ายๆ และทันสมัย เสริมระบบการปฏิบัติงานและการให้บริการในรูปแบบ Digital & SMART Parliament อีกด้วย
สัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาแห่งใหม่นี้ ถือเป็น โครงการใหญ่ระดับประเทศที่ใช้งบประมาณสร้างมหาศาล เพื่อเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และสภาพแวดล้อมที่ออกแบบให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ด้วยแนวคิด สถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ Green Architecture ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอย่างสมดุล
อาคารรัฐสภาใหม่จะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เยี่ยมชม เรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางการเมืองผ่านพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตย และมีลานประชาชนให้บริการอีกด้วย โดยจะเริ่มรื้อรั้วโดยรอบการก่อสร้างออกตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.นี้เป็นต้นไป
ข้อมูลจาก มติชน, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เพจโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่, ddproperty, วิกิพีเดีย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง