รีเซต

อย.ไขข้อสงสัยยาป้ายที่ทำให้สลบ จะทำให้หลับ-มึนงงทันที จริงหรือ?

อย.ไขข้อสงสัยยาป้ายที่ทำให้สลบ จะทำให้หลับ-มึนงงทันที จริงหรือ?
TNN ช่อง16
2 พฤษภาคม 2565 ( 10:59 )
234

วันนี้ (2 พ.ค.65) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไขความเข้าใจผิดกรณีที่มีการแชร์กันอย่างมากมายในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการขายยาสลบรูปแบบ "ยาป้ายสลบ" เพื่อหวังผลปล้นทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศ นั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจงว่า "ยาสลบ" มีหลายประเภท ดังนี้

- ยาสลบชนิดสูดดม ใช้โดยการสูดดมเข้าสู่ทางเดินหายใจ ข้อดีของยาชนิดนี้คือสามารถควบคุมความลึกของการสลบได้โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาที่ใช้ในการสูดดม 

ยากลุ่มนี้ยังแบ่งได้อีกเป็น 2 ชนิด คือ ยาสลบชนิดแก๊ส ได้แก่ ซัยโคลโปรเปน (Cyclopropane), ไนตรัสอ๊อกไซด์ (Nitrous oxide) และ เอธีลีน (Ethylene) เป็นต้น ยาสลบชนิดของเหลวที่ระเหยได้ เช่น ไดเอธิล อีเธอร์ (Diethyl ether), คลอโรฟอร์ม (Chlorform), ธาโลเธน (Halothane) ฯลฯ

- ยาสลบชนิดฉีด ใช้โดยการฉีดเข้าสู่ร่างกาย ยาส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นยาพวก Barbiturates กลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นมาก ยาสลบชนิดฉีดเหล่านี้มักให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 

ข้อดีของยาพวกนี้คือทำให้สลบหรือหมดสติอย่างรวดเร็ว แต่ระงับความเจ็บปวดได้น้อย โดยมากนิยมใช้กับยาอื่นๆ เช่น ยาที่ยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว

ทั้งนี้ ผลของยาสลบเป็นยาที่กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่รู้สึกตัว ง่วงซึม มึนงง เคลื่อนไหวลำบาก

ขณะที่ ยาป้ายที่มีการแชร์กันทำให้สลบได้ทันทีจริงหรือไม่ คำตอบคือ "ไม่จริง" เนื่องจากผิวหนังของคนเรามีทั้งหมด 3 ชั้น ได้แก่ 1.Epidermis 2. Dermis และ 3. Subcutaneous

สำหรับชั้น Epidermis เป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นการป้ายยาให้คนสลบต้องใช้ยาในปริมาณมาก และความแรงสูง นอกจากนี้ต้องใช้เวลานานยาถึงจะสามารถซึมผ่านผิวหนัง และออกฤทธิ์ได้ จึงสรุปได้ว่ายาป้ายไม่มีจริง

 

 

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง