โควิด:ยาเรมเดซิเวียร์ ผลทดสอบรักษาได้ดี ทั้งลิง-คน ลุ้นเป็นตัวพลิกสถานการณ์
โควิด:ยาเรมเดซิเวียร์ ผลทดสอบรักษาได้ดี ทั้งลิง-คน ลุ้นเป็นตัวพลิกสถานการณ์
โควิด:ยาเรมเดซิเวียร์ - ซินหัว รายงานว่า สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) ทดลองรักษาลิงวอกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ก่อโรคโควิด-19 ด้วยยาต้านไวรัสเรมเดซิเวียร์ (remdesivir) พบว่าช่วยลดอาการของโรคและความเสียหายในปอดอย่างมีนัยสำคัญ
การศึกษาของคณะนักวิทยาศาสตร์ ออกแบบมาติดตามกระบวนการจ่ายยาและการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับยาเรมเดซิเวียร์ภายใต้การทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่และแบบหลายสถาบัน นำโดยสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อ (NIAID) สังกัดสถาบันสุขภาพ
หลังจากรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครบ 12 ชั่วโมง ลิงวอก 12 ตัว ถูกแบ่งเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับยาเรมเดซิเวียร์ทางหลอดเลือดดำและกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับการรักษา โดยมีการให้ยากระตุ้นทางหลอดเลือดดำแก่ลิงกลุ่มแรกทุกวันติดต่อกันอีก 6 วัน
นักวิทยาศาสตร์ยังกำหนดให้มีการรักษาขั้นต้นก่อนเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แตะระดับสูงสุดในปอดของลิงไม่นาน โดยหลังรับการรักษาขั้นต้นครบ 12 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์พบว่าลิงกลุ่มแรกมีสุขภาพดีกว่าลิงกลุ่มเปรียบเทียบ
ลิงตัวหนึ่งของกลุ่มแรกมีอาการหายใจลำบากแต่ไม่รุนแรง ส่วนลิงกลุ่มเปรียบเทียบล้วนมีอาการหายใจลำบากอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันปริมาณเชื้อไวรัสและความเสียหายในปอดของลิงกลุ่มแรกนั้นน้อยกว่าลิงกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
คณะนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนการริเริ่มรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยยาเรมเดซิเวียร์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อบรรลุประสิทธิผลทางการรักษาขั้นสูงสุด และเสริมว่ายาเรมเดซิเวียร์ช่วยป้องกันปอดอักเสบ ไม่ได้ลดเชื้อไวรัสที่แพร่โดยสัตว์
อย่างไรก็ตาม สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่าการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ได้ผ่านการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเดียวกัน (peer review) และไม่ควรถูกสรุปเป็นข้อแนะนำทางคลินิก แต่เป็นการแบ่งปันข้อมูลเพื่อช่วยเหลือภาคสาธารณสุขรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19
ด้านเว็บไซต์ ซีบีเอส รายงานถึงยาเรมเดซิเวียร์ตัวเดียวกันนี้ ว่าแพทย์เคยใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 จากเมืองอู่ฮั่น และมาเกิดอาการที่รัฐวอชิงตัน สหรัฐ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2563 ขณะนั้นแพทย์สั่งยาเรมเดซิเวียร์จากรัฐแคลิฟอร์เนียเข้ามารักษา ปรากฏว่าคนไข้มีอาการดีขึ้นมากในวันต่อมา
ดร.แคธลีน มุลเลน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยการแพทย์ ชิคาโก ขณะนี้เริ่มการทดลองยาตัวนี้ในเฟสที่สาม หลังจากผลการศึกษาในเฟสก่อนหน้านี้พบว่า คนไข้ 125 คนที่ป่วยโรคโควิดอาการหนัก 113 คน ล้วนหายดี แม้ว่าจะมี 2 รายเสียชีวิตก็ตาม
ส่วนโรงพยาบาลในคลีฟแลนด์ได้ผลการทดสอบยาเรมเดซิเวียร์ ในการรักษาผู้ป่วยโควิดอย่างเห็นผลได้ชัดเช่นเดียวกัน
นายโดนัลด์ ทรัมป์เคยกล่าวว่า พอใจผลการทดลองยาชนิดนี้มาก และหวังว่ายาตัวนี้จะเป็นตัวพลิกเกม ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ระบาดทั่วโลก
+++++
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :