รีเซต

ผู้ว่า.กทม แถลงผลงาน ก้าวสู่ปีที่ 4 มุ่งสู่เมืองแห่งโอกาส-ความหวัง

ผู้ว่า.กทม แถลงผลงาน ก้าวสู่ปีที่ 4 มุ่งสู่เมืองแห่งโอกาส-ความหวัง
TNN ช่อง16
7 พฤษภาคม 2568 ( 15:59 )
7

(7 พ.ค. 68) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำทีมรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงผลงานในโอกาสการทำงานครบรอบ 3 ปี ภายใต้แนวคิด “ก้าวสู่ปีที่ 4 ขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สู่เมืองแห่งโอกาสและความหวัง” ด้วยหลักการทำงาน 5 ข้อ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า “การขับเคลื่อนเมืองไม่สามารถทำได้ด้วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง ต้องเกิดจากการร่วมมือกัน” เช่น การแจ้งปัญหาผ่าน Traffy Fondue ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมโดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีเทคโนโลยีช่วยกระจายอำนาจและเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา โดย 3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการแก้ไขปัญหาไปแล้วจำนวน 754,004 เรื่อง จากที่มีผู้แจ้งมาทั้งหมด 929,853 เรื่อง ประชาชนมีความพึงพอใจ 81% การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยนอกจุดผ่อนผัน ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วน โดยดำเนินการจัดระเบียบไปแล้วจำนวน 446 จุด ทั่ว กทม. ผู้ค้าลดลงกว่า 5,300 ราย ทำให้ กทม. สามารถพัฒนาทางเท้าให้ สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ ปลอดภัย เดินได้เดินดีและเป็นมิตรกับผู้สัญจรทุกระดับ ได้กว่า 1,100 กิโลเมตรต้องขอบคุณผู้ค้า ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมมือกัน ในส่วนของการปลูกต้นไม้ล้านต้น ที่เกิดจากการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้สามารถปลูกต้นไม้ทะลุ 1.8 ล้านต้น มีสวน 15 นาทีใกล้บ้าน เพิ่มขึ้น อีก 199 แห่ง รวมทั้งมีถนนสวยกระจายทั่วทั้ง 50 เขต


เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเมือง ได้อย่างรวดเร็ว 


กรุงเทพมหานครมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อลดอุปสรรค ลดขั้นตอน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งสัญญาณไฟจราจร Adaptive ที่เปลี่ยนสัญญาณตามปริมาณจราจรอัตโนมัติ 72 จุดทั่วเมือง ซึ่งทำให้ลดความล่าช้าในการเดินทางได้ประมาณ 15% การติดตั้งกล้อง AI CCTV 100 จุดทั่วเมือง เพื่อช่วยดูแลด้านความปลอดภัยให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ โดยใช้งานร่วมกับระบบการจับภาพใบหน้า เชื่อมโยงกับข้อมูลประวัติอาชญากรของหน่วยงานด้านความมั่นคง สามารถตรวจติดตามและจับกุมบุคคลที่มีความเสี่ยงได้ทันที รวมทั้งตรวจจับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า โดยจากสถิติสามารถเก็บค่าปรับจากผู้กระทำผิดได้กว่า 1.5 ล้านบาท จาก 4.6 แสนเคส ประชาชนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขับขี่และใช้ทางเท้าอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยจะมีการเชื่อมโยง ข้อมูลจาก AI CCTV เข้าสู่ระบบ ทำให้สามารถทราบว่าทะเบียนรถคันนี้เป็นของใคร อยู่ที่ไหน สามารถตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ไปยืนเฝ้า โปร่งใส มีหลักฐาน ข้อมูลแม่นยำ สามารถตรวจสอบได้


การจัดการเรียนการสอนแบบดิจิทัลคลาสรูม โดยนักเรียน กทม. สามารถเรียนผ่านโครมบุ๊ก ทำให้คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนเพิ่มขึ้น 28%

การเปิดให้ประชาชนและผู้สนใจใช้ประโยชน์จากข้อมูล Bangkok Open Data ของ กทม. โดยมียอดผู้ใช้งานสะสม ผ่าน Data.Bangkok มากกว่า 4 ล้านครั้ง ทั้งข้อมูลงบประมาณในรูปแบบ machine readable การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและความคืบหน้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ Open contracting รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของ Open Contracting Partnership ร่วมเปิดเผยข้อมูลสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับต่างประเทศ การนำระบบการขออนุญาตทั้งหมดที่สำนักงานเขตเข้าสู่ระบบ Online รวมทั้งพัฒนาการขออนุญาตก่อสร้างออนไลน์ 2.0 ลดเวลาพิจารณาเหลือ 14 วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน


ตรวจสุขภาพล้านคน ยกฐานข้อมูลสุขภาพขึ้นออนไลน์ 

โดยปัจจุบัน ตรวจสุขภาพประชาชนไปแล้ว 787,629 คน ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเปราะบาง อาชีพอิสระ และประชาชนทั่วไป เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น พร้อมทั้งรวบรวมสรุปข้อมูลรายเขตนำไปสู่การวางแผนด้านสาธารณสุขของกรุงเทพฯ โดยพบว่าผู้รับการตรวจสุขภาพส่วนใหญ่มีไขมันในเลือดสูงถึง 48.2% พร้อมกันนี้ ยังได้พัฒนา ศูนย์เทคโนสุขภาพดี คลินิกออนไลน์ กรุงเทพมหานคร (Health Tech) และการอำนวยความสะดวกประชาชนผ่าน Telemed 8 แห่ง ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการ มากกว่า 92,000 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาที่จุดบริการ Health Tech เพื่อตรวจสุขภาพพื้นฐาน หรือรับการตรวจที่ละเอียดมากขึ้น รวมถึงสามารถปรึกษาแพทย์ทางไกล  ถือเป็นการขยายบริการให้เข้าถึงประชาชน สะดวก ไม่ต้องรอคิวที่โรงพยาบาล บริหารจัดการทรัพยากรได้ดีขึ้น และแพทย์ก็สามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น



คนรุ่นใหม่ ร่วมกับ คนที่มีประสบการณ์และมีพลัง ช่วยกันสร้างเมือง  

การพัฒนาเมืองนอกจากภาครัฐแล้ว ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายประชาชนจากทุกช่วงวัยที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อร่วมพัฒนาเมืองให้สอดรับความต้องการคนต้องการคนทุกกลุ่ม เช่น การร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกิจกรรม/เทศกาลตลอดปี สร้างสีสันให้พื้นที่สาธารณะทั่วเมือง , การแต่งตั้ง ‘ทูตสื่อสารเมืองกรุงเทพมหานคร’ ตัวแทนคนทำงานจากหลากหลาย

สายงาน เสริมพลังเครือข่ายสื่อสารภารกิจกรุงเทพมหานครสู่ประชาชน การพัฒนาเว็บไซต์รับฟังความคิดเห็นแก้ไข พรบ.กรุงเทพฯ ร่วมกับนักศึกษา ร่วมพัฒนาเส้นทางจักรยานร่วมกับภาคีเครือข่ายจักรยาน รวมถึง “สภาเมืองคนรุ่นใหม่” เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ร่วมนำเสนอนโยบายกับผู้บริหาร กทม. และเข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาเมือง ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 800 คน และมีทีมคนรุ่นใหม่ เข้าร่วมเสนอนโยบายมากกว่า 40 ทีม

ความมีน้ำใจ ความเป็นมิตร พหุวัฒนธรรม และการช่วยเหลือกัน ในการอยู่ร่วมกันในสังคมเมืองนั้นเต็มไปด้วยความแตกต่าง กรุงเทพมหานครทำหน้าที่เชื่อมระหว่างคนที่มีทรัพยากรมาก กับคนที่มีทรัพยากรน้อย เช่น BKK FOOD BANK ที่ภาคเอกชนส่งต่อมื้ออาหารให้แก่กลุ่มเปราะบางไปได้มากกว่า 4 ล้านมื้อ พร้อมเปิดพื้นที่โอบรับทุกความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัด Pride Month ทุกเดือนมิถุนายนต่อเนื่อง 3 ปีหรือการจ้างงานสำหรับคนพิการในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สร้างความเชื่อมั่นด้านความเปิดกว้าง และความหลากหลาย


การเปลี่ยนวิกฤติ ให้เป็นโอกาส 


กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เที่ยวสนุก แต่มีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่ในปัญหามากมาย ทำให้พบโอกาสในการสะสางปัญหาด้วยวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สถานการณ์ฝนตกหนักในปีแรก ทำให้กรุงเทพมหานครได้สำรวจจุดเสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งพบ 737 จุด อยู่ระหว่างการแก้ไข 221 จุด แก้ไขแล้วเสร็จบางส่วน 133 จุด แก้ไขแล้วเสร็จ 383 จุด , สถานการณ์รถบรรทุกตกหลุม ทำให้เกิดมาตรการทั้งตั้งด่าน และ จับน้ำหนักจากสะพาน ระบบจับน้ำหนักจากสะพานจับได้กว่า 1,200 คัน ส่งศาลให้ดำเนินคดี โดยศาลพิพากษาแล้ว 2 ราย การตั้งด่านสุ่มตรวจ จับรถบรรทุกน้ำหนักเกินได้ 65 คัน, วิศวกรอาสากว่า 130  คน ผนึกกำลังตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหว และตอบกลับเรื่องที่แจ้งมาใน Traffy Fondue กว่า 2 หมื่นเคส, ความร่วมมือกับ AirBnB จัดหาที่พักให้ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวฟรี

โดยมีประชาชนมาใช้เครดิต รวม 8,540 คืน และความร่วมมือจากอาสาสมัครและองค์กรจากทั่วโลก ที่เข้าช่วยค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่อาคารถล่ม จากเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร


ไม่เทรวม ลดประมาณขยะได้กว่า 12% ประหยัดงบประมาณไปได้แล้ว กว่า 1,200 ล้านบาท โดยความร่วมมือของภาคี และภาคเอกชน 


นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากข้อมูลปริมาณขยะเฉลี่ยในปี 2562 มีจำนวน 10,500 ตัน/วัน ในปี 2567 ลดลงเหลือ 9,200 ตัน/วัน จากข้อมูลปริมาณขยะเฉลี่ยในปี 2562 มีจำนวน 10,500 ตัน/วัน ในปี 2567 ลดลงเหลือ 9,200 ตัน/วัน 




ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เผยว่า “หัวใจในการทำงาน คือ การสร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นได้ จากการทำงานที่ต้องมี 3 ส่วน คือ 1) ความรู้และเทคโนโลยี 2) ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และ 3) ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) โดยต่อจากนี้ก็พร้อมจะนำทีมงาน “ก้าวสู่ปีที่ 4 ขับเคลื่อนกรุงเทพ สู่เมืองแห่งโอกาสและความหวัง เป็นเมืองที่มุ่งหน้าไปสู่อนาคตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” 

ต่อไป กทม. มีหลายโครงการที่จะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเดินหน้าด้วยความร่วมมือ อาทิ สนับสนุนรถเมล์เพื่อลดค่าครองชีพและส่งเสริมการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ Bangkok Public Square พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อประชาชน (สนามกีฬา คอนเสิร์ต ศิลปะ อีเวนท์) แก้ไข พรบ.กรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ กทม. ทั้งในแง่ งาน เงิน คน Business Lab พื้นที่ให้ผู้ประกอบการรายย่อยมีพื้นที่ขายของทั้งแบบ Online และ Onsite การเจรจาคืนรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้รัฐบาล ให้เป็น Single Owner หอศิลป์ฝั่งธนบุรี (อาคารสาธารณะคลองสาน) แก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบสัญญาณไฟอัตโนมัติ และ ศูนย์ควบคุมข้อมูลกลาง เดินหน้าขยายบริการสาธารณสุข เช่น ก่อสร้างรพ. ภาษีเจริญ สายไหม ทุ่งครุ Personalize Education เน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการศึกษา การแยกขยะทั้งระบบ จากครัวเรือน ตอนเก็บขน และ ตอนกำจัด สวนสาธารณะใหม่และศูนย์กีฬาใกล้เมือง เช่น สวนบึงฝรั่ง ศูนย์นันทนาการร่มเกล้า การขยาย Low Emission Zone ให้ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ + ห้องแล็ปตรวจต้นตอฝุ่น ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง