หมอมานพ เปิดผลศึกษาวัคซีน "จอห์นสัน&จอห์นสัน" เข็มเดียวอาจไม่พอ!
วันนี้( 22 ก.ค.64) ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
โดยระบุว่า "เห็น paper นี้ก็เป็นห่วงว่าแผนการจัดหาวัคซีนของไทย อาจต้องพิจารณา J&J vaccine ใหม่อีกที เพราะวัคซีนเข็มเดียวอาจไม่พองานวิจัยนี้มาจาก NYU เผยแพร่ลง preprint เมื่อสองวันก่อน นักวิจัยนำ plasma ของผู้ที่ฉีดวัคซีน 3 ชนิดได้แก่ Pfizer (BNT162b2), Moderna (mRNA-1273) และ J&J vaccine (AD26.COV2.S) ไปแล้ว 80-90 วัน มาทำการวัดระดับ neutralizing antibody (NAb) ด้วยการทดสอบ pseudovirus สายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ Wuhan, Alpha, Beta, Delta, Delta plus และ Lambda
ผลการศึกษาพบว่า plasma ของผู้ที่ฉีด J&J vaccine เข็มเดียว มีระดับ NAb ต่ำกว่าผู้ที่ฉีด mRNA vaccine ครบสองเข็มมาก และเมื่อนำไปทดสอบกับ pseudovirus สายพันธุ์ต่าง ๆ พบว่า plasma ของผู้ที่ฉีดวัคซีนยับยั้งไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมและ Alpha ได้ดี ในขณะที่ Beta, Delta, Delta plus และ Lambda ล้วนแต่ดื้อกว่าทั้งสองสายพันธุ์แรก อย่างไรก็ดีเมื่อดูค่าระดับ NAb พบว่าทั้ง Pfizer และ Moderna vaccine นั้นระดับ NAb ยังสูงพอที่จะยับยั้งเชื้อได้ทุกสายพันธุ์ ในขณะที่ J&J vaccine นั้นเอา Beta, Delta, Delta plus และ Lambda ไม่ค่อยจะอยู่
ดูเหมือนว่า J&J vaccine เข็มเดียวอาจไม่เหมาะกับการรับมือเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ อีกต่อไป ยังไม่เห็นข้อมูล real world effectiveness ของ J&J vaccine ของ US โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ Delta ตอนนี้ว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าดูผลการทดสอบแบบนี้ มีแนวโน้มที่ J&J vaccine อาจต้องใช้เป็น mix-and-match กับ mRNA vaccine เช่นเดียวกับ AstraZeneca ในอนาคต"